สรุปภาวะตลาด
วันพุธที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบ ตลอดช่วงการซื้อ-ขาย ดัชนีปรับตัวลงราว -9 จุด แรงขายมีมากในหุ้นกลุ่มค้าปลีกและธนาคาร ส่วนแรงซื้อมีเข้ามาในหุ้นที่ประกาศงบออกมาดีกว่าตลาดคาด โดยตลาดหุ้นในภูมิภาคมีท้ังปรับตัวขึ้น และปรับตัวลง นักลงทุนติดตามตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐเดือนเม.ย. ที่จะรายงานในวันที่ 11 พ.ค. โดยตลาดคาด +8.1%YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +8.5% ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,613.34 จุด -9.44 จุด -0.58% มูลค่าการซื้อขาย 71,693 ลบ. ต่างชาติ -2,928.07 ลบ. TFEX -3,811 สัญญา ตราสารหน้ี +6,144.66 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI พุ่งขึ้น 5.95 ดอลลาร์ +6% ปิดที่ 105.71 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีรายงานว่าการขนส่งก๊าซจากรัสเซียไปยังยุโรปโดยผ่านทางยูเครนมีปริมาณลดลง เนื่องจากยูเครนปิดเส้นทางหลักในการลำเลียงขนส่ง ทำให้ตลาดน้ำมันโลกเผชิญภาวะตึงตัวมากขึ้น
+ รัฐบาลสหรัฐจะยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดการพุ่งขึ้นของราคาสินค้าผู้บริโภคในสหรัฐ
+ นิวซีแลนด์จ่อเปิดประเทศเร็วกว่ากำหนด เล็งฟื้นเศรษฐกิจจากพิษโควิด-19
+ สธ.วางนโยบายรับมือโควิดสู่โรคประจำถิ่น ชู Smart อสม.ยกระดับงานแบบเรียลไทม์
+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 8,019 ราย มีผู้เสียชีวิต 59 ราย รักษาหาย 8,807 ราย
ปัจจัยลบ –
– ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 326.63 จุด -1.02% ขณะที่ ดัชนี Nasdaq ดิ่งลงกว่า 3% หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อสูงกว่าคาดทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
– สหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 8.3%YoY ในเดือนเม.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.1% แต่ต่ำกว่าระดับ 8.5% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2524
– มอร์แกน สแตนลีย์เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นในเอเชียและกลุ่มตลาดเกิดใหม่กำลังเข้าสู่ช่วงท้ายของภาวะตลาดหมี (Bear Market) อย่างไรก็ดี คาดว่าผลประกอบการและมูลค่าหุ้นของบริษัทจดทะเบียนยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะเรียกว่าเป็นการพลิกฟื้น
– กกร.คงคาดการณ์ GDP ปีนี้โต 2.5-4% คาดเงินเฟ้อ โอกาสพุ่งถึง 5.5% ห่วงปัจจัยเสี่ยงกดดันช่วงที่เหลือของปีนี้ เสนอ 9 มาตรการดูแลเศรษฐกิจและประชาชน เสนอลดภาษีน้ำมันตรึงดีเซล 35 บาท/ลิตร 3 เดือน เร่ง คนละครึ่งเฟส 5 ปรับค่าจ้างตามความเหมาะสมพื้นที่
– ทีดีอาร์ไอ สภาพัฒน์ กฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ คัดค้านแก้ พ.ร.บ.ประกันสังคมที่ให้นำเงินสะสมกรณีชราภาพออกมาใช้ ชี้ผิดหลักการประกันสังคม เสี่ยงเงินออมตอนสูงอายุลดลง
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสอ่อนตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อสูงกว่าคาด โดยคาดว่ากลุ่มพลังงานจะสามารถพยุงตลาดได้บางส่วน หลังราคาน้ำมันดิบ WTI ดีดตัวขึ้นแรง คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,600-1,620 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- กรณีสงครามยืดเยื้อ ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง บวกต่อ PTTEP PTTGC TOP, สินค้าเกษตร ข้าวสาลี และ กากถั่วเหลืองขึ้น เป็นบวกต่อ TMILL TVO และเป็นลบต่อธุรกิจอาหารสัตว์ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น CPF GFPT ASIAN
- ศบค.ยกเลิกตรวจ RT-PCR มีผล 1 พ.ค. นี้ : AOT ERW CENTEL MINT AWC
- หุ้นที่ได้ประโยชน์จากอากาศร้อน SNC KOOL SAPPE ICHI TACC
- ตัวเลขส่งออกเดือนมี.ค.ขยายตัว เงินบาทอ่อนค่า TWPC ASIAN XO SNC PIMO
หุ้นรายงานพิเศษ
CPN (ซื้อเมื่ออ่อนตัว – Bloomberg Consensus 66.25 บาท) : กำไรสุทธิ 1Q65 ฟื้นตัวต่อเนื่อง
- 1Q65 มีรายได้รวม 8,208 ล้านบาท +23%YoY ทรงตัว QoQ จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ในทุกธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจให้เช่าที่มีสาขาศรีราชาและอยุธยาเปิดบริการเต็มไตรมาส เซ็นทรัล วิลเลจ เฟส 2 เปิดบริการ สาขาพระราม 2 เปิดบริการ และส่วนแบ่งกำไรจาก SF รวมทั้งการให้ส่วนลดค่าเช่าลดเหลือ 16% อัตรากำไรขั้นต้นปรับดีขึ้นเป็น 49% จาก 45% ใน 1Q65 และ 4Q64 จากธุรกิจโรงแรมที่มีอัตราเข้าพักดีขึ้นสู่ 49% จาก 28% ใน 1Q64 EBITDA margin ปรับขึ้นสู่ 60% จาก 57% ใน 1Q64 และ 54% ใน 4Q64 คชจ.ที่ลดลงส่งผลให้ %SG&A ลดเหลือ 16% จาก 19% และ 20% ใน 1Q64 และ 4Q64 ตามลำดับ ส่งผลให้มีกำไรสุทธิ 2,328 ล้านบาท -39%YoY +28%QoQ (กำไรปกติ 2,158 ล้านบาท +72% YoY +27%QoQ)
- ความเห็น :ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเป็นบวกจากการเปิดโครงการต่อเนื่อง หนุนรายได้มีศักยภาพเติบโตเนื่องปี 65 เปิดบริการสาขาจันทบุรี (26 พ.ค.) ปี 66 เปิด บริการใหม่สาขาราชพฤกษ์ คาดผลการดำเนินงานในช่วง 2H65 ฟื้นตัวดีชัดเจน Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 65 เฉลี่ย 8,888 ล้านบาท +24%YoY ราคาปัจจุบันเหลือ upside ไม่มาก ขณะที่ราคาหุ้นซื้อขายที่ P/E 39 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ระดับ 22 เท่า แนะนำซื้อเมื่ออ่อนตัว
หุ้นมีข่าว
(+) ALL (ราคาเหมาะสม 1.68 บาท) ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ตั้งเป้าเทิร์นอะราวด์ พร้อมยกระดับสู่ “โฮลดิ้ง คอมพานี” แตกไลน์ 3 ธุรกิจใหม่ AMC บริหารหนี้ และคาร์บอนเครดิต รับกระแสเมกะเทรนด์หนุนโตก้าวกระโดด พุ่งเป้าดันมาร์เก็ตแคปแตะ 3 หมื่นล้านบาท ภายใน 3 ปี (ที่มา ทันหุ้น)
ความเห็น เรามีมุมมองบวกจากการปรับโครงสร้างบริษัท และการรุกเข้าทำธุรกิจ AMC บริหารหนี้ คาดจะ ช่วยเสริมรายได้จากธุรกิจอสังหาฯ ที่ยังไม่ฟื้นตัว ประกอบกับธุรกิจ AMC บริหารหนี้ มีอัตราการทำกำไรสุทธิ ค่อนข้างสูง (CHAYO JMT BAM) เฉลี่ย 20-30% เทียบกับธุรกิจเดิมที่ราว 10-15% ประกอบกับ P/E กลุ่มบริหารหนี้เทรดกันที่ระดับ 40% เทียบกับธุรกิจเดิมที่ 10x ดังนั้น การปรับโครงสร้างครั้งนี้จะทำให้ความสามารถทำกำไรของบริษัทดีขึ้น และตลาดอาจให้น้ำหนัก P/E หุ้น ALL สูงขึ้น
(+) ASIAN (Bloomberg Consensus 23.35 บาท) ปรับเป้ารายได้ปีนี้โต 19% จากเดิมตั้งเป้าโต 12% หลังไตรมาสแรก มีกำไร 248 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% มีรายได้จากการขายและบริการอยู่ที่ 2,837 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% ชูอาหารสัตว์เติบโตแรง บวกรับอานิสงส์ค่าเงินบาทอ่อน ส่วนบริษัทย่อย AAI คาดเข้าตลาดหุ้นปลายไตรมาส 3-4 ปีนี้ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) DOHOME (Bloomberg Consensus 22.75 บาท) เล็งไตรมาส 2/2565 ยอด SSSG ยังสูง 19-20% ลุยเปิดสาขาเพิ่มปีละ 5 สาขา ครอบคลุมพื้นที่ศักยภาพทั่วประเทศ เชื่อแตะ 36 สาขา ภายในปี 2568 ขยายสินค้าที่เป็นแบรนด์ของบริษัทเองไปที่ระดับ 2,000 SKU หนุนสัดส่วนรายได้ แตะ 18% ดันมาร์จิ้นพุ่ง โบรกคาดครึ่งปีหลังเติบโตสูง (ที่มา ทันหุ้น)
(+) UTP (Bloomberg Consensus 18.15 บาท) ดีมานด์ใช้กล่องบรรจุภัณฑ์โตต่อเนื่อง หนุนผลงานครึ่งปีแรกแจ่ม เดินหน้าขยายฐานลูกค้าใหม่ EEC แย้มครึ่งปีหลังโตต่อจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น 20% ดันผลงานปี 2565 เติบโตเข้าเป้า 4.5 พันล้านบาท รับต้นทุนวัตถุดิบยังคงมีแนวโน้มความผันผวนในระดับสูงอยู่ กดดันมาร์จิ้นแต่คุมได้ คาดแนวโน้มไตรมาส 2/2565 ฟื้นตัวต่อเนื่อง (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส. อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
- 17 พ.ค. สภาพัฒน์ แถลงตัวเลข GDP 1Q65 วันสุดท้ายส่งงบการเงิน 1Q65
- 18 พ.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3/2565
- สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออก-นําเข้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไท (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์
- 31 พ.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 12 พ.ค. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน เม.ย.
- 13 พ.ค. สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขั้นต้นเดือนพ.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
- 16 พ.ค. จีน รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนเม.ย.
อียู รายงานดุลการค้าเดือนมี.ค. สหรัฐ รายงานดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ค.จาก เฟดนิวยอร์ก