บล.พาย:
BCPG: กำไรจากการขายสินทรัพย์หนุนกำไร 1Q22
กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท (+160% YoY, 473% QoQ) แตะจุดสูงเป็นประวัติการณ์ เพราะกำไร พิเศษครั้งเดียว 1.6 พันล้านบาท หลังทำการขายสินทรัพย์โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพขนาด 158 Mwe ในอินโดนีเซีย ผลประกอบการโดยรวมถือว่าสอดคล้องกับคาดการณ์และคิดเป็น 35% ของประมาณการทั้งปี
- หากไม่รวมรายการพิเศษครั้งเดียว (กำไรการขายสินทรัพย์และขาดทุนการด้อยค่าสินทรัพย์) กำไรปกติจะอยู่ที่ 517 ล้านบาท (+6% YoY, -11% QoQ)
- การเติบโตขึ้น YoY ได้แรงหนุนมาจากธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังน้ำในลาวที่ปรับดีขึ้น และการรับรู้ยอดขายเต็มไตรมาสครั้งแรกจากโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาด 20MW ในญี่ปุ่น (เริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (COD) ใน 4Q21) ส่วนที่ลดลง QoQ เป็นผลจากช่วง low season ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซียที่ปรับลดลง
- คาดกำไรปกติ 2022 จะลดลงทั้ง YoY และ QoQ จากการขาดหายไปของส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซียที่ทำการขายสินทรัพย์ไปใน 1Q22
คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 16.5 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC 5.1%, TG 1%) อิง 20xPE’22E บริษัทมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งด้วยเงินสด 2.5 หมื่นล้านบาท และอัตราส่วนหนี้สินต่อเงินทุน (D/E) ที่ 1 เท่า ซึ่งเอื้อต่อการลงทุนในโครงการใหม่และช่วยหนุนทิศทางหุ้นได้
สรุปผลประกอบการ
- กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท (+160% YoY, 473% QoQ) หนุนจากกำไรพิเศษครั้งเดียว 1.6 พันล้านบาท หลังทำการขายสินทรัพย์โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพขนาด 158 Mwe ในอินโดนีเซีย
- ผลประกอบการโดยรวมถือว่าสอดคล้องกับคาดการณ์และคิดเป็น 35% ของประมาณการทั้งปี
- หากไม่รวมรายการพิเศษครั้งเดียว (กำไรการขายสินทรัพย์และขาดทุนการด้อยค่าสินทรัพย์) กำไรปกติจะอยู่ที่ 517 ล้านบาท (+6% YoY, -11% QoQ)
- การเติบโตขึ้น YoY ได้แรงหนุนมาจากธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังน้ำในลาวที่ปรับดีขึ้น และการรับรู้ยอดขายเต็มไตรมาสครั้งแรกจากโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ Chiba 1 ขนาด 20MW ในญี่ปุ่น (เริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (COD) ใน 4Q21)
- ส่วนที่ลดลง QoQ เป็นผลจากช่วง low season ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Nam san 3A & 3B และส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซียที่ปรับลดลง
- ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมทรงตัว YoY ที่ 142 ล้านบาท แต่ลดลง 7% QoQ จากส่วนแบ่งของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ลดลง
Revenue breakdown
ธุรกิจหลักของบริษัท คือ การผลิตพลังงานจากพลังงานทดแทน รวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์ พลังลม พลังน้ำ และความร้อนใต้พิภพ บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 181MW ในประเทศไทย โดยจำหน่ายไฟฟ้าให้กับ กฟภ. และ กฟผ. ซึ่งรายได้ 70% ของบริษัทนั้นมาจากการขายไฟฟ้าในประเทศ
และบริษัทย่อยของบริษัทเป็นเจ้าของและดำเนินงานธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่น มีกำลังการผลิตรวม 34.7MW ซึ่งคิดเป็น 5% ของรายได้รวม อีกทั้งบริษัทได้ขยายการดำเนินงานไปยังประเทศลาวในปี 2019 มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 114MW ซึ่งรายได้ส่วนนี้คิดเป็น 24% ของรายได้รวม
บริษัทยังได้ร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานลม 36MW ในฟิลิปปินส์ (สัดส่วนการถือหุ้น 40%) แต่ขายเงินลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซียไปใน 1Q22