บล.พาย:

TTB: ยังดีอยู่

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 1.60 บาท คำแนะนำซื้อนี้สะท้อนถึง 1) การเติบโตที่มั่นคงในอนาคต 2) สำรองหนี้ฯ ที่เพียงพอต่อหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) และ 3) มูลค่าหุ้นที่น่าดึงดูด ทั้งนี้ มูลค่าพื้นฐานข้างต้นคำนวณด้วยวิธี Gordon growth (ROE 6.5%, อัตราการเติบโต 2%) อิง 0.7x PBV’22E หรือ -0.5SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี (2017-2021)

  • กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 3.2 พันล้านบาท (+15% YoY, +14% QoQ) และสูงกว่าที่คาด 13% จากค่าใช้จ่าย พนักงานที่ต่ำกว่าคาด
  • ภาพรวมด้านคุณภาพสินเชื่อก็ยืดหยุ่นและแข็งแกร่งด้วย NPL ratio ที่ลดลงเหลือ 2.7% ใน 1Q22 ขณะที่ อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญนั้นสูงกว่า 131.6% เพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น
  • คาดอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิจะเร่งตัวเป็น 18% YoY ในปี 2022 (2021 : +4%) หนุนจากการตั้งสำรองหนี้ที่ลดลง และรายได้ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น
  • มูลค่าหุ้นยังไม่แพงหรือซื้อขายกันที่ 0.6x PBV’22E หรือ -0.8SD ต่อค่าเฉลี่ยย้อนหลัง

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 3.2 พันล้านบาท (+15% YoY, +14% QoQ) และสูงกว่าที่คาด 13% จากค่าใช้จ่ายพนักงานที่ต่ำกว่าคาด
  • แม้รายได้การดำเนินงานลดลงแต่กำไรสุทธิโตขึ้นจาก 1) การตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และ 2) ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลง ในด้านอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ลดลง 2.9% (4021; 3.0%) สืบเนื่องจากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อที่ลดลง ขณะที่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงเหลือ 44.3% ใน 1Q22 (4Q21: 50.3%) จากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลง
  • สินเชื่อลดลงเล็กน้อย 0.5% QoQ ใน 1Q22 จากการชำระหนี้ของรายการสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และอุปสงค์ต่ำ สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนที่ลดลง อย่างไรก็ดี สินเชื่อรายย่อยปรับดีขึ้น QoQ จากสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อจดจำนองที่ปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ ด้วยเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้นจึงคาดว่าสินเชื่อรวมจะโตขึ้นในช่วง 2-3 ไตรมาสหน้า จึงคงประมาณการอัตราการเติบโตของสินเชื่อทั้งปี 2022 ที่ 2% YoY
  • NPL ratio ลดลงเหลือ 2.7% ใน 1Q22 (4Q21: 2.8%) สืบเนื่องจากการตัดบัญชี NPL และการขาย NPL ขณะที่ อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 131.6% (4Q21: 129.3%) จากการต่งสํารองเพิ่มเติม

Revenue breakdown

รายได้ปี 2021 มาจาก 3 ธุรกิจหลักดังนี้

(1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็นสัดส่วนรายได้ก้อนใหญ่สุดหรือราว 74% ของรายได้รวมในปี 2021 ปัจจัยที่จะหนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ คือ การเติบโตของสินเชื่อและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM)

(2) รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิคิดเป็น 16% ของรายได้รวมปี 2021 ประกอบด้วยประกันผ่านธนาคาร กองทุนรวม และค่าธรรมเนียมด้านเครดิต

(3) รายได้การดำเนินงานอื่นคิดเป็น 10% ของรายได้รวมปี 2021 ประกอบด้วยกำไรจากการลงทุน การเทรด และอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงรายได้เงินปันผล

- Advertisement -