บล.พาย:

KTB: ราคาดี และมีโอกาสลดค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญ

เพิ่มคำแนะนำเป็น “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 15.00 บาท เพื่อสะท้อน upside ที่น่าดึงดูด คุณภาพสินเชื่อที่ดี และโอกาสในการลดค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญ ทั้งนี้ มูลค่าพื้นฐานข้างต้นคำนวณด้วยวิธี Gordon growth model (ROE 6.8%, อัตราการเติบโต 2%) อิง 0.6x PBV’22E หรือ -0.5SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี (2017-2021)

  • กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 8.8 พันล้านบาท (+57% YoY, +78% QoQ) สูงกว่าคาด 37% จากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ต่ำกว่าคาด
  • คุณภาพสินเชื่อปรับดีขึ้น อัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL ratio) ลดลงเหลือ 3.3% ใน 1Q22 ขณะที่ค่าเผื้อหนี้สงสัยจะสูญปรับสูงขึ้นเป็น 173.6% เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น
  • คงประมาณการกำไรสุทธิของเราตามเดิม แม้กำไร 1Q22 จะดีกว่าคาด โดยประเมินว่ากำไรสุทธิของธนาคารจะโตขึ้น 13% YoY ในปี 2022 และ 8% YoY ในปี 2023
  • มูลค่าหุ้นยังไม่แพง ปัจจุบันซื้อขายกันที่เพียง 0.5x PBV’22E หรือ -1SD ต่อค่าเฉลี่ยในอดีต
  • หุ้นมีผลตอบแทนที่น่าดึงดูดในระดับราว 19% แบ่งเป็นกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้นที่ 15% และอัตราผลตอบแทน เงินปันผลที่ 4.5%

สรุปผลประกอบการ

  • กําไรก่อนการตั้งสํารองใน 1Q22 สอดคล้องกับคาดการณ์ที่ 1.74 หมื่นล้านบาท โตขึ้น 11% YoY (+16% QoQ) จากค่าใช้จ่ายการดาเนินงานที่ลดลง
  • กำไรสุทธิอยู่ที่ 8.8 พันล้านบาท โตขึ้น 57% YoY (+78% QoQ) สูงกว่าคาด 37% จากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ต่ำกว่าคาด ในด้านค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญปรับลดลงอย่างมากเหลือ 83bp ใน 1Q22 (-55bp YoY, -44bp QoQ)
  • อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ลดลง QoQ เป็น 2.4% (4Q21: 2.5%) จากอัตราส่วนผลตอบแทนสินเชื่อที่ลดลง ในด้านอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ก็ปรับลดลงเหลือ 41.2% YoY ใน 1Q22 จากการคุมค่าใช้จ่ายการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี สินเชื่อยังโตต่อเนื่อง 1.1% QoQ ใน 1Q22 ด้วยอุปสงค์จากสินเชื่อภาครัฐและรายย่อยที่สูงขึ้น
  • NPL ratio ลดลงเหลือ 3.3% ใน 1Q22 (4Q21: 3.5%) อัตราส่วนการตั้งสํารองหนี้ฯ ต่อสินเชื่อรวมปรับสูงขึ้นเป็น 173.6% (4Q21: 168.8%) จากการตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มเติม
  • คาดกําไรสุทธิจะโตต่อเนื่องในปี 2022-23 แต่ด้วยอัตราการเติบโตที่ชะลอลงเป็น 13% YoY ในปี 2022 และ 8% YoY ในปี 2023 (2021: 29%) ทั้งนี้ ด้วยการที่มีการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลงมาก และคุณภาพสินเชื่อที่ดีใน 1Q22 จึงมีโอกาสที่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญจะออกมาต่ำกว่าคาด ซึ่งจะเป็น upside ต่อการเติบโตของกำไรเพิ่มเติม

Revenue breakdown

รายได้ธนาคารมาจาก 3 แหล่งดังนี้

(1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 74% ของรายได้รวมในปี 2021 และนับเป็นรายได้ก้อนใหญ่ที่สุดของธนาคาร หากสินเชื่อและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) โตขึ้น รายได้ดอกเบี้ยสุทธิจะโตขึ้นตาม

(2) รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 14% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมประกันผ่านธนาคาร กองทุนรวม และการค้าระหว่างประเทศ

(3) รายได้การดำเนินงานอื่นๆ คิดเป็น 14% ของรายได้รวมในปี 2021 มาจากกำไรการลงทุน กำไรขาดทุนสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่ประเมินบนพื้นฐานของมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน และรายได้เงินปันผล

- Advertisement -