บล.พาย:

EPG: คาดกำไรยังยืนบนฐานสูงแต่โตจำกัด

คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ลดมูลค่าพื้นฐานลงเป็น 12.60 บาท จาก 14.30 บาท อิง 21xPE’FY23E (ค่าเฉลี่ย 5 ปี) หรือคิดเป็นค่าพรีเมี่ยม 90% ต่อค่าเฉลี่ยกลุ่มวัตถุดิบ ทั้งนี้มีการปรับลดตัวคูณ PE ลง เพื่อสะท้อนทิศทางการ เติบโตของกำไรที่น่าจะชะลอตัวลงในช่วง 2 ไตรมาสหน้า เนื่องจากมีการรับรู้อุปสงค์สำหรับกลุ่มยานยนต์ที่อั้นจากช่วงก่อนไปเกือบหมดแล้ว

  • คาดกำไรปกติ 4QFY22 (ม.ค.-มี.ค.) ที่ 398 ล้านบาท (+7%YoY, -2%QoQ)
  • เล็งเห็นอุปสงค์ที่แข็งแกร่งต่อกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยและออสเตรเลีย
  • ยังคุมต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นได้อีกอย่างน้อย 2 ไตรมาส

คำแนะนํา “ซื้อ” ยังสะท้อนภาพการเติบโตด้านกำไรที่แข็งแกร่งของบริษัทเมื่อเทียบกับกลุ่มโดยรวมในปี FY2023 ซึ่งจะได้แรงหนุนมาจากอุปสงค์กลุ่มฉนวนกันความร้อน และบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงส่วนแบ่งกำไรที่สูงขึ้นจากผลประกอบการของบริษัทร่วมทุนในแอฟริกาใต้และอินเดียที่ปรับดีขึ้น

พรีวิวผลประกอบการ

  • คาดกำไรปกติ 4QFY22 (ม.ค.-มี.ค.) ที่ 398 ล้านบาท (+7%YoY, -2%QoQ) การเติบโตในเชิง YoY เป็นผลจากยอดขายฉนวนกันความร้อนที่ฟื้นขึ้นหลังจากมีการปรับราคาขาย และข้อจํากัดด้านโลจิสติกส์ที่คลี่คลายลงในสหรัฐฯ รวมถึงอุปสงค์บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคในไทยที่แข็งแกร่งในช่วงที่สายพันธุ์โอมิครอนระบาด  ส่วนที่หดตัวลง QoQ เป็นผลจากฐานรายได้และส่วนแบ่งกำไรที่สูง (ส่วนแบ่งกำไรมีรายการพิเศษเพิ่มเข้ามา 27 ล้านบาทใน 3QFY22)
  • คาดรายได้โต 5%YoY แตะ 2.8 พันล้านบาท หนุนจากรายได้กลุ่มฉนวนและบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค +11% YoY และ 10%YoY ตามลำดับ ขณะที่คาดว่ารายได้จะหดตัวลง 4%QoQ จากคาดการณ์ว่ายอดขายชิ้นส่วนยานยนต์จะลดลงเล็กน้อย หลังจากเผชิญปัญหาขาดแคลนชิปและรายได้ในยุโรปที่ลดลง
  • ประเมินอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ทรงตัวที่ 31.4% ใน 4QFY22 จาก 31.4% ใน 3QFY22 แต่ถือว่าลดลง YoY จาก 31.7% ใน 4QFY21 ซึ่งมีสาเหตุมาจากแรงกดดันในกลุ่มยานยนต์ที่คาดว่าอัตรากำไรจะปรับลดเหลือ 32% จากฐานสูงที่ 33% ใน 4QFY21 ซึ่งเป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นและรายได้ที่ลดลง

Solid demand for automotive-parts in Thailand and Australian

อุปสงค์สำหรับรถ SUV และ LCV ในออสเตรเลียช่วง 1Q22 ยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะในแง่ของการเติบโตในเชิง QoQ ขณะที่ยอดขายรถกระบะไทยก็ฟื้นตัวดีในเดือน ม.ค.-ก.พ. 2022 แม้ยังอยู่ในช่วงการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน (ยอดขายชิ้นส่วนยานยนต์ในออสเตรเลียและไทยคิดเป็นสัดส่วนราว 40% และ 25% ของรายได้รวมในธุรกิจ Aeroklas ตามลำดับ) ในส่วนของตลาดรถกระบะ 1 ตันในไทยมียอดขายน่าประทับใจที่ 76,409 คันในช่วง 2M22 (+25%YoY) คาดยอดขายรถกระบะไทยในช่วงที่เหลือจะโตขึ้น YoY จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นและฐานจากปี 2021 ส่วนในออสเตรเลียคาดว่าตัวเลข 1Q22 สำหรับกลุ่ม SUV และ LCV จะโตขึ้น 17%QoQ และ 8%QoQ (-0.3%YoY, +6.8%YoY) ตามลำดับ ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ดี ท่ามกลางการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน และเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ในบางพื้นที่ โดยคาดว่าอุปสงค์สำหรับ SUV และ LCV จะยังยืนบนฐานสูงต่อเนื่องในปี 2022 จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น และจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลักที่ปรับดีขึ้น

คุมผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นไว้ในวงแคบไปได้อีก 2 ไตรมาส

ประเมินต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทในวงแคบไปได้อีกอย่างน้อย 2 ไตรมาส เพราะบริษัทมีสินค้าคงคลังล่วงหน้าอยู่ 6 เดือน ขณะที่อุปสงค์สำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ และบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคยังคงแข็งแกร่ง (40% ของต้นทุนรวมของทั้ง 2 กลุ่มนี้มาจากราคาโพลีเมอร์) ทั้งนี้ บริษัทสามารถปรับราคาขายให้สอดคล้องกับราคาโพลีเมอร์ที่ปรับเพิ่มขึ้นได้ หากอุปสงค์ต่อสินค้าเหล่านี้ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนกลุ่มฉนวนกันความร้อน (26% ของรายได้รวมใน SMFY22) จะได้อานิสงส์จากกิจกรรมการก่อสร้างในภูมิภาคที่ฟื้นตัวขึ้นหลังจากมีการคลายล็อกดาวน์ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ (เป็นตลาดที่มีส่วนแบ่งต่อรายได้รวมของ Aeroflex เกินครึ่ง) ขณะที่กลุ่มบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค (24% ของรายได้รวม) จะได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากอุตสาหกรรมบริการจัดส่งอาหารในไทยที่กําลังเติบโตขึ้น

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสำหรับปี 2022-23 ขึ้น 5%

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี FY2022 และ FY2023 ขึ้นปีละ 5% หลังจากทำการปรับลดสมมติฐาน SG&A ต่อยอดขายลงเป็น 19.3% และ 19.0% ตามลำดับ เพื่อสะท้อนต้นทุนการจัดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าคาด และการคุมต้นทุนการบริหารที่มีประสิทธิภาพ แต่ปรับลด GPM สำหรับปี FY2022 และ FY2023 ลงเป็น 31.4% และ 31.2% ตามลำดับ สืบเนื่องจากอัตรากำไรในธุรกิจฉนวนกันความร้อนที่ต่ำกว่าคาด

Revenue breakdown

Aeroklas คือผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์สำหรับรถกระบะ เช่น พื้นปูกระบะ หลังคากระบะ ฝาครอบกระบะเอนกประสงค์ และบันไดข้าง มีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปสู่มือลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่าน 3 แบรนด์ ได้แก่ Aeroklas, TJM และ Flexiglass โดยธุรกิจนี้คิดเป็น 47% ของรายได้ทั้งหมด

ขณะที่ Aeroflex คือกลุ่มธุรกิจที่ทำการผลิตฉนวนกันความร้อน เช่น ท่อสารนำความร้อนและเย็น ซึ่งคิดเป็น 27% ของรายได้ทั้งหมด Aeroflex ทำการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จำพวกฉนวนไปทั่วโลกภายใต้ 3 แบรนด์ ได้แก่ Aeroflex, Aerocel และ Celflex ปัจจุบันมีกำลังการผลิตยางสังเคราะห์ EPDM ต่อปีที่ 20,000 ตัน และฉนวนยางไนไตรล์ที่ 20,000 ตันจากฐานการผลิต 5 แห่งที่กระจายอยู่ในไทย สหรัฐฯ อินเดีย และจีน ในด้านอีสเทิร์น โพลีแพค (EPP) นั้นทำการผลิตและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วทิ้งสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม  รวมถึงแผ่นพลาสติกที่นำไปขึ้นรูปเป็นสินค้าต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ป้ายโฆษณา และแผ่นรองกระป๋อง โดยหน่วยธุรกิจนี้คิดเป็น 26% ของรายได้ทั้งหมด

- Advertisement -