KS Daily View 20.04.2022 >>> IMF ปรับลด World GDP ลง/ หุ้นไทยคาด Rebound โอกาสเก็งกำไร/ SET คาด 1680-1690 หุ้นแนะนำ YGG DOHOME

KS ยังคงมุมมองตลาดหุ้นโลกที่ฟื้นตัวขึ้นในสัปดาห์นี้ เปิดโอกาสให้เก็งกำไรสั้นๆ (Trading) แต่เชื่อว่าไม่ใช่ขาขึ้นระยะยาว โดยเมื่อวานมีปัจจัยที่สร้าง Sentiment ลบต่อการลงทุน 1.) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลด World GDP ในปี 2022-23 ลงเหลือโต 3.6%ทั้ง 2 ปีจากเดิมรอบ ม.ค. คาด 4.4% และ 3.8% หลักเป็นการปรับลงเกือบทุกประเทศ โดยประเทศที่ปรับลงแรง คือ รัสเซีย และประเทศ Emerging 2.) ราคาน้ำมันดิบโลกปรับลงแรงราว 5.3% แต่ยังยืนเหนือ 100 เหรียญผลจากคาดการณ์เศรษฐกิจโลกที่โตลดลงจาก IMF (น้ำมันที่ลง ถือเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่ม Anti Commodity อาทิ (EPG, SCGP, BGRIM, GULF, OR, AAV, BA) แต่ Sentiment ลบ PTT, PTTEP) 3.) U.S. 10 year real yields พลิกเป็นบวกครั้งแรกนับตั้งแต่ปี Covid จากสถิติในอดีตหาก Real yields เป็นบวกและขึ้นแรงๆ พบว่าตลาดหุ้น โดยเฉพาะ MSCI Emerging Market ราคา Commodity ฯลฯ จะปรับลง 4.) Event สำคัญ เชื่อว่าตลาดยังให้น้ำหนักจะมีการส่งสัญญาณ Hawkish จากประธานธนาคารกลาง ? โดยวันพฤหัสฯ คือ Fed Chair Powell วันศุกร์ถ้อยแถลงของ ECB President Lagarde หากออกมาในโทนเข้มงวดมีโอกาสกดดันตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นไทย (SET Index) Rebound รอบนี้เปิดโอกาสเก็งกำไรเช่นกัน KS คาดกรอบการเคลื่อนไหวสัปดาห์นี้ 1666-1696 จุด และแนวต้านสำคัญยังคาดที่ 1705 จุด โดยประเมินจากปัจจัยแวดล้อมต่างประเทศดังกล่าวที่ยังมีทิศทางลบ และในประเทศปัจจัยบวกมีเพียงการเดินหน้าเปิดประเทศ และตลาดคาดจะกลับมาให้น้ำหนักการรายงานงบ 1Q22 โดย KS ประเมินหุ้นแต่ละกลุ่ม

1.) หุ้นขนาดใหญ่ (Big Cap) คาดจะแกว่งตัวออกข้าง เนื่องจากหลายบริษัทขึ้น XD (วันนี้บริษัที่ขึ้น XD จะมี JMART, JMT STA STGT TCAP) อีกฝั่งนึงคือ ต่างชาติ (Foreign) คาดยังชะลอการลงทุนในตลาดหุ้นไทย จากปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เอื้อ เนื่องจาก แนวโน้มเงินบาทที่อ่อนค่า จะทำให้ต่างชาติมีโอกาสเกิด Fx Loss ล่าสุดอยู่ที่ 33.8 บาทต่อดอลลาร์ หรืออ่อนค่าต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย.-ปัจจุบัน (MTD) ไปแล้วราว 1.73% และมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อ หากทะลุ 34 บาท หนุนจากแนวโน้ม Dollar Index ที่แข็งค่าในรอบ 2 ปียืนเหนือ 100 จุด ตามทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐที่เป็นขาขึ้น (เงินบาทที่อ่อนค่าบวกต่อหุ้นส่งออก ASIAN, SAPPE)

2.) หุ้นกลาง-เล็ก (Middle-Small Cap) KS ประเมินช่วงนี้มีโอกาส Perform ต่อ เห็นได้จากต้นเดือน เม.ย.-ปัจจุบัน (MTD) ดัชนี SSET และดัชนี MAI +0.1% และ 0.5% เทียบกับ ดัชนี SET50 -3%

กลยุทธ์การลงทุน : KS ยังคงคำแนะนำสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ แนะนำ ”ชะลอการลงทุน” ส่วนผู้รับความเสี่ยงสูง ยังแนะนำ “เก็งกำไร Trading” ในกลุ่ม Growth (COM7, YGG, BE8) ได้กระแสบวกจากหุ้น Tech สหรัฐที่ปรับขึ้นเมื่อวาน ดัชนี Nasdaq +2.15%DoD กลุ่มส่งออก (ASIAN, SAPPE) จากแนวโน้มเงินบาทที่อ่อนค่า กลุ่มที่ได้กระแสบวกจากการเปิดเมือง แนะนำ (BEM, CPN, MINT, CENTEL) ส่วนผู้ลงทุนระยะกลาง แนะนำหากราคาหุ้นที่อ่อนตัวแนะนำสะสม กลุ่มการเงิน (MTC, SAWAD, HENG,MICRO) กลุ่มค้าปลีก (DOHOME) หนุนจากรายได้เกษตรกรที่สูงขึ้น ตามทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทรงตัวสูง, กลุ่มการแพทย์ (BH, BDMS) กลุ่มโรงไฟฟ้า (GULF, GUNKUL) กลุ่ม ICT (DTAC, TRUE) กลุ่มที่ยังคงแนะนำหลีกเลี่ยงลงทุนเข้าลงทุน คือ กลุ่มปิโตรเคมี, กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และเลี่ยงหุ้นที่ราคาอยู่โซนบน และมีค่า P/E สูง เนื่องดอกเบี้ยขาขึ้น

มุมมองตลาดหุ้น SET วันนี้ คาด 1680-1690 หุ้นแนะนำ YGG, DOHOME

Top pick :

  • YGG (ราคาพื้นฐาน 14.5 บาท) เราชอบ YGG โดยเชื่อว่าควรจะถูกซื้อขายในราคาระดับพรีเมียมโดยพิจารณาจากอัตราการเติบโตของกำไรเฉลีย(CAGR) ที่ 29.5% ในปี 2565-67 ถูกขับเคลื่อนโดยทุกหน่วยธุรกิจทั้ง ธุรกิจ VFX และแอนิเมชั่น คาดการเติบโตของรายได้ปีนี้อยู่ที่ 15-20%, ธุรกิจเกมบริษัทมีแผนที่จะพัฒนาเกมนี้ด้วยการเปิดตัวแพทช์ “Open Beta 2 (OBT2)” ในวันที่ 5 พ.ค. นี้ และมีแผนที่จะเปิดตัวเกมใหม่ 4-5 เกมในช่วงที่เหลือของปี 2565, ราคาหุ้นยังแกว่งตัว laggard หุ้น Growth ตัวอื่นๆ
  • DOHOME (ราคาพื้นฐาน 24.5 บาท) เราชอบ DOHOME โดยพรีวิวคาดกำไรไตรมาส 1/65 ที่ 454 ลบ. โตขึ้น 26.5% QoQ จากการเติบโตของยอดขายที่ดีและ GPM ที่เพิ่มขึ้น แต่ลดลง 16.5% QoQ จาก GPM ที่ลดลงเป็นหลัก เราประเมินแนวโน้มไตรมาส 2/2565 ในเชิง MTD SSSG ของเดือน เม.ย. ยังคงเป็นบวกที่ประมาณ 15-17% จากความต้องการวัสดุก่อสร้างอย่างต่อเนื่องและกำไรจากสาขาที่มีการเติบโตสูงซึ่งเปิดมานานกว่า 1 ปี และคาดว่า GPM จะดีขึ้นจากสัดส่วนยอดขายที่สูงขึ้นจากสินค้าตราห้าง

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันพุธ ติดตามตัวเลขส่งออก และนำเข้าของญี่ปุ่น เดือน มี.ค. คาด +17.5% YoY และ +28.9% YoY ดุลการค้าของญี่ปุ่นเดือน มี.ค. คาดขาดดุลการค้า -JPY100.8bn (ลดลงจากเดือนก่อนที่ -JPY668bn) ตัวเลข Loan prime rate 1 ปีของจีน คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.7% ดัชนี PPI ของเยอรมันเดือน มี.ค. คาด +2.3% MoM และ +27.9% YoY ตัวเลข Existing home sales ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด -2% MoM เป็น 5.9 ล้านยูนิต ถ้อยแถลงของ Fed Daly และปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม ถ้อยแถลงของ Fed Chair Powell ตัวเลข Philadelphia Fed manufacturing index เดอน เม.ย. คาด 20 จุด (ลดลงจากเดือนก่อนที่ 27 จุด) และตัวเลข Initial jobless claim รายสัปดาห์ของสหรัฐฯ คาด +1.75 แสนคน (ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 1.85 แสนคน)
  • วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของญี่ปุ่นเดือน มี.ค. คาด +1.1% YoY ตัวเลข Jibun Bank Manufacturing PMI Flashญี่ปุ่น เดือน เม.ย. คาด 53 จุด (-1.9% MoM) และถ้อยแถลงของ ECB President Lagarde
- Advertisement -