บล.พาย:

DELTA: กระแส EV จะยังหนุนกําไรปี 2022 อย่างต่อเนื่อง

เพิ่มคำแนะนำจากขายเป็น “ซื้อ” และเพิ่มมูลค่าพื้นฐานขึ้น 58% เป็น 419 บาท อิง 51.7xPE’22E (+0.5SD ต่อ ค่าเฉลี่ย 5 ปี) คาดกำไรปี 2022 จะโตแตะ 9.4 พันล้านบาท (+49% YoY) คำแนะนำนี้สะท้อนศักยภาพการ เติบโตที่แข็งแกร่งของบริษัทในปี 2022 หนุนจากอุปสงค์ในกลุ่มคลาวด์ ดาต้าเซ็นเตอร์ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และพัดลมระบายอากาศ

  • กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 2.8 พันล้านบาท (+58% YoY, +63% QoQ) ที่เติบโตแข็งแกร่ง YoY เป็นผลจากรายได้ที่โตขึ้นอย่างน่าประทับใจ ส่วนในเชิง QoQ ได้แรงหนุนมาจากสินไหมทดแทนครั้งเดียวจำนวน 331 ล้านบาทและอัตรากำไรที่ขยายตัวขึ้น
  • ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2022 และ 2023 ขึ้น 20% และ 15% ตามลำดับ เพื่อสะท้อนคาดการณ์การเติบโตของกำไรเฉลี่ยต่อปีในช่วง 2021-24 ที่ 27%
  • คาดกำไรแตะจุดสูงสุดของปีใน 1Q22 แต่พบว่าราคาหุ้นของบริษัทมีความผันผวนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาจากความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจมหภาคทั่วโลก จึงนับเป็นโอกาสในการเข้าสะสมหุ้นที่ดีหากราคาย่อตัวลงมาอีก

สรุปผลประกอบการ 1Q22

  • กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 2.8 พันล้านบาท (+58% YoY, +63% QoQ) ที่เติบโตแข็งแกร่ง YoY เป็นผลจากรายได้ที่โตขึ้นอย่างน่าประทับใจ ส่วนในเชิง QoQ ได้แรงหนุนมาจากสินไหมทดแทนครั้งเดียวจํานวน 331 ล้านบาท สําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคลังสินค้าในโรงงานที่บางปู และอัตรากำไรที่ขยายตัวขึ้น โดยหลังจากนี้จะไม่มีการรับรู้สินไหมทดแทนจากเหตุการณ์ดังกล่าวเพิ่มเติม
  • รายได้ 1Q22 อยู่ที่ 2.46 หมื่นล้านบาท (+29% YoY, +6% QoQ) ทั้งในเชิง QoQ และ YoY ต่างได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่ไหลเข้ากลุ่ม คลาวด์ ดาต้าเซ็นเตอร์ EV และพัดลมระบายอากาศอย่างต่อเนื่อง คาดรายได้โต 21% YoY ในปี 2022 ซึ่งสูงกว่ากรอบประมาณการของบริษัทที่ 10%-20%
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ขยายตัวเป็น 20.9% (-0.7ppts YoY, +0.7ppts QoQ) การเติบโต QoQ มาจากส่วนผสมผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น แต่ที่ลดลง YoY เป็นผลจากต้นทุนเกี่ยวกับโควิด-19 (เช่น ค่าแรงการทำงานล่วงเวลา ค่าขนส่ง) คาด GPM จะค่อยๆ ปรับขึ้นตลอดทั้งปี 2022

กำไร 1Q22 แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการเติบโตที่แข็งแกร่งในช่วงปี 2022-23

ประมาณการชุดเดิมประเมินการเติบโตของกำไรต่ำเกินไป คาดกำไรสุทธิโต 49% YoY ในปี 2022 โดยปรับเพิ่มประมาณการรายได้ปี 2022 ขึ้น 6.3% เป็น 1.02 แสนล้านบาท เพื่อสะท้อนกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์ คลาวด์ EV และพัดลมระยายอากาศที่โตดีกว่าคาด ขณะที่เชื่อว่ากลุ่มเหล่านี้จะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของบริษัทในปี 2022-23 ส่วนจุดมุ่งเน้นของบริษัทในปีนี้คือการขยาย GPM ให้กลับสู่ระดับเดียวกับปี 2020 (เฉลี่ยที่ 23.9%) ผ่านการจัดสรรส่วนผสมผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่มองโลกในแง่ดีเกินไปหากดูจาก GPM ที่โตขึ้นเพียง 0.7ppts YoY แม้รายได้จะโตถึง 29% YoY จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีอัตรากำไรสูง ด้วยเหตุนี้จึงยังคงละตรงส่วนนี้ไว้เป็น upside ที่อาจเกิดขึ้นกับประมาณการของเราเท่านั้น

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ขึ้น 15% อิงจากปัจจัยเดียวกับการปรับเพิ่มตัวเลขปี 2022 แต่คาดว่าการเติบโตของรายได้จะชะลอลง โดยเฉพาะในกลุ่ม EV สืบเนื่องจากกระแสโดยรวมที่แผ่วลงตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป (อิงข้อมูลจาก Bloomberg Intelligence 2022)

Revenue breakdown

ธุรกิจกลุ่มพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นสัดส่วน 73% ของรายได้รวมของบริษัท ซึ่งเกี่ยวข้องกับออกแบบ ผลิต และจำหน่ายพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้ในคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, อุปกรณ์ระบบอัตโนมัติในสำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์ โดยมีผลิตภัณฑ์หลักคือตัวแปลงไฟฟ้า DC/DC เพาเวอร์ซัพพลายสำหรับคอมพิวเตอร์ พัดลม และเซิร์ฟเวอร์ ผลิตภัณฑ์ระบบความร้อน โซลีนอยด์ และอีเอ็มไอฟิลเตอร์

ธุรกิจระบบโครงสร้างพื้นฐานคิดสัดส่วน 25% ของรายได้รวม โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และระบบของโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ โทรคมนาคม พลังงานทดแทน การจัดเก็บพลังงาน และระบบไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักนั้นใช้ในระบบ

ธุรกิจระบบอัตโนมัติคิดเป็นสัดส่วน 2% ของรายได้รวม โดยบริษัทได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติที่มี ประสิทธิภาพสูงและเชื่อถือได้ประกอบด้วย รวมถึงไดรฟ์ระบบควบคุมการเคลื่อนไหว ระบบควบคุมทางอุตสาหกรรมและการสื่อสาร การปรับปรุงคุณภาพพลังงาน การเชื่อมต่อเครื่องจักรและมนุษย์ ระบบเซ็นเซอร์ มิเตอร์และโซลูชั่นหุ่นยนต์

- Advertisement -