บล.พาย:
CHG: คาดกำไร 1Q22 แข็งแกร่งท่ามกลางยอดโควิดที่พุ่งขึ้น
คงคำแนะนำ “ถือ” มูลค่าพื้นฐาน 3.90 บาท อิง 15xPE’22E หรือใกล้เคียง -2SD ต่อค่าเฉลี่ย 10 ปี แม้กำไรปี 2022 มีแนวโน้มขาลง แต่แนะนำให้หาจังหวะเทรด เพราะมีสัดส่วนกิจการเกี่ยวกับเคสโควิด-19 สูง บวกกับมีโรงพยาบาล 2 แห่งที่อยู่ในช่วงทำกำไร และมีราคาหุ้นที่ไม่แพงคอยเป็นปัจจัยหนุนโมเมนตั้มราคาหุ้น
- ประเมินกำไร 1Q22 ที่ 1.3 พันล้านบาท (+418%YoY, -28%QoQ) คือจุดสูงสุดของปี หนุนจากรายได้เคสโควิด-19 ที่โตขึ้น YoY ส่วนที่ลดลง QoQ เป็นผลจาก EBIT margin ที่อ่อนตัวลง
- เชื่อว่ากำไรจะชะลอตัวลงใน 2Q22 จากส่วนแบ่งเคสโควิด-19 ที่น้อยลง สืบเนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่ลดลง และการยุติเงื่อนไขการตรวจเชื้อแบบ RT-PCR
- คงมุมมองเป็นกลางหลังจากคาดว่ากำไรปี 2022-23 จะลดลง 33%/46% ตามลำดับ สืบเนื่องจากรายได้เคสโควิด-19 ที่ลดลงจนเป็นศูนย์ในปี 2023
เริ่มต้นปี FY2022 ได้ดี
- ประเมินกำไร 1Q22 1.3 พันล้านบาท (+418%YoY, -28%QoQ) คือจุดสูงสุดของปี
- ที่โตขึ้นแข็งแกร่ง YoY หนุนจากรายได้เคสโควิด-19 ที่สูงขึ้น ส่วนที่ลดลง QoQ เป็นผลจาก EBIT margin ที่อ่อนตัวลงหลังปรับค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ใน 4Q21
- คาดรายได้ 1Q22 ที่ 3.9 พันล้านบาท (+179%YoY, +2%QoQ) การเติบโต YoY มีแรงหนุนจากรายได้เคสโควิด-19 ที่สูงขึ้นจากยอดผู้ติดเชื้อที่พุ่งขึ้นจากสถานการณ์ของสายพันธุ์โอมิครอน แต่ทรงตัว QoQ จากการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่ลดลง ที่น่าจะเป็นกันชนต่อปริมาณที่สูงขึ้นนอกเหนือจากอุปสงค์สะสมจากบริการหลัก
- คาดอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ลดลง 13ppts QoQ หลังปรับลดอัตราการเบิกจ่ายค่าเคสโควิด-19
- ขณะที่ประเมินว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายจะเพิ่มเป็น 7% จาก 3% ใน 4Q21 เพราะไม่มีการปรับตัวเลขชดเชย
สัญญาณการชะลอตัวของกำไรใน 2Q22
- คาดถึงทิศทางกำไรที่อ่อนแอใน 2022 จากเคสโควิด-19 ที่ลดลง หรือไต่ระดับค่าเฉลี่ยที่ 2 หมื่น-9 พันเคส/วัน (เม.ย.-พ.ค.) แต่คาดโตขึ้น YoY จากบริการหลักที่แข็งแกร่งขึ้น
- ประเมินกำไร 2Q22 จะลดลง QoQ หลังจากไทยเลิกใช้เงื่อนไขการตรวจ RT-PCR สำหรับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. เป็นต้นไป
Revenue breakdown
CHG มีแหล่งรายได้หลัก 2 ทางคือ 1) คนไข้ทั่วไป และ 2) คนไข้ประกันสุขภาพที่คุ้มครองโดยรัฐบาล กลุ่มคนไข้ทั่วไปแบ่งออกเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD) คิดเป็น 21% ของรายได้ทั้งหมด
ส่วนกลุ่ม IPD คือบริการทางการแพทย์สำหรับคนไข้ที่ต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งคิดเป็น 15% ของรายได้ทั้งหมด ปัจจุบันมีกำลังรองรับ 755 เตียง ด้วยห้องประเภทต่างๆ เช่น VIP ดีลักซ์ ห้องเตียงเดี่ยว ห้องเตียงคู่ ห้องเตียงพิเศษ ห้อง ICU ห้อง CCU และห้องทารกภาวะวิกฤต (NICU)
ทั้งยังให้บริการทางการแพทย์กับคนไข้ที่ลงทะเบียนในโครงการประกันสุขภาพของรัฐบาล เช่น ประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งคิดเป็น 16% และ 48% ของรายได้ทั้งหมด ตามลำดับ