เงินเฟ้อสหรัฐฯ สูงกว่าคาด แต่น่าจะยืนยันภาพการผ่านจุดสูงสุดแล้ว

สหรัฐฯ รายงานเงินเฟ้อ (CPI) เม.ย.ที่ 8.3% YoY สูงกว่าคาดที่ 8.1% แต่ลดลงจาก มี.ค.ที่ 8.5% 

  • หุ้นสหรัฐฯ หุ้นฟื้นตัวก่อนปรับลดลง ทั้งนี้เราประเมินความผันผวนมาจาก 1) ความกังวลว่าธนาคาร ชกลางสหรัฐฯ จะขึ้นดอกเบี้ยในอัตราเร่งเพื่อคุมเงินเฟ้อ 2) การบังคับขายหลังหุ้นปรับตัวลงต่อเนื่อง 3) แรงขายกระจายในหุ้นใหญ่ จากการปรับพอร์ตของกองทุน ETF และ 4) ความกังวลว่าผลกระทบจากตลาดเงินดิจิทัล จะกระทบกับสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน หรือกระทบต่อสถานะการลงทุน ทำให้นักลงทุนเพิ่มความระมัดระวังและลดการถือสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้น // ทั้งนี้เรามองนักลงทุนส่วนใหญ่น่าจะมีการปรับสถานะการลงทุนรับดอกเบี้ยขาขึ้น และการลดงบดุลของเฟดไปพอสมควรแล้ว ดังนั้นการปรับลดลงของตลาดจากนี้จากปัจจัยภายนอกเช่นความกังวลผลกระทบจากสกุลเงินดิจิทัล ขณะที่ตลาดปรับลดลงจนเริ่มเข้าใกล้ 1/3 ของกรอบล่างการซื้อขายที่เราประเมินที่ 1,540-1,730 จุด ดังนั้นแม้ตลาดหุ้นอาจจะยังมีความเสี่ยงทางลง (downside) แต่เรามองโอกาสลงทุนจะเริ่มเปิดขึ้นในหุ้นรายตัว
  • เกิดอะไรขึ้นกับตลาดสกุลเงินดิจิทัล? สกุลเงินดิจิทัล UST ที่มีกลไกรักษามูลค่า (stable coin) ที่ตรึงให้ 1UST เท่ากับ 1 USD ถูกโจมตีด้วยการขายชอร์ตอย่างหนัก จนสูญเสียความสามารถในการตรึง (peg) มูลค่า และที่สุดสูญเสีญเงินทุนสำรองที่เป็นเหมือนหลักประกันมูลค่าอีกชั้น ทำให้นักลงทุน เสียความเชื่อมั่นจนมูลค่าลดลงไปต่ำสุดที่ 1UST = 0.259 USD แม้จะเป็นปัญหาของเหรียญเดียว แต่ในระยะสั้นอาจสร้างแรงกระเพื่อมในตลาดเงินดิจิทัล เนื่องจาก 1) นักลงทุนจะกังวลปัญหาการโจมตีที่อาจเกิดกับเหรียญที่มีกลไกรักษามูลค่าตัวอื่นๆ 2) นักลงทุนนิยมนำเหรียญฯ ที่มีกลไกรักษามูลค่าไปวางเป็นหลักประกันในการกู้ยืม เพื่อใช้ประโยชน์จากการก่อหนี้ (leverage) ในการลงทุนหรือเก็งกำไรเหรียญอื่นๆ การด้อยค่าของหลักประกันทำให้จำเป็นต้องถูกบังคับให้ขายปรับสถานะการลงทุน สถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทหรือกองทุนที่มีการถือสินทรัพย์ดิจิทัล และกลุ่มเทคโนโลยีสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ประเมินปลกระทบต่อตลาดหุ้นนอกสหรัฐฯ ในระดับจำกัด

ประเด็นเก็งกำไรอื่น

1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE

2) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR

3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO

4) กลุ่มมีลุ้นเข้า SET50 ได้แก่ JMT, JMART

5) กอง REIT ได้แก่ FIREIT, WHART

6) ขณะที่หุ้นกลาง-เล็กที่สามารถเลือกเก็งกำไร (แบบกำหนดจุดตัดขาดทุน) ในช่วงนี้ ได้แก่ THREL, BLA, MAJOR, TH, SCN, SCI, CMR, TKN, SPA เป็นต้น

7) หุ้นกลุ่มเก็งราคาน้ำมันลง SCGP, BJC, EPG, SCC

8) หุ้นเด่นกลุ่มพลังงาน OR

ภาพรวมกลยุทธ์: ผันผวน 1,595-1,639 จุด หากปรับลงแรง SET จะเริ่มเข้าสู่โซนซื้อ ยังคงกลยุทธ์ แค่เก็งกำไรระหว่างรอจุดซื้อที่ดี (ธีมบาทอ่อน และผลตอบแทนพันธบัตรปรับลง) โดยเน้นในหุ้นใหญ่พื้นฐานดีที่ valuation ไม่แพงหรือกระแสเงินสดสูง ที่สามารถจำกัด downside risk ได้เป็นหลัก และใช้จังหวะปรับลดลงแรงในการทยอยซื้อหรือสะสมรายตัว

หุ้นแนะนำ: KCE, MTC, OR, ASIAN

แนวรับ: 1,600-1,605 / แนวต้าน : 1,630-1,644 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

ประเด็นการลงทุน

  • สถาบันวิจัยคาดอังกฤษจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงครึ่งปีหลัง – สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ (NIESR) เผยว่าอังกฤษจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 จากเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น
  • แบงก์ชาติมาเลเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% หวังสกัดเงินเฟ้อ – ธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 2% ไปอย่างเหนือความคาดหมาย จากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.75% เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
  • กกร.คงกรอบคาด GDP ปีนี้ 2.5-4% – คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 65 จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.5-4% ตามเดิม คงประมาณการการส่งออกจะยังขยายตัวในกรอบ 3-5% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัวในกรอบ 3.5-5.5%
  • คปภ. เริ่มแล้ว “ประกันภัยข้าวนาปี-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ปีการผลิต 65 – ค่าเบี้ยข้าวนาปี 1,925 ล้านบาท ค่าเบี้ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 224 ล้านบาท
  • ตลท.ให้ GSC ใช้เกณฑ์ Cash Balance – เริ่ม 12 พ.ค.-1 มิ.ย.65
  • คาดเข้า/ออก SET50 – คาดเข้า JMT, JMART / คาดออก RATCH, IRPC
  • คาดเข้า/ออก MSCI – คาดเข้า JMT, COM7 / คาดออก BGRIM, STGT

ประเด็นติดตาม: 12 พ.ค. – MSCI Rebalancing, US PPI, US Initial Jobless Claims / 16 พ.ค. – TH GDP Q1 / 17 พ.ค. – EU GDP Q1, US Retail Sales, US Industrial Production / 18 พ.ค. – EU CPI, US Building Permits / 19 พ.ค. – US Existing Home Sales

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

ประเด็นลงทุนสําหรับหุ้นแนะนำ

  • เก็งกำไร KCE* (69) : ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่า ตัดขาดทุน 58.75 บาท
  • เก็งกำไร MTC* (64) : รายงานกำไรดีกว่าคาด แนวโน้มผลประกอบการฟื้นตัวจากรายได้เกษตรกรที่ทยอยปรับดีขึ้น ตัดขาดทุน 42.50 บาท
  • เก็งกำไร OR* (31) : คาดผลประกอบการทยอยฟื้นตัวในช่วงสองถึงสามไตรมาสถัดไป ตัดขาดทุน 23.75 บาท
  • เก็งกำไร ASIAN* (19) : ได้ประโยชน์จากแนวโน้มเงินบาทที่อ่อนค่า ตัดขาดทุน 15.90 บาท

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

Market News & Factors

  • ตลาดหุ้นสหรัฐ: ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 5 ในวันพุธ (11 มี.ค.) ขณะที่ดัชนี Nasdaq ดิ่งลงกว่า 3% หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อสูงกว่าคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นยุโรป: ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันพุธ (11 พ.ค.) โดยปรับตัวขึ้นเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังได้แรงหนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน และหุ้นที่อ่อนไหวต่อเศรษฐกิจพุ่งขึ้น ขานรับสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อชะลอการขยายตัวในเดือนเม.ย. (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดปรับตัวขึ้นเล็กน้อย หลังนักลงทุนได้เข้าซ้อนซื้อหุ้นที่ร่วงลงอย่างหนัก ขณะที่ตลาดยังคงวิตกว่า มาตรการสกัดโควิด-19 ของจีนจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดน้ำมัน: สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้น 6% ยืนเหนือระดับ 105 ดอลลาร์ในวันพุธ (11 พ.ค.) หลังมีรายงานว่าการขนส่งก๊าซจากรัสเซียไปยังยุโรปโดยผ่านทางยูเครนนั้นมีปริมาณลดลง  เนื่องจากยูเครนปิดเส้นทางหลักในการลำเลียงขนส่ง โดยนักลงทุนมองว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะยิ่งทำให้ตลาดน้ำมันโลกเผชิญภาวะตึงตัวมากขึ้น (อินโฟเควสท์)
  • สหรัฐเผยดัชนี CPI พุ่ง 8.3% สูงกว่าคาดการณ์ ใกล้นิวไฮ 40 ปี: ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อพุ่งขึ้น 8.3% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.1% แต่ต่ำกว่าระดับ 8.5% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2524 (อินโฟเควสท์)
  • บิตคอยน์หลุด 30,000: นักลงทุนราว 40% ขาดทุนมูลค่าดิ่งลงเกือบ 55% จาก 69,000 ดอลลาร์ในเดือนพ.ย.2564 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (กรุงเทพธุรกิจ)
  • สถาบันวิจัยคาดอังกฤษจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในช่วงครึ่งปีหลัง: สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ (NIESR) เผยว่าอังกฤษจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 จากเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น (อินโฟเควสท์)
  • แบงก์ชาติมาเลเซียปรับขึ้น ดอกเบี้ย 0.25% สกัดเงินเฟ้อ: ธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 2% ไปอย่างเหนือความคาดหมาย จากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.75% เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ (อินโฟเควสท์)
  • กกร.คงกรอบคาด GDP ปีนี้ 2.5-4%: คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 65 จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.5-4% ตามเดิม คงประมาณการการส่งออกจะยังขยายตัวในกรอบ 3-5% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัวในกรอบ 3.5-5.5% (อินโฟเควสท์)
  • คปภ. เริ่มแล้ว “ประกันภัยข้าวนาปี-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ปีการผลิต 65: โดยค่าเบี้ยข้าวนาปี 1,925 ล้านบาท และค่าเบี้ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 224 ล้านบาท (กรุงเทพธุรกิจ)
  • ตลท.ให้ GSC ใช้เกณฑ์ Cash Balance: เริ่ม 12 พ.ค.-1 มิ.ย.65 (อินโฟเควสท์)
  • คาดเข้า/ออก SET50: คาดเช้า JMT, JMART / คาดออก RATCH, IRPC (UOB KayHian)
  • คาดเข้า/ออก MSCI: คาดเข้า JMT, COM7 / คาดออก BGRIM, STGT (ข่าวหุ้น)

Report & Corporate News

  • CPN Maintained BUY TP: 71.00 บาท: CPN ประกาศกำไรหลักเพิ่มขึ้น 72% yoy และ 28% qoq โดยทั้งกำไรสุทธิและกำไรหลักดีกว่าที่เราและตลาดคาดการณ์ไว้ เราเชื่อว่าโมเมนตัมการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของ CPN จะยังคงดำเนินต่อไปในปี 2022 นอกจากนี้เรายังคงมีมุมมองเป็นบวกเกี่ยวกับแนวโน้มกำไรในระยะยาวของ CPN และคาดการเติบโตกำไร 3 ปีจะอยู่ที่ 25% CAGR ในช่วงปี 2022-24 คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 71.00 บาท
  • CPALL Maintained BUY TP: 82.00 บาท: CPALL ประกาศกำไรสุทธิใน 1Q22 เป็นบวกที่ 3.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% yoy ซึ่งผลประกอบการเป็นไปตามประมาณการของเรา แต่ต่ำกว่าตลาดที่ 11% การเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่งใน 1Q22 ได้แรงหนุนหลักจากการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของธุรกิจ CVS และส่วนแบ่งรายได้จาก Lotus เราคาดว่าโมเมนตัม SSSG จะดำเนินต่อไปในเชิงบวกตลอดปี 2022 คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 82.00 บาท
  • MTC Maintained BUY TP: 64.00 บาท: MTC ประกาศกำไรสุทธิสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 1,376 ล้านบาท ใน 1Q22 (ทรงตัว yoy +25% gog) ซึ่งดีกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ เนื่องจากตั้งสำรองที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ 2Q22 เป็นต้นไป MTC จะตั้งค่าเพื่อสำรองที่สูงขึ้นเพื่อให้อัตราส่วน LLC กลับมาอยู่ที่ 130-150% เราเชื่อว่าหุ้น oversold จาก bond yield ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ Valuation ของ MTC นั้นถูกมาก คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 64.00 บาท
  • TOP Maintained BUY TP: 65.00 บาท: กำไรสุทธิใน 1Q22 ของ TOP เป็นไปตามประมาณการของเราและตลาด เนื่องจาก GRM ที่ดีขึ้น คาดกำไร 2Q22 จะเป็นไตรมาสสูงสุดในปี 2022 จาก GRM ที่แข็งแกร่งจากความต้องการที่แข็งแกร่ง พร้อมกับการกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง นับตั้งแต่เราปรับอันดับเรตติ้งสำหรับ TOP ราคาหุ้นก็เพิ่มขึ้น 27% ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาและสะร้อนถึงปัจจัยบวกทั้งหมดแล้ว เพิ่ม OR เป็นหนึ่งใน Top Pick ของเรา เนื่องจากเป็นหนึ่ง ในผู้รับผลประโยชน์หลักของนโยบาย Gas to Oil Switching คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 65.00 บาท
- Advertisement -