สรุปภาวะตลาด

วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวกสลับลบ มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล อย่าง BDMS และ BH รวมถึงกลุ่มพลังงาน ส่วนแรงขายในหุ้น JTS ส่งผลต่อดัชนีราว -5 จุด นักลงทุนชะลอการซื้อ-ขาย ก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาว ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,584.38 จุด -0.14 จุด -0.01% มูลค่าการซื้อขาย 75,432 ลบ. ต่างชาติ -1,335.05 ลบ. TFEX +4,249 สัญญา ตราสารหน้ี -1,128.89 ลบ.

ปัจจัยบวก+ 

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 26.76 จุด +0.08% ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดในแดนลบ หลังจากจีนเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาซึ่งเพิ่มความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ โลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI พุ่งขึ้น 3.71 ดอลลาร์ +3.4% ปิดที่ 114.20 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีรายงานว่าเซี่ยงไฮ้วางแผนยุติมาตรการล็อกดาวน์ 1 มิ.ย. ทำให้นักลงทุนมีมุมมองบวกว่าความต้องการใช้น้ำมันในจีนจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

+ รัฐบาลกรุงปักกิ่งปฏิเสธข่าวลือเกี่ยวกับการล็อกดาวน์ และเตือนให้ประชาชนอย่าเพิ่งเร่งกักตุนอาหาร

+ IMF ปรับเพิ่มน้ำหนักการถือครองเงินหยวนและดอลลาร์สหรัฐ ในตะกร้าสกุลเงิน SDR ของ IMF โดยปรับเพิ่มน้ำหนักสกุลเงินดอลลาร์ขึ้นสู่ระดับ 43.38% จากระดับ 41.73% และเพิ่มน้ำหนักเงินหยวนสู่ระดับ 12.28% จากระดับ 10.92%

+ ส.อ.ท. ร่วมกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย เพื่อกำหนดทิศทางพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้อุตฯ ไฟฟ้าฯ ของไทยมีศักยภาพ และมีความพร้อมก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลเทียบเท่าระดับสากล

+ สภาพัฒน์รายงาน GDP 1Q65 ขยายตัว 2.2% ดีกว่าโพลล์ คาดการณ์ที่ 2.1% ฟื้นตัว QoQ และ YoY 4Q64 1.9%, 3Q64 GDP -0.3%, 2Q64 7.5%, 1Q64 -2.6%

+ ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 3,893 ราย มีผู้เสียชีวิต 38 ราย รักษาหาย 7,323ราย

ปัจจัยลบ-

– จีนรายงานว่า ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ร่วงลง 11.1% ในเดือนเม.ย. แย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 6.1% ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.ลดลง 2.9% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4%

– นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ  (เฟด) เตือนว่าการควบคุมเงินเฟ้ออาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ แต่ก็ยังคงเป็นภารกิจที่เขาให้ความสำคัญสูงสุด

– รัฐบาลฟินแลนด์ออกแถลงการณ์ว่าจะเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ซึ่งนับเป็นการตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศ แม้มีความเสี่ยงที่จะเผชิญความขัดแย้งกับรัสเซียก็ตาม

– โกลด์แมน แซคส์คาด GDP สหรัฐ 2.4% ในปี 2565 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ระดับ 2.6% และคาด GDP ปี 2566 เพียง 1.6% จากเดิม 2.2%

– สภาพัฒน์ ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 65 โต 2.5-3.5% จากเดิมคาดโต 3.5-4.5%

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาส Rebound ระยะสั้น โดยนักลงทุนขานรับสัญญาณที่บ่งชี้ว่าภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ อาจแตะระดับสูงสุดแล้ว ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้นแรงหนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,580-1,590 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ชะลอตัวลง : AOT ERW CENTEL MINT AWC
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จากอากาศร้อน SNC KOOL SAPPE ICHI TACC
  • ตัวเลขส่งออกเดือนมี.ค.ขยายตัว+เงินบาทอ่อนค่า TWPC ASIAN XO SNC PIMO
  • MSCI ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 31 พ.ค.
    • MSCI Global Standard Index : เข้า JMT ออก STGT
    • MSCI Global Small Cap: เข้า ASK BYD DITTO FORTH KEX PSG SABUY STGT STARK VIBHA ออก EASTW JMT
  • อินเดียผู้ส่งออกข้าวสาลีมากที่สุดอันดับ 2 ของโลก สั่งห้ามส่งออกข้าวสาลี TMILL

หุ้นรายงานพิเศษ

SMPC (Bloomberg Consensus 15.35 บาท) “รายงานกำไร 289 ลบ. ดีกว่าคาดอย่างมีนัยสำคัญ +153%YoY และ +6%QoQ”

  • กำไรเติบโตได้รับแรงหนุนจากรายได้ที่เติบโต 70%YoY 1.54 พันลบ. เนื่องจากมีการส่งมอบถังแก๊สเพิ่มขึ้น และ ราคาขายปรับตัวขึ้นตามราคาเหล็ก ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นจาก 21.5% สู่ 26.8% โดยได้แรงหนุนจากราคาเหล็กที่ปรับตัวขึ้น ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง และการมุ่งเน้นผลิตถังขนาดใหญ่ซึ่งมีคู่แข่งน้อย อีกทั้งค่าระวางเรือเริ่มปรับลดลงทำให้สามารถส่งมอบสินค้าได้เพิ่มขึ้น
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อผลประกอบการตั้งแต่ 2Q65 เป็นต้นไป เนื่องจากค่าเงินบาทยังอ่อนค่าต่อเนื่อง และค่าระวางเรือเริ่มปรับตัวลงทำให้สามารถส่งมอบสินค้าได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังมุ่งเน้นผลิตถังขนาดใหญ่ซึ่งมีคู่แข่งน้อยช่วยหนุนอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มเติม เราคาดว่า Bloomberg จะปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 65 ขึ้น เนื่องจากกำไร 1Q65 คิดเป็น 40% ของประมาณกำไรปี 65 เราจึงแนะนำซื้อ

หุ้นมีข่าว

(+) CBG (Bloomberg Consensus 109.50 บาท) รายได้ดิสทริบิวเตอร์พุ่งกระฉูด 100% ชี้เป็นธุรกิจมาแรงหน่วยรถเงินสด 300 คัน เข้าถึง 1.8 แสนร้านค้า ขณะที่ขวดแก้วขายดี โต 305% ช่วยดันรายได้เพิ่มขึ้น 18.7% แม้ยอดเครื่องดื่มลดลง ผ่านจุดต่ำสุดไตรมาส 2 ฟื้น เคลียร์ส่งออกจีนเรียบร้อย มั่นใจปีนี้โต 50% ขณะที่ต้นทุนลดลงแล้ว (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ORI (Bloomberg Consensus 14.30 บาท) ผลงาน Q2/2565 เด้งแรง เตรียมโอนคอนโดหรูมูลค่ากว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ส่วนผลงาน Q1/2565 กวาดรายได้รวมกว่า 3,776 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 738 ล้านบาท เผยกลุ่มทุนต่างชาติมั่นใจร่วมทุนต่อ ด้านธุรกิจโรงแรมภายใต้วัน ออริจิ้น แนวโน้มรับรู้รายได้เพิ่มหลังคว้าโรงแรมไอบิส 3 แห่ง คาดหนุนรายได้แตะ 17,500 ล้านบาท ตามเป้า ฟากโบรกมองไตรมาส 2/2565 กลับมาฟื้นตัวเด่นจากการเริ่มโอนโครงการ JV ขนาดใหญ่ ผลงานครึ่งปีหลัง สดใส (ที่มา ทันหุ้น)

(+) BE8 (Bloomberg Consensus 48.56 บาท) “เบริล 8 พลัส” ทุ่ม 620 ล้านบาท ควบรวมกิจการ X10 บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของไทย คาดกระบวนการแล้วเสร็จภายในส.ค.นี้ เสริมแกร่งการเป็นที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นแบบครบวงจร โชว์แบ็กล็อกล่าสุด 564 ล้านบาท รับรู้ปีนี้ 313 ล้านบาท จ่อประมูลงานอีก 569 ล้านบาท หนุนผลประกอบการปีนี้โตตามเป้า 50% (ที่มา ข่าว หุ้น)

(+) SCM (Bloomberg Consensus – บาท) มองไตรมาส 2/65 ยังสดใส แม้มีแรงกดดันภายนอก เล็งยอดขายผลิตภัณฑ์เกษตรกรแตะ 150 ล้านบาท เริ่มรับงาน OEM สร้างรายได้เสริมพอร์ต พร้อมลุยพัฒนาผลิตภัณฑ์เอเนอร์จี้ดริงก์-ซอฟต์เจล-อาหารเสริม CBD-ธุรกิจลีสซิ่ง จ่อเปิดตัวครึ่งปีหลังนี้ มั่นใจหนุนรายได้ปี 65 โต 20% ทุ่มงบขยายธุรกิจ 350 ล้านบาท (ที่มา ข่าวหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 17 พ.ค. สภาพัฒน์แถลงตัวเลข GDP 1Q65 วันสุดท้ายส่งงบการเงิน 1Q65
  • 18 พ.ค. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออก-นําเข้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์
  • 31 พ.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 17 พ.ค. อียู เปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 1Q65(ประมาณการครั้งที่ 2)

สหรัฐ รายงานยอดค้าปลีกเดือนเม.ย. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมี.ค. ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน พ.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB)

  • 18 พ.ค. อียู รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนเม.ย.

สหรัฐ รายงานสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)

  • 19 พ.ค. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีการผลิตเดือนพ.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเม.ย. จากคอนเฟอเรนซ์บอร์ด
- Advertisement -