บล.พาย: 

BBL: ทิศทางการเติบโตอย่างมั่นคง แม้มีปัจจัยความไม่แน่นอน

คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ลดมูลค่าพื้นฐานเป็น 159 บาท จาก 162 บาท เพื่อสะท้อนการปรับลดประมาณการกำไร คำแนะนำนี้สะท้อนการเติบโตที่มั่นคงของกำไร งบดุลที่แข็งแกร่ง และมูลค่าหุ้นที่ไม่แพง ส่วนมูลค่าพื้นฐานข้างต้นนั้นคำนวณด้วยวิธี Gordon Growth Model (ROE 6.5%, การเติบโต 2%) อิง 0.6x PBV22E หรือ -1SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี (2017-2021)

  • ผู้บริหารคงเป้าหมายทางการเงินสำหรับปี 2022 ตามเดิม และยืนยันว่าธนาคารมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง พร้อม รับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต
  • จากการที่ตลาดทุนมีความผันผวนมากขึ้น จึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-24 ลง 4%-5% เพื่อสะท้อนการเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง
  • แม้ปรับลดประมาณการกำไรลง แต่อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิยังแข็งแกร่งที่ 15% YoY ในปี 2022 และคาดว่าจะโตต่อเนื่อง 11% ในปี 2023
  • คาดกำไรสุทธิ 2Q22 จะออกมาแข็งแกร่งด้วยการเติบโตทั้ง YoY และ QoQ
  • ปัจจุบันหุ้นซื้อขายกันที่เพียง 0.5x PBV’22E หรือ -1SD ต่อค่าเฉลี่ยย้อนหลัง อัตราผลตอบแทนเงินปันผลก็ดูดีที่ 3.7%-4.7% สำหรับปี 2022-24

เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว

  • ธนาคารคาด GDP ไทยโตราว 3% YoY ในปี 2022 หนุนจากการส่งออก การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และเม็ดเงินลงทุนทางตรงจากต่างชาติ (FDI) ที่สูงขึ้น บวกกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฟื้นตัวขึ้น ผู้บริหารคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะยังทรงตัว 0.5% เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจแม้ประเทศ ใหญ่ๆ จะมีทิศทางดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นก็ตาม ในด้านค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าจะอ่อนค่าลงไปอีก ซึ่งจะเป็นคุณต่อภาคการส่งออกและธุรกิจการท่องเที่ยวของไทย
  • ธนาคารยืนยันว่ามีการตั้งสำรองที่รัดกุมต่อความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น โดยยังคงเป้าหมายทางการเงินหลักๆ สำหรับปี 2022 ตามเดิม ได้แก่ 1) การเติบโตของสินเชื่อที่ 4%-6% 2) อัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL ratio) ที่น้อยกว่า 4% 3) อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ที่ 2.1% 4) การเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมที่ทรงตัว 5) อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ที่ 50% และ 6) ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญที่ 2.6 หมื่นล้านบาท
  • สินเชื่อภายใต้มาตรการช่วยเหลือค่อนข้างทรงตัวที่ 11% ของสินเชื่อทั้งหมดใน 1Q22

ทิศทางการเติบโตยังมั่นคงแม้มีการปรับลดประมาณการกำไรลงก็ตาม

  • ให้น้ำหนักเป็นกลางต่อการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวันที่ 5 พ.ค. โดยไม่มีความกังวลเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานของธนาคาร เพราะมีงบดุลแข็งแกร่งด้วยฐานเงินทุนที่แน่น และมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เพียงพอต่อความไม่แน่นอนในอนาคต แต่คาดว่าตลาดทุนจะผันผวนมากกว่าที่คาดเอาไว้ สืบเนื่องจากความผันผวนจากกรณีรัสเซีย-ยูเครนและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทั้งนี้มีการปรับสมมติฐานรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยสำหรับปี 2022-24 ลง 4% เพราะกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่ปรับลดลงตามมูลค่ายุติธรรมที่บันทึกผ่านงบกำไร/ขาดทุน (PVTPL) และภาษีจ่ายที่สูงขึ้น
  • เพื่อสะท้อนประเด็นข้างต้น จึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-24 ลง 4%-5% แต่คาดว่ากำไรสุทธิของธนาคารจะยังเติบโตแข็งแกร่งที่ 15% YoY ในปี 2022 และโตต่อเนื่อง 11% ในปี 2023 โดยการเติบโตดังกล่าวจะได้แรงหนุนจากกาตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้นจากสินเชื่อที่โตต่อเนื่อง
  • คาดกำไร 2Q22 จะมีความยืดหยุ่นต่อสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเติบโตทั้งในเชิง YoY และ QoQ  โดยคาดว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนจากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และรายได้การดำเนินงานที่สูงขึ้นจากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจมากขึ้นในช่วงถัดๆ ไป

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 7.1 พันล้านบาท โตขึ้น 3% YoY (+13% QoQ) และต่ำกว่าคาด 9% เพราะกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่ลดลงตามมูลค่ายุติธรรมที่รับรู้ผ่านงบกำไรขาดทุน แม้รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิจะลดลง แต่กำไรสุทธิที่โตขึ้น Yoy จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้นและค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลง ส่วนการเติบโตในเชิง QoQ เป็นผลจากการตั้งสำรองหนี้ฯ และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลง
  • อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ค่อนข้างทรงตัว QoQ ที่ 2.1% ขณะที่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ปรับลดลงเหลือ 49.8% ใน 1Q22 (4Q21: 54.6%) จากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลง
  • สินเชื่อค่อนข้างทรงตัว QoQ (+9.2% YoY) เพราะสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่โตขึ้นถูกหักลบโดยสินเชื่อระหว่างประเทศที่เบาบาง
  • คุณภาพสินเชื่อทรงตัว NPL ratio ใน 1Q22 เพิ่มเป็น 3.3% ขณะที่อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มเป็น 229% สูงสุดในบรรดาธนาคารขนาดใหญ่ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นกันชนต่อความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น
  • แม้ผลประกอบการ 1Q22 จะต่ำกว่าคาด แต่กำไรจากการดำเนินงานปกติของธนาคารค่อนข้างสอดคล้องกับคาดการณ์ ยังคงคาดว่ากำไรสุทธิของธนาคารจะโต 20% YoY ในปี 2022 จากการตั้งสํารองหนี้ที่ลดลงและรายได้การดำเนินงานที่สูงขึ้น

Revenue breakdown

รายได้ของธนาคารมาจาก

(1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 82% ของรายได้รวมของธนาคารในปี 2021 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิถือเป็นรายได้หลัก หากการเติบโตของสินเชื่อของธนาคารและ NIM สูง รายได้นี้จะเติบโตสูงไปด้วย

(2) รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ 22% ของรายได้รวมในปี 2021 โดยรายได้จากส่วนนี้ประกอบด้วยรายได้ค่าธรรมเนียมในการจัดการสินทรัพย์ และค่าธรรมเนียมวาณิชธนกิจ

(3) รายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ 17% ของรายได้รวมในปี 2021 โดยรายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ ส่วนใหญ่มาจากกำไรจากการลงทุนการซื้อขาย และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และรายได้เงินปันผล

- Advertisement -