บล.พาย:

SCB: ฟื้นตัวช้าลงจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยมูลค่าพื้นฐานใหม่ที่ 139 บาท จาก 149 บาท หลังทำการปรับลดประมาณการกำไรสุทธิลง  มูลค่าข้างต้นคำนวณด้วยวิธี Gordon Growth Model (ROE 9% อัตราการเติบโต 2%) อิง 1.0x PBV’22E หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี คำแนะนำซื้อ สะท้อนกำไรที่เติบโตอย่างมั่นคง คุณภาพสินเชื่อที่ดี และมูลค่าหุ้นที่น่าดึงดูด

  • ผู้บริหารมีมุมมองระมัดระวังต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน
  • กำไรสุทธิ 1Q22 สอดคล้องกับคาดการณ์ที่ 1.02 หมื่นล้านบาท (+1% YoY, +29% QoQ)
  • คุณภาพสินเชื่อแข็งแกร่ง ด้วยอัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL ratio) ที่ลดลงเหลือ 3.7% ใน 1Q22 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปรับเพิ่มเป็น 144% เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในภายภาคหน้า
  • แม้จะปรับลดประมาณการกำไรสุทธิลง แต่ยังคาดว่ากำไรสุทธิจะโตต่อเนื่อง 12% YoY ในปี 2022 และ 11% YoY ในปี 2023
  • มูลค่าหุ้นค่อนข้างถูกด้วยการซื้อขายที่เพียง 0.5x PBV’22E

ให้น้ำหนักเป็นกลางต่อการประชุมนักวิเคราะห์

  • ธนาคารปรับลดประมาณการ GDP ไทยเป็น 2.7% สําหรับปี 2022 (จากเดิมที่ 3.2%) เพื่อสะท้อนผลกระทบจากสงคราม รัสเซีย-ยูเครน
  • ธนาคารจะดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อเสถียรภาพ และการฟื้นตัวอย่างมั่นคงในอนาคต โดยคาดว่าจะปรับโครงสร้างหนี้ราว 3.50 แสนล้านบาทได้สำเร็จจากการปรับโครงสร้างหนีในวงกว้าง หลังจากที่ปรับสําเร็จไปแล้ว 2.49 แสนล้านบาท จากจํานวนสินเชื่อปรับโครงสร้างหนี้ใน 1Q22
  • แม้สินเชื่อภายใต้โครงการปรับโครงสร้างหนี้นั้นมีเงื่อนไขการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่น้อยกว่า แต่ผู้บริหารระบุว่าอาจมีการทบทวนปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญขึ้นเป็น 160bp ในปี 2022 สืบเนื่องจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
  • สืบเนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ บวกกับการที่ธนาคารเดินหน้าปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง เราจึงปรับสมมติฐานค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญให้มีความรัดกุมมากขึ้นหรือปรับเพิ่มขึ้น 20bp สําหรับปี 2022-24 และปรับลดประมาณการกำไรสุทธิลง 5%-6% สำหรับปี 2022-24
  • เพื่อสะท้อนถึงการปรับลดประมาณการดังกล่าว จึงคาดว่ากำไรสุทธิของธนาคารจะโตในระดับ 12% YoY สำหรับปี 2022 และ 11% YoY ในปี 2023 ด้วยแรงหนุนจากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้นจากปริมาณสินเชื่อที่โตขึ้น

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 1.02 หมื่นล้านบาท (+1% YoY, +29% QoQ) ซึ่งสอดคล้องกับคาดการณ์การเติบโตขึ้นเล็กน้อย YoY มีแรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่โตขึ้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง แม้จะมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้นก็ตามส่วนกำไรที่โตขึ้น QoQ เป็นผลจากการตั้งสํารองหนี้ฯ และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลง
  • อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ลดลง QoQ เป็น 3.1% (4Q21: 3.2%) จากอัตราส่วนผลตอบแทนสินเชื่อที่ลดลง ในด้านอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลง QoQ เหลือ 42.4% ใน 1Q22 (4Q21: 44%) จากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลง
  • สินเชื่อโตต่อเนื่อง 1.1% QoQ จากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และ SME ที่โตขึ้น โดยยังคงประมาณการการเติบโตของสินเชื่อปี 2022 ที่ 4% YoY
  • สินเชื่อภายใต้มาตรการช่วยเหลือลดลงเหลือ 3.80 ล้านบาท คิดเป็น 15% ของสินเชื่อรวมใน 1Q22 เทียบกับ 3.97 ล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ของสินเชื่อรวมในเดือน ธ.ค. 2021
  • คุณภาพสินเชื่อมีภาพรวมที่ดี NPL ratio ลดลงเล็กน้อยเหลือ 3.7% ใน 1Q22 (4Q21: 3.8%) ทั้งนี้ ธนาคารตั้งสำรองหนี้มากขึ้น เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับงบดุล ปรับเพิ่มอัตราส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อรวมเป็น 144% เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในภายภาคหน้า

Revenue breakdown

รายได้ของธนาคารในปี 2021 มาจาก 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย

(1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 67% ของรายได้ทั้งหมดของธนาคารในปี 2021 โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเป็นรายได้ส่วนที่มากที่สุด และหากสินเชื่อของธนาคารมีการเติบโต และ NIM ที่สูงขึ้น จะส่งผลให้รายได้ส่วนนี้ปรับตัวสูงขึ้น

(2) รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 27% ของรายได้ทั้งหมดของธนาคารในปี 2021 โดยธุรกิจส่วนนี้ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมประกันธนาคาร และค่าธรรมเนียม Wealth Management

(3) รายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมดของธนาคารในปี 2021 รายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ ส่วนใหญ่เกิดจากกำไรการลงทุนการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และเงินปันผล

- Advertisement -