KS Daily View 26.04.2022 >>> ตลาดหุ้นโลกยังผันผวนสูง, ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ปรับลงแรง จาก Covid ในจีน, Real yield + ส่วนเงินบาทยังยืนเหนือ 34 ต่อหนุนการเก็งกำไรหุ้นส่งออกต่อยังแนะนำเน้นหุ้น Domestic และเลี่ยงหุ้น Global Play/ SET วันนี้คาด 1680-1685 หุ้นแนะนำ DCC, GFPT
ต่างประเทศ : ตลาดหุ้นต่างประเทศเมื่อคืนผันผวนสูง โดยเฉพาะสหรัฐเปิดลบและมีแรงไล่ซื้อจนปิดบวก โดยดัชนี Nasdaq +1.3%DoD (นำโดย Twitter inc +5.6%, AMD และ Alphabet +2.9%ฯลฯ) ดัชนี S&P500 0.6%(กลุ่ม IT 1.7%, กลุ่ม consumer discretionary และกลุ่มการแพทย์ 0.7%, กลุ่มพลังงาน -3.2% ฯลฯ), ดัชนี Dowjones 0.7% สวนทางฝั่งยุโรปดัชนี CAC40 -2%, ดัชนี DAX-1.5% ส่วนตลาดหุ้นจีนเมื่อวาน – 5.1%หลุดแนวรับสำคัญและทำจุดต่ำสุดใหม่ จากความกังวล Covid แพร่กระจายไปปักกิ่ง
โดยรวมถือว่าตลาดหุ้นโลกที่ผันผวนเป็นไปตามที่ KS เคยนำเสนอมาตลอดว่า เดือน เม.ย.และเข้าสู่ พ.ค. จะผันผวนในทิศทางลง (Sideway Down) โดยแรงกดดันตลาดหุ้นยังคงมาจาก
1.) Real yields หรือ Yield adjusted inflation ปัจจุบัน ขยับขึ้นมาเป็นบวก จากก่อนหน้า Real yields ติดลบมากกว่า 1 % มา 3 ปีนับตั้งแต่ช่วง Covid จากสถิติในอดีตหาก Real yields เป็นบวกและขึ้นแรงๆ พบว่าตลาดหุ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ จะปรับลง และจะ Sensitive กว่าประเด็น Inverted Yield Curve
2.) เศรษฐกิจโลกที่เติบโตชะลอลงจากเดิม โดย 3 ประเทศหลักของโลก อาทิ ยุโรป ได้รับผลกระทบกับสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ, จีนเผชิญ Covid ที่กลับมาระบาด, ส่วนญี่ปุ่นใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายสวนทางฝั่งสหรัฐ
3.)การ De-rate PER ลงเนื่องจากสภาพคล่องในระบบที่ทยอยลดลงผ่านการทำ QT ของ Fed จากสถิติ KS ทำ Regression Analysis พบว่า ทุกๆ 1 % ของขนาดงบดุลที่ลดลงจะส่งผลต่อตลาดหุ้นผ่าน PER Multipier ราว 0.3%
ระยะสั้น KS ยังประเมินตลาดหุ้นโลกยังไม่ใช่ขาลงเต็มตัว แต่เป็นเพียงการปรับฐาน โดยประเมินสัปดาห์นี้เชื่อว่าตลอดทั้งสัปดาห์จะผันผวนแกว่งตัวลงคล้ายๆสัปดาห์ที่แล้ว โดยประเด็นที่ต้องติดตามคือวันพฤหัสบดีติดตาม GDP สหรัฐงวด 1Q22 ตลาดคาด 1%QoQ และการรายงานผลประกอบการงวด 1Q22 (Earning season) ของสหรัฐฝั่ง Real Sector โดยล่าสุด ณ.วันที่ 22 เมย รานงานกำไรงวด 1Q22 โดยรวมของดัชนี S&P500 ตลาดคาด 7.3%YoY(หากตัดกลุ่มพลังงานจะเหลือเติบโต 1.6%YoY โดยมีการรายงานงบ 99 บริษัท พบว่า 77.8% รายงานดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาด)
อัตราแลกเปลี่ยน : ทิศทางค่าเงินหลักๆจะขึ้นกับ 1.) แนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจ 2.) Policy Divergence โดยปัจจุบัน สหรัฐเป็นประเทศที่จะขึ้นดอกเบี้ยเร็วและมากสุด ส่วนประเทศอื่นขึ้นช้ากว่า (ไทยปีนี้ ธปท.คาดจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย) และเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งกว่า (ล่าสุด IMF คาด GDP ปี 65 เติบโต 3.7% สูงกว่ายุโรปคาด 2.8%, ญี่ปุ่น 2.4%) หนุนสกุล Dollar มีแนวโน้มแข็งค่ายืนเหนือ 100 จุด หนุนให้ทิศทางเงินบาทยืน 34 บาท มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อ โดยห้องค้ากสิกรคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ (25-29 เม.ย.)แนวต้าน 34.2 บาทบวกกับกลุ่มหุ้นส่งออก (ASIAN, SAPPE SVI GFPT) แต่Sentiment ลบกลุ่มโรงไฟฟ้า (BGRIM, EGCO, GULF)
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ : เมื่อคืนปรับลงแรงทุกสินค้าจาก (Dollar Index ที่แข็ง, Real yields เป็นบวก) โดยเฉพาะราคาน้ำมัน -3.4%DoD ,ถ่านหิน-3.3%, น้ำตาล-1.6%, ยางฯลฯ คาดจะกดดันหุ้น Commodoty อาทิ หุ้นน้ำมัน PTT, PTTEP หุ้นยาง STA,NER หุ้นน้ำตาล KSL, KTIS แนะนำชะลอลงทุน แต่จะบวกต่อหุ้น Anti Commodity อาทิ (PTG EPG, SCGP, BGRIM,GULF, OR, AAV, BA แนะนำเก็งกำไร)
อัตราผลตอบแทนพันธบัตร : Real Yields ที่เป็นบวกทำให้ Bond Yield สหรัฐปรับลง โดย Bond Yield สหรัฐ 2 ปี และ 10 ปี อยู่ที่ 2.6% และ 2.8% เป็น Sentiment ลบต่อหุ้นประกันชีวิต BLA แต่จะบวกต่อกลุ่มการเงินเช่าซื้อ แนะนำ (MTC, SAWAD, HENG, MICRO)
ในประเทศ : ประเมินตลาดหุ้นไทยยังผันผวนแนวรับยังประเมิน 1666 จุดไม่ควรหลุด ส่วนแนวต้านสำคัญคาด 1705 จุด โดยช่วงนี้ปัจจัยบวกยังมาจากการเปิดเมือง และเชื่อว่าตลาดให้น้ำหนักการรายงานผลประกอบการงวด 1Q22 ฝั่ง Real sector อาทิ SCGPเราคาดกำไรไตรมาส 1 ที่ 1.77 พันล้านบาท -16%QoQ และ 17% YoY, SCC ตลาดคาดที่ 8.3 พันล้านบาท Flat QoQ แต่ -44%YoY, BH เราคาดกำไร 757 ล้านบาท +24%QoQ 731%YoY, PTTEP คาดกำไร 1 หมื่นล้านบาท -6%QoQ -13%YoY ฯลฯ และกระแสเก็งกำไรเรื่อง MSCI จะประกาศหุ้นเข้าคำนวณ MSCI รอบใหม่ (มีผลราคาปิด 31 พค 2022) เบื้องต้นคาดหุ้นเข้า MSCI Global standard คือ JMT, COM7 คาดมีแรงเก็งกำไร , คาดหุ้นออก BGRIM, STGT จะมีแรงกดดัน
กลยุทธการลงทุน : KS ยังแนะนำเน้นหุ้น Domestic กลุ่มการเงินเช่าซื้อ (MTC, SAWAD, HENG, MICRO) กลุ่มค้าปลีก (DOHOME) กลุ่มวัสดุ (DCC) กลุ่ม ICT (DTAC, TRUE) และกลุ่มที่มีปัจจัยบวกสนับสนุน คือ กลุ่มส่งออก(ASIAN, SAPPE EPG) กลุ่มที่ได้กระแสบวกจากการเปิดเมือง แนะนำ (BEM, CPN, MINT, CENTEL, AMATA), กลุ่มการแพทย์ (BH, BDMS) กลุ่มที่หลีกเลี่ยงลงทุน คือ Global play ปิโตรเคมี,อิเล็กทรอนิกส์
มุมมองตลาดหุ้น SET วันนี้คาด 1680-1685 หุ้นแนะนำ DCC, GFPT
Top pick :
- DCC (ราคาพื้นฐาน 3.4 บาท) เราปรับราคาเป้าหมายเป็น 3.40 บาท คาดกำไร 1Q22 จะ New high ที่528 ล้านบาท +7.1% YoY และ 36.2%QoQ จากยอดขายจะเพิ่มขึ้นและ GPM ที่สูงขึ้น, ต้นทุนที่ต่ำลง,และจุดเด่น DCC คือ เงินปันผลที่ให้ผลตอบแทนสูง 6%
- GFPT (ราคาพื้นฐาน 15.0 บาท) เรา 1.) คาดกำไร1Q22 อยู่ที่ 201 ลบ. (+232% YoY, +157% QoQ) จากปริมาณการส่งออกที่ฟื้นตัวและราคาไก่เนื้อในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น (+23%QoQ) 2.เราเชื่อว่าผลการดำเนินงานของ GFPT จะดีขึ้นตามลำดับไตรมาสต่อไตรมาสและแตะระดับสูงสุดในไตรมาส 3/2565 เนื่องจากเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นสำหรับการส่งออกและจากความต้องการอาหารสัตว์ที่ฟื้นตัวสำหรับทั้งภาคปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3.) ได้ Sententiment บวกจากแนวโน้มเงินบาทที่อ่อนค่า โดยเงินบาทที่อ่อนค่าๆทุกๆ 1 บาทจะส่งผลบวกต่อ Bottomline บริษัท 1.5%
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันอังคาร ติดตาม ตัวเลข Durable Goods order ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด +1% MoM (ดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ -2.2% MoM) ตัวเลขราคาบ้านของสหรัฐฯ โดย S&P Case-Shiller เดือน ก.พ. คาด +18.9% YoY ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด -0.5% MoM เป็น 7.7 แสนยูนิต และดัชนี CB Consumer confidence index ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 108 จุด (ทรงตัว MoM)
- วันพุธ ติดตาม ตัวเลข Gfk consumer confidence index ของเยอรมัน เดือน พ.ค. คาด -16.3 จุด (จากเดือนก่อนหน้าที่ -15.5 จุด) ตัวเลข Pending home sales ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด -1.5% MoM ตัวเลข Wholesales inventories ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.9% MoM ถ้อยแถลงของ ECB Lagarde และปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
- วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยเดือน มี.ค. คาด +2.0% YoY การประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% โดย highligt สำคัญจะอยู่ที่การอ่อนค่าของเงินเยนว่า BOJ จะปล่อยให้อ่อนไปที่ระดับไหน และนโยบาย Yield curve control จะทำต่อเนื่องถึงจุดไหน ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของเยอรมันเดือน เม.ย. คาด +0.6% MoM และ +7.2% YoY ตัวเลข GDP 1Q22 ของสหรัฐฯ (Adv) คาด +1.1% QoQ และตัวเลข Initial jobless claim รายสัปดาห์ของสหรัฐฯ คาด +1.86 แสนคน (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 1.84 แสนคน)
- วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข GDP 1Q22 ของยูโรโซน คาด +0.3% QoQ และ +5.1% YoY ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน เดือน เม.ย. คาด +0.5% MoM และ +7.4% YoY ตัวเลข Personal income ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.4% MoM และตัวเลข Personal spending ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.6% MoM