บล.พาย:

PTTEP: ขาดทุนป้องกันความเสี่ยงฉุดกำไรสุทธิ 1Q22

กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 1.05 หมื่นล้านบาท (-9.0%YoY, ทรงตัว QoQ) แม้ปริมาณขายและราคาขายจะโตอย่าง มีนัยสำคัญ แต่กำไรสุทธิถูกฉุดลงจากผลขาดทุนสัญญาป้องกันความเสี่ยงจำนวน US$240 ล้าน แต่ถือว่าเป็นผลประกอบการที่ดีกว่าคาด 10%

  • หากไม่รวมรายการพิเศษ กำไรปกติจะอยู่ที่ 1.89 หมื่นล้านบาท (+113% YoY, +11% QoQ) การเติบโต YoY เป็นผลจากปริมาณขายที่โตขึ้น 12% และราคาขายเฉลี่ยที่สูงขึ้น 27%
  • ภาพรวม 2Q22 เป็นบวก เพราะคาดว่ากำไรสุทธิจะโตขึ้นทั้ง YoY และ QoQ ประเมินว่าการเริ่มผลิตก๊าซจากโครงการ G1/61 และ G2/61 (ประเทศไทย) จะช่วยหนุนการเติบโตของยอดขายได้ 10% ส่วนราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอาจเข้ามาช่วยกระตุ้นราคาขายเฉลี่ยขึ้น
  • คาดราคาน้ำมันดูไบโดยเฉลี่ยจะยืนเหนือ US$100/bbl ในปี 2022 อิงจากคาดการณ์ว่าสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนจะยังตึงเครียดต่อไป รวมถึงการปล่อยสำรองน้ำมันโดยสมาชิก IEA สถานการณ์โควิด-19 ฯลฯ ซึ่งคาดทั้งหมดนี้จะช่วยหนุนกำไรให้กับบริษัทได้อย่างแข็งแกร่ง

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 179.0 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC 8.9%, TG 1%) อิง 10x PE’22E มูลค่าพื้นฐานนี้สะท้อนภาพรวมเชิงบวกของตลาดน้ำมันในปี 2022

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 1.05 หมื่นล้านบาท (-9.0%YoY, ทรงตัว QoQ) ดีกว่าคาด 10%
  • หากไม่รวมรายการพิเศษ ซึ่งหลักๆ คือขาดทุนสัญญาป้องกันความเสี่ยงจำนวน US$240 ล้าน (7.9 พันล้านบาท) กำไรปกติจะอยู่ที่ 1.89 หมื่นล้านบาท (+113% YoY, +11% QoQ)
  • การเติบโต YoY เป็นผลจากปริมาณขายราคาขายเฉลี่ยที่โตขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ
  • ปริมาณขายโตเป็น 427kBOED (+12% YoY, +2% QoQ) การเติบโตในเชิง YoY ได้แรงหนุนจากส่วนแบ่งจากโครงการ Oman Block 61 และ Malaysia Block H ที่เริ่มเดินเครื่องใน 1Q21
  • ราคาขายเฉลี่ยปรับเพิ่มเป็น US$51.4/BOE (+27% YoY, +10% QoQ) หลังจากราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยปรับเพิ่มเป็น US$91.2/bbl (+61% YoY, +20% QoQ) ขณะที่ราคาก๊าซก็ปรับ สูงขึ้นเป็น 6.1 บาท/MMBTU (+8% YoY, +4% QoQ)
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ปรับเพิ่มเป็น 57% ใน 1Q22 จาก 41% ใน 1Q21 และ 55% ใน 4Q21 ด้วยอานิสงส์จากราคาขายเฉลี่ยที่ปรับสูงขึ้น

Positive tone from analyst meeting

คาดยอดขาย 2Q22 โต 10%

  • กำไร 1Q22 ออกมาแข็งแกร่งด้วยแรงหนุนจากยอดขายที่โต 11% YoY และราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น 28% YoY โดยคาดว่าสภาวะเช่นนี้จะลากยาวไปถึง 2Q22 จากการที่ผู้บริหารตั้งเป้าว่าปริมาณขายจะโตอีก 10% เป็น 467kBOED ด้วยแรงหนุนจากการเริ่มผลิตของโครงการนอกชายฝั่ง 2 แห่งในไทยอย่าง G1/61 (800 mmscfd) และ G2/61 (200 mmscfd) รวมถึงการเข้าถือหุ้นเพิ่มเติมในโครงการ Yadana (เมียนมา)
  • คาดราคาขายเฉลี่ยปรับเพิ่มเป็น US$53/BOE (+26% YoY, +4% QoQ) หลังจากราคาน้ำมันดิบดูไบปรับเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีค่าเฉลี่ยที่ราว US$105/bbl ใน 2Q22
  • บริษัทมีสถานะป้องกันความเสี่ยงราคาน้ำมันจำนวน 11.5 ล้าน bbl สำหรับ 2Q22-2H22 ขณะที่ราคาซื้อขาย ล่วงหน้าปรับเพิ่มเป็น US$98/bbl ใน 1Q22 จาก US$75/bbl ณ สิ้นปี 2021 จึงคาดถึงผลกระทบที่เบาบางต่องบกำไร/ขาดทุนตั้งแต่ 2Q22 เป็นต้นไปเมื่อเทียบกับขาดทุนก้อนใหญ่จำนวน 7.9 พันล้านบาทที่รับรู้ใน 1Q22

คาดราคาน้ำมันยังยืนเหนือ US$100/bbl ในปี 2022 จากความตึงเครียดของสงคราม

ความเสี่ยงด้านอุปทานน้ำมันดิบจากรัสเซีย บวกกับการที่ไม่มีแหล่งอื่นมาทดแทนเพราะ OPEC+ ยังคงท่าที่เป็น กลางและยึดมั่นกับแผนการปรับเพิ่มปริมาณการผลิตเดิมที่ 400kbd ต่อเดือน จึงคาดว่าราคาน้ำมันจะยังยืนเหนือ US$100/bbl ในปี 2022

สหรัฐฯ และสมาชิก IEA ติดสินใจปล่อยสต็อกน้ำมันออกมามากขึ้นภายในเดือน พ.ค. (240 ล้านบาร์เรล) ซึ่งคาดว่าจะช่วยบรรเทาความเสี่ยงด้านอุปทานในระยะสั้นได้ แต่จำนวนที่ประกาศออกออก (1.3 ล้าน bpd) จะช่วยชดเชย การขาดแคลนอุปทานจากรัสเซียได้ถึง 3Q22 เท่านั้น นอกจากนี้ สต๊อกของสหรัฐฯ ก็อยู่ในระดับต่ำแล้ว ดังนั้นการ ปล่อยสำรองออกมามากขึ้นจะยิ่งทำให้สหรัฐฯ มีความเปราะบางต่อสภาวะอุปทานขาดแคลนมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้จึงเล็งเห็นถึงความผันผวนที่กินเวลานานขึ้นหากพิจารณาจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับประเด็นการปล่อยสำรองน้ำมันโดยสมาชิก IEA และโควิด-19 ระลอกใหม่ในจีน ฯลฯ แต่คาดว่าน้ำมันดิบเบรนท์จะอยู่ในกรอบ US$100-115/bbl ในช่วง 2Q22-2H22 ซึ่งน่าจะหนุนให้บริษัทมีกำไรที่แข็งแกร่งได้

Revenue breakdown

รายได้หลักของ PTTEP มาจากธุรกิจสำรวจและการผลิต (E&P) ซึ่งคิดเป็น 98% ของรายได้ทั้งหมด ที่เหลืออีก 2% มาจากธุรกิจท่อส่งก๊าซและอื่นๆ โดยในส่วนของก๊าซนั้นคิดเป็น 71% ของปริมาณขายทั้งหมด สวนน้ำมันคิดเป็น 29%

ขณะที่น้ำมันมีราคาขายที่สูงกว่าก๊าซ ทำให้รายได้จากธุรกิจก๊าซคิดเป็น 55% ของรายได้ทั้งหมด ส่วนน้ำมันคิดเป็น 45%

PTTEP ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รายได้ราว 72% มาจากไทย 21% จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอีก 7% จากที่อื่นๆ

- Advertisement -