นับถอยหลัง…ประเมินตลาดอยู่ในช่วงทดเวลา
- คงมุมมองอัพไซต์ไตรมาส 2/65 จำกัดจากหลายปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ 1) การปรับลดการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดย IMF (19 เม.ย.) และหน่วยงานต่าง ๆ 2) การปรับลดประมาณการกำไร บจ. ที่ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานและต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 3) การเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในอัตราเร่งของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะกระทบต่อบรรยากาศลงทุน (ค่าเงินสหรัฐฯ แข็งค่า) และต้นทุนทางการเงินของบจ.ต่างๆ และ 4) การเริ่มลดขนาดงบดุล ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะกระทบต่อสภาพคล่องในการลงทุน ซึ่งปัจจัยทั้งหลายรวมกัน ทำให้เราคงมุมมองระมัดระวังต่อการลงทุนในไตรมาส 3/65 โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1,540-1,730 จุด โดยมีภาพรวมกลยุทธ์ คือ “ซื้อขายเก็งกำไรเพื่อรอจุดซื้อที่ดี” โดยประเมินโอกาสเข้าซื้อจะเกิดขึ้นในระดับ 1,630 จุด ลงมา
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในระดับสูงอาจเป็นแรงหนุนหุ้นธนาคารในระยะสั้น แต่จะทยอยลดทอนความน่าสนใจของการลงทุนในภาพรวม กลุ่มธนาคารในระยะสั้นอาจมีแรงหนุนมาช่วยประคองตลาดจากสองปัจจัย ได้แก่ 1) ผลประกอบการไตรมาส 2/65 ที่คาดว่าจะเติบโต +15% QoQ และ +3% YoY (โดยมี top pick คือ BBL, SCB และ TISCO) 2) การเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรที่มักจะส่งผลดีต่อราคาหุ้น และผลประกอบการกลุ่มธนาคาร อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้เกิดการลดทอนความน่าสนใจของการลงทุนในหุ้น (จากการลดลงของ Eamings yield gap) ได้ และตลาดอาจตอบรับเชิงลบเร็ว โดยเฉพาะหากมีการปรับลดประมาณการ กำไรบจ. ซึ่งจะทำให้ earings yield ลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นในช่วง 1-2 เดือนนี้) ทำให้นักลงทุนควรระมัดระวังในการลงทุน โดยเฉพาะในหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มถูกปรับลดประมาณการ อาทิ กลุ่มปิโตรเคมี, รับเหมาก่อสร้าง, เกษตร (ยางและปาล์ม) เป็นต้น
ประเด็นเก็งกำไรอื่น
1) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR
2) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO,
3) กลุ่มมีลุ้นเข้า SET50 ได้แก่ JMT, JMART
4) กอง REIT ได้แก่ FIREIT, WHART
5) ขณะที่หุ้นกลาง-เล็กที่สามารถเลือกเก็งกำไร (แบบกำหนดจุดตัดขาดทุน) ในช่วงนี้ ได้แก่ PJW, TTCL, THREL, BLA, IND, MAJOR, WORK, TH, SCN, SCI, FSMART, KAMART, CMR
ภาพรวมกลยุทธ์: ทรงตัว-ซึมลง โดยสัปดาห์ โดยมีงบธนาคารและกลุ่มท่องเที่ยวหนุน แต่ยังคงมุมมองระมัดระวังสําหรับไตรมาส 2/65 ที่อัพไซต์อาจจะจํากัดจากการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการปรับประมาณการเศรษฐกิจรวมถึงกําไร บจ. ทําให้ภาพรวมจะเป็นการเลือกเก็งกําไรตามแนวรับ ระหว่างรอตลาดและหุ้นรายตัวปรับ ลงจนถึงจุดซื้อที่ดี
หุ้นแนะนำ: BDMS*, WHART*, IND*, ERW*
แนวรับ: 1,650-1,668 / แนวต้าน : 1,685–1,692 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
ประเด็นการลงทุน
- แบงก์ชาติจีนประกาศปรับลด RRR – ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) มีผล 25 เม.ย. โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจจริง และช่วยลดต้นทุนทางการเงินอย่างครอบคลุม
- US PPI สูงสุดเป็นประวัติการณ์ – กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เพิ่มขึ้น 11.2% ในเดือน มี.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี สูงสุดเท่าที่เริ่มจัดทำดัชนีมา และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 10.6%
- ECB ส่งสัญญาณยุติ QE เร็วกว่าคาด – ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ที่ระดับ -0.50% ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% พร้อมระบุว่าจะยุติการซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการ APP ในไตรมาส 3 ซึ่งเร็วกว่าที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้
- EASTW – ศาลปกครองกลางไม่คุ้มครองชั่วคราว EASTW ระบุชัดไม่เข้าเงื่อนไขที่จะมีคำสั่งให้ทุเลา
- EA – นายสมโภชน์ อายุนัย ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ยืนยันไม่เคยขายหุ้น EA แม้แต่หุ้นเดียวตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่ได้ทำการย้ายหุ้นส่วนหนึ่งไปอยู่โบรกต่างประเทศ จึงปรากฏชื่อผู้ถือหุ้นเป็นพอร์ตต่างประเทศ ตนเองยังเป็นผู้รับผลประโยชน์ในหุ้น EA ทั้งหมดเช่นเดิม
ประเด็นติดตาม: 18 เม.ย. – China GDP 1Q65 / 19 เม.ย. – รายงานเศรษฐกิจรายไตรมาส (WEO) – ของ IMF / 21 เม.ย. – EU CPI เดือน มี.ค., Fed Chair Powell Speaks
ประเด็นลงทุนสําหรับหุ้นแนะนำ
- เก็งกำไร BDMS* (28.50) : ได้อานิสงค์จากการเปิดประเทศ ขณะที่แนวโน้มรายงานกำไรไตรมาส 1/65 ดี ตัดขาดทุน 24.50 บาท
- เก็งกำไร WHART* (12.80) : ผลประกอบการรวมไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด รายการพิเศษที่กระทบไตรมาส 4/64 ผ่านไปแล้ว ตัดขาดทุน 11.00 บาท
- เก็งกำไร IND* (2.50) : เก็งกำไรธุรกิจ tumaround ตัดขาดทุน 1.94 บาท
- เก็งกำไร ERW* (3.90) : เก็งกำไรโควิดพีค การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวและการเปิดประเทศ ส่งผลบวกต่อบรรยากาศเก็งกำไรรยะสั้น ตัดขาดทุน 3.40 บาท
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)
Market News & Factors
- ตลาดหุ้นสหรัฐ: ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลดลงในวันพฤหัสบดี (14 เม.ย.) โดยถูกกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้นอีกครั้ง และนักลงทุนยังคงกังวลกับภาวะเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้น รวมถึงการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนและข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาไร้ทิศทาง (อินโฟเควสท์)
- ตลาดหุ้นยุโรป: ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันพฤหัสบดี (14 เม.ย.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) คงนโยบายการเงินไม่เปลี่ยนแปลง และส่งสัญญาณที่จะลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ซึ่งทำให้ตลาดปรับลดคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ (อินโฟเควสท์)
- ตลาดหุ้นญี่ปุ่น: ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดลดลง (15 เม.ย.) โดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถ่วงตลาดลง หลังปรับตัวลงตามตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดลบเมื่อคืนวานนี้ แต่ดัชนีนิกเกอิปรับตัวลงไม่มากนัก เนื่องจากหุ้นกลุ่มส่งออกได้แรงหนุนจากเงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ (อินโฟเควสท์)
- ตลาดน้ำมัน: สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี (14 เม.ย.) ขานรับรายงานที่ว่า สหภาพยุโรป (EU) กำลังร่างมาตรการเพื่อคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย (อินโฟเควสท์)
- แบงก์ชาติจีนประกาศปรับลด RRR: ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) มีผล 25 เม.ย. โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจจริง และช่วยลดต้นทุนทางการเงินอย่างครอบคลุม
- US PPI สูงสุดเป็นประวัติการณ์: กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เพิ่มขึ้น 11.2% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี สูงสุดเท่าที่เริ่มจัดทำดัชนีนี้มา และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 10.6%
- ECB ส่งสัญญาณยุติ QE เร็วกว่าคาด: ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ที่ระดับ -0.50% ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% พร้อมระบุว่าจะยุติการซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการ APP ในไตรมาส 3 ซึ่งเร็วกว่าที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้
Report & Corporate News
- CHG Maintained SELL TP: 3.40 บาท: เราคาดว่า CHG จะรายงานกำไรหลักที่น่าประทับใจใน 1Q22 เนื่องจากจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม กำไรที่ตามมาคาดว่าจะกลับมาเป็นปกติจากการปรับลดอัตราการชดเชยเงินคืน และการประกาศว่า COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่นใน 2H22 ณ จุดนี้ การคาดการณ์ในเชิงบวกส่วนใหญ่ได้สะท้อนไปในราคาหุ้นแล้ว คงคำแนะนำ ขาย ราคาเป้าหมาย: 3.40 บาท
- O&G Maintained OVERWEIGHT: เพื่อลดอัตราค่าไฟที่เพิ่มขึ้น หน่วยงานกำกับดูแลวางแผนที่จะใช้สูตรคำนวณราคาเฉลี่ยเชื้อเพลิง (EPP) ใหม่ แม้จะมีการนํา EPP มาใช้ แต่ตลาดยังคงจำเป็นต้องลดประมาณการกำไรในปี 2022 สำหรับ SPP เช่น GPSC และ BGRIM ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าอุตสาหกรรม เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ในขณะที่โมเดล EPP เป็นลบเล็กน้อยต่อ PTT เนื่องจาก subsidy สำหรับ NGV ที่สูงขึ้น โรงกลั่นไทยน่าจะได้ประโยชน์จากปริมาณน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาที่จำหน่ายให้กับผู้ประกอบการไฟฟ้าที่สูงขึ้น Top Pick ในกลุ่ม O&G ของเรา คือ IVL และ TOP คงคำแนะนำ OVERWEIGHT
- EA: นายสมโภชน์ อานุทัย ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ยืนยันไม่เคยขายหุ้น EA แม้แต่หุ้นเดียวตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่ได้การย้ายหุ้นส่วนหนึ่งไปอยู่โบรกต่างประเทศ จึงปรากฏชื่อผู้ถือหุ้นเป็นพอร์ตต่างประเทศ ตนเองยังเป็นผู้รับผลประโยชน์ในหุ้น EA ทั้งหมดเช่นเดิม (อินโฟเควสท์)
- EASTW: ศาลปกครองกลางไม่คุ้มครองชั่วคราว EASTW ระบุไม่เข้าเงื่อนไขที่จะมีคำสั่งให้ทุเลา (อินโฟเควสท์)