KS Daily View 03.05.2022 >> คาดตลาดหุ้นโลกแกว่งตัว รอผลประชุมและ Speech ประธาน Fed กลางสัปดาห์ SET วันนี้คาด 1660-1670 หุ้นแนะนำ BRI, ASIAN
ต่างประเทศ : สัปดาห์นี้ต้นเดือน พ.ค. KS ประเมินตลาดหุ้นทั่วโลกจะแกว่งตัวไร้ทิศทาง (Sideway) คาดช่วงต้นสัปดาห์ตลาดหุ้นโลกยังขาดทั้งปัจจัยหนุนและกดดัน เพราะตลาดหุ้นหลายแห่งในเอเซียหยุดทำการ อาทิ สิงคโปร์, จีน,ญี่ปุ่น อินเดีย ไทย ฯลฯ หยุดเนื่องจากวันแรงงาน ฯลฯ คาดมูลค่าการซื้อขายหุ้นคาดลดลง เชื่อว่าประเด็นที่ติดตามยังเป็นเรื่องการรายงานผลประกอบการงวด 1Q22 ของบริษัทจดทะเบียน โดยฝั่งสหรัฐ KS ประเมินจากสถิติช่วงรายงานงบ ตลาดหุ้นสหรัฐจะผันผวนสูงตามรายงานผลประกอบการบริษัทใหญ่ๆ และขาดแรงหนุนจากการซื้อหุ้นคืน (Stock Buyback) เพราะเป็นช่วง Silent Period ของการรายงานงบ ทำให้ประเมินแนวรับ หรือแนวต้านได้ยาก หรือไม่ Solid โดย KS ประเมินทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงหลังๆมีผลต่อการเคลื่อนไหวต่อตลาดหุ้นอื่นๆลดลง หรือ Correlation ไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกันเหมือนในอดีต รวมถึงยังรอผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ระหว่าง 3-4 ธ.ค. คาดจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 50 bps และเริ่มมาตรการ QT แต่ประชุมรอบนี้จะยังไม่มีรายงานประมาณการการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed หรือ (Dot plot) แต่จะรอการแสดงความเห็น (Speech) ของประธาน Fed Powell วันพฤหัสว่าจะส่งสัญญาณนโยบายการเงินทั้งการเร่งขึ้นดอกเบี้ย และแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงที่เหลือของปีนี้อย่างไร (โดยปัจจุบันตลาดคาด Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 10 ครั้งในปีนี้) แต่ก่อนวันประชุม Fed คาดยังไม่มีแรงกดดันเนื่องจากไม่มีการแสดงความเห็นจากคณะกรรมการ (Fed) หรือเป็นช่วง Blackout Period ส่วนประเด็นที่ต้องติดตามคือฝั่งจีน 1.Covid ที่แพร่ระบาด 2.การอ่อนค่าเงินหยวนราว 3.6%นับตั้งแต่กลางเดือน เม.ย.65 เพื่อหนุนส่งออกจีน KS ประเมินจะกระทบต่อทิศทางการเติบโตส่งออกปี 65 ประเทศคู่ค้า อาทิ ไทย
ในประเทศ : สัปดาห์นี้ประเด็นบวก (+): หนุนตลาดหุ้น คือ สถานการณ์โควิด-19 ที่คลายตัว โดยตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ลดลงต่ำ 1 หมื่นติดต่อ 2 วัน ล่าสุด 9,721 ราย เสียชีวิต 77 ราย ประกอบกับรัฐเดินหน้ารับนักท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. คาดจะหนุนนักท่องเที่ยวทยอยเข้าไทย โดยรวมประเมินเป็น Sentiment บวกต่อกลุ่มท่องเที่ยวและขนส่ง ประเด็นลบ (-) : ติดตามกระแสการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของไทยจากระดับปัจจุบันที่ 313-336 บาทต่อวัน หลัง รมว.แรงงานเล็งปรับขึ้นค่าจ้าง โดย คสรท.-สรส.ยื่นหนังสือถึงรัฐบาล ยืนกรานต้อง 492 บาททั่วประเทศ รมว.แรงงานแจง ส.ค.-ก.ย.รู้ผล มองเป็นลบกับกลุ่มที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น เช่น เกษตร F&B, ร้านอาหาร, โรงแรม, สิ่งทอ ค้าปลีก เป็นต้น
ส่วนประเด็นที่ต้องติดตาม : 1.) การรายงานงบงวด 1Q22 ในสัปดาห์นี้ อาทิ INETREIT,TFM , LPN,DOHOME ,FPT,PSL,THCOM, TPCH, ZEN ฯลฯ KS คาดกำไรรวมจะเติบโต 5% QoQ and 4% YoY 2.) ติดตามทิศทางค่าเงินบาทซึ่งคาดว่าจะอ่อนค่าต่อหลังการปะชุมเฟดที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ย 50bps. และลดขนาดงบดุล ขณะที่ไทยจะมีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือน เม.ย. มองจะเป็นบวกกับกลุ่มส่งออก (ASIAN SAPPE GFPT TU) แต่จะเป็นลบกับกลุ่มโรงไฟฟ้าจากผลขาดทุนทางบัญชีด้านอัตราแลกเปลี่ยน
มุมมองตลาดหุ้น SET วันนี้คาด 1660-1670 หุ้นแนะนำ BRI, ASIAN
Top pick :
- BRI (ราคาพื้นฐาน 13.2 บาท) บริษัทตั้งเป้ายอดขายปี 2565 ที่ 1.1 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น 31% YoY และมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ปี 2565 ที่ 7.25 พันลบ. เพิ่มขึ้น 90% YoY ความคืบหน้าของรูปแบบการลงทุนแบบร่วมทุนจะสร้างกำไรพิเศษให้กับบริษัทในระยะสั้น และเพิ่มความสามารถในการขยายธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการเพิ่ม Upside ให้กับราคาเป้าหมายของเรา
- ASIAN (ราคาพื้นฐาน 23.7 บาท) เราคาดกำไรงวด 1Q22 ของ ASIAN จะอยู่ที่ 254 ลบ. (+18.1% YoY และ -3.9% QoQ) เนื่องจากอุปทานอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารสัตว์เลี้ยงคาดจะเพิ่มขึ้น YoY จากกำลังการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งสำเร็จรูป (+30%) ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4/2564 และ ASIAN ได้ Sententimentบวกจากแนวโน้มเงินบาทที่อ่อนค่าแตะ 34 บาท โดยเงินบาทที่อ่อนค่าๆทุกๆ 1 บาทจะส่งผลบวกต่อ Bottomline บริษัท 15%
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันอังคาร ติดตาม ตัวเลข S&P PMI ภาคการผลิตของไทย เดือน เม.ย. คาด 51.3 จุด (-0.9% MoM) การประชุมธนาคารกลางออสเตรเลียคาดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 15bps. เป็น 0.25% อัตราการว่างงานของยูโรโซนเดือน มี.ค. คาด 6.7% ทรงตัว MoM ตัวเลขการเปิดรับสมัคร (JOLTs Job Openings) ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด 11.27 ล้านตำแหน่ง ทรงตัว MoM และถ้อยแถลงของ ECB Lagarde
- วันพุธ ติดตาม ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 3.95 แสนตำแหน่ง (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 4.55 แสนตำแหน่ง) ตัวเลข ISM Non-manufacturing PMI ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 58.5 จุด ทรงตัว MoM การรายงานสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯรายสัปดาห์ และการประชุมเฟดคาดมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 50bps. เป็น 0.75%-1% นอกจากนี้คาดว่าเฟดจะเร่ิมลดขนาดงบดุลที่เดือนละ 9.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯต่อเดือนตามรายงานการประชุมครั้งก่อนด้วย
- วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของไทยเดือน เม.ย. คาด 4.95% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 5.73% YoY) ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานของไทยเดือน เม.ย. คาด 2.01% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 2.1% YoY) การประชุมธนาคารกลางอังกฤษคาดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 25bps. เป็น 1% ตัวเลข Initial jobless claim รายสัปดาห์ของสหรัฐฯ คาด +1.85 แสนคน (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 1.8 แสนคน) และการประชุม OPEC+
- วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 3.8 แสนตำแหน่ง (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 4.31 แสนตำแหน่ง) อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 3.5% (ดีขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 3.6%) ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด +5.5% YoY และถ้อยแถลงของ Fed Williams Fed Bostic Fed Waller และ Fed Daly