บล.พาย:

BEM: คาดกำไรสุทธิแตะจุดสูงรอบ 5 ไตรมาสใน 1Q22

คาดกำไรสุทธิ 1Q22 ที่ 400 ล้านบาท (+1%QoQ, +31%YoY) สูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส การเติบโตเชิง YoY เป็นผลจากการคุมต้นทุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องมาตลอด 3 ไตรมาสที่ผ่านมา

  • การเติบโตเล็กน้อยในเชิง QoQ ได้แรงหนุนจากจำนวนผู้โดยสารในระบบ MRT ที่ฟื้นขึ้นเล็กน้อย หลังจากสถานการณ์โอมิครอนเริ่มเบาลง
  • คาดจํานวนผู้โดยสารเฉลี่ยรายวันแตะ 70% ของช่วงก่อนวิกฤติโควิด-19 ภายใน 3Q22 ด้วยสมมติฐานว่าจะไม่มีการใช้มาตรการคุมเข้มสถานการณ์โควิด-19 อีก ขณะที่คาดว่าจำนวนผู้โดยสารจะกลับสู่ระดับปกติหรือก่อนเกิดวิกฤติได้ภายในปลายปี 2023 ด้วยแรงหนุนจากการกลับมาของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในสัดส่วนมากกว่าครึ่งของช่วงก่อนเกิดวิกฤติ
  • ถ้ามีการจัดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มก่อนคาดการณ์จะถือปัจจัยบวกสําคัญต่อหุ้น (ก่อนหน้านี้คาดว่าจะเกิดขึ้นภายใน 1H22) ประเมิน upside จากโครงการนี้ที่ 1.90 บาทต่อหุ้น

คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ลดมูลค่าพื้นฐานเป็น 9.50 บาท หลังปรับลดกำไรต่อหุ้น (EPS) ลง 30% และ 15% สำหรับปี 2022-23 จากเดิมที่ 10.30 บาท มูลค่าพื้นฐานนี้ถึงวิธีรวมส่วนธุรกิจ (SOTP) หรืออิง 67.9xPE’22E คิดเป็นส่วนลด 70% ต่อค่าเฉลี่ยกลุ่มขนส่งไทย

พรีวิวผลประกอบการ

  • คาดกำไรสุทธิ 1Q22 ที่ 400 ล้านบาท (+1%QoQ, +31%YoY) สูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส
  • การเติบโตเชิง YoY เป็นผลจากการคุมต้นทุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องมาตลอด 3 ไตรมาสที่ผ่านมา
  • การเติบโตเล็กน้อยในเชิง QoQ ได้แรงหนุนจากจํานวนผู้โดยสารในระบบ MRT ที่ฟื้นขึ้นเล็กน้อยหลังจากสถานการณ์โอมิครอนเริ่มเบาลง
  • คาดปริมาณการจราจรบนทางพิเศษเฉลี่ยรายวันที่ 9.63 แสน เที่ยว/วัน (-1%YoY, -2%QoQ) ด้วยจำนวนการโดยสารในระบบ MRT ที่ 1.88 แสนเที่ยว/วัน (-12%YoY, +7%QoQ)
  • อิงข้อมูลเดือน มี.ค. 2022 พบว่าปริมาณการจราจรบนทางพิเศษเฉลี่ยรายวัน และจำนวนการโดยสารในระบบ MRT หดตัวลง 1%MoM และ 4%MoM เป็น 9.7 แสนเที่ยววัน และ 1.91 แสนเที่ยว/วัน ตามลำดับ มีสาเหตุมาจากสถานการณ์โอมิครอน ซึ่งยังเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ในช่วงเดือน ธ.ค. 2019 อยู่ (-19% และ -48%)

อิงข้อมูลเดือน มี.ค. 2022 พบว่าปริมาณการจราจรบนทางพิเศษเฉลี่ยรายวัน และจำนวนการโดยสารในระบบ MRT หดตัวลง 1%MoM และ 4%MoM เป็น 9.7 แสนเที่ยว/วัน และ 1.91 แสนเท่ียว/วัน ตามลำดับ มีสาเหตุมาจากสถานการณ์โอมิครอน ซึ่งยังเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ในช่วงเดือน ธ.ค. 2019 อยู่ (-19% และ -48%)

ปรับลดประมาณการกำไรปี 2022-23 ลง 30% และ 16% ตามลำดับ

ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-24 ลง 30%, 16% และ 12% ตามลำดับ สะท้อนปัจจัยดังต่อไปนี้ 1) ปรับลดสมมติฐานรายได้ในกรอบเวลาดังกล่าวลง 7%-13% มาอยู่ที่ 1.42 หมื่นล้านบาท 1.68 หมื่นล้านบาท และ 1.85 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ เพื่อสะท้อนถึงผลกระทบจากภาพการฟื้นตัวที่กระท่อนกระแท่นของปริมาณการจราจร และจำนวนผู้โดยสารหลังมีการผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ด้วยเหตุนี้จึงปรับลดสมมติฐานปริมาณการจราจรบนทางพิเศษลงเป็น +26%YoY (1.060 ล้านเที่ยว/วัน) สำหรับปี 2022 ขณะที่ลดสมมติฐานจำนวนการโดยสารในระบบ MRT ลงเป็น +80%YoY สำหรับปี 2022 (2.64 แสนเที่ยว/วัน) ซึ่งยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 อยู่ 30% และ 2) ปรับลดสมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ลงเป็น 38.4% ในปี 2022 เพราะคาดว่ารายได้ธุรกิจทางพิเศษจะปรับลดลง แต่ปรับเพิ่ม GPM ปี 2023 เป็น 40.7% เพราะการคุมต้นทุนที่ดีกว่าคาด

Revenue breakdown

BEM เป็นผู้ให้บริการทางพิเศษครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ เฉลิมมหานครมหานคร ศรีรัช ถนนวงแหวนรอบนอกศรีรัช และทางด่วนอุดรรัถยา ซึ่งเส้นทางเหล่านี้คิดเป็น 60% ของรายได้ปกติทั้งหมดของบริษัท

ธุรกิจรถไฟฟ้าใต้ดินคิดเป็นสัดส่วน 32% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งส่วนนี้เป็นการบริการขนส่งโดยรถไฟใต้ดิน โดยปัจจุบันบริษัทให้บริการใน 2 เส้นทาง คือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ซึ่งเป็นเส้นทางหลังดำเนินการภายใต้สัญญาสัมปทานที่เอกชนผู้รับสัมปทานเป็นผู้จัดเก็บรายได้จากการบริการเดินรถทั้งหมด และจ่ายค่าตอบแทนคืนให้รัฐตามที่ตกลง (Net Cost Agreement)

บริษัทและบริษัทย่อย (BMN) ยังปล่อยพื้นที่ให้เช่าแก่เอกชนเพื่อใช้ในการพาณิชย์ รวมถึงการโฆษณาในพื้นที่ โดยการให้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ (Commercial Development) นี้สร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วน 8% ของรายได้ของบริษัทในปี 2021

- Advertisement -