ตลาดช่วงชั่งน้ำหนักความเสี่ยงจากการเติบโตและการฟื้นตัว

ตัวเลขเศรษฐกิจระยะสั้นมีแนวโน้มชะลอแต่ตลาดมีโอกาสผันผวนเชิงบวกสลับ จีนรายงานตัวเลขเศรษฐกิจเม.ย.ชะลอลง ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (-2.9% เทียบกับคาดการณ์ที่ 0,5%), ยอดค้าปลีก (-11.1% เทียบกับคาดการณ์ที่ -6.6%) จากผลของการล็อคดาวน์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของไทยและหลายประเทศในช่วงถัดไปมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงไตรมาส 2/65 อย่างไรก็ตาม บรรยากาศลงทุนระยะสั้นมีโอกาสผันผวนในเชิงบวกสลับ จาก 1) คาดการณ์ว่าทางการจีนเตรียมเข้าสู่การเริ่มผ่อนคลายการปิดเมือง 2) ผ่านพ้นแรงกดดันจากการประกาศผลประกอบการ ขณะที่การประกาศงบไตรมาสถัดไปยังอีก 1.5-2 เดือน 3) การฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบ เนื่องจากการเข้าสู่ฤดูกาลขับขึ้นของสหรัฐฯ และคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงต่อไป โดยเฉพาะหลังการคลายล็อคดาวน์ที่จีน

กลุ่มอาหารและเกษตรที่ยังขึ้นน้อยเริ่มน่าสนใจ ราคาอาหารทยอยปรับขึ้นหลังสถานการณ์ยูเครน ทำให้ทั้งปุ๋ย ข้าวสาลี ราคาน้ำมันดิบ และต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทั้งนี้ทิศทางราคาอาหารที่สูงขึ้น (food price inflation) จะทำให้ผู้ผลิตสามารถปรับเพิ่มราคาขายขึ้น และลดผลกระทบจากต้นทุนที่กดดันอัตรากําไรในช่วงก่อนหน้า ทำให้หุ้นกลุ่มอาหารและเกษตรที่ยังปรับขึ้นน้อยมีโอกาสเป็นเป้าหมายของการเพิ่มนํ้าหนักการลงทุน เป็นบวกต่อ TU, CPF, GFPT, TFG, KSL, ASIAN เป็นต้น

ประเด็นเก็งกำไรอื่น

1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE

2) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR

3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO

4) กลุ่มมีลุ้นเข้า SET50 ได้แก่ JMT, JMART

5) กอง REIT ได้แก่ FIREIT, WHART

6) ขณะที่หุ้นกลาง-เล็กที่สามารถเลือกเก็งกำไร (แบบกำหนดจุดตัดขาดทุน) ในช่วงนี้ ได้แก่ THREL, BLA, MAJOR, TH, SCN, SCI, CMR, TKN, SPA เป็นต้น

7) หุ้นกลุ่มเก็งราคาน้ำมันลง SCGP, BJC, EPG, SCC

8) หุ้นเด่นกลุ่มพลังงาน OR

ภาพรวมกลยุทธ์: ฟื้นตัวในกรอบ 1,580-1,600 จุด ยังมองหากปรับลงแรง (1,540 1,580) SET จะเริ่มเข้าสู่โซนซื้อ ยังคงกลยุทธ์แค่เก็งกำไรระหว่างรอจุดซื้อที่ดี ( มีบาทอ่อนและผลตอบแทนพันธบัตรปรับลง) โดยเน้นในหุ้นใหญ่พื้นฐานดีที่ valuation ไม่แพง หรือกระแสเงินสดสูงที่สามารถจำกัด downside risk ได้เป็นหลัก และใช้จังหวะปรับลดลงแรงในการทยอยซื้อหรือสะสมรายตัว

หุ้นแนะนำ CPF*, OR*, ICHI*, ASIAN*

แนวรับ: 1,580 / แนวต้าน : 1,600 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50% ประเด็นการลงทุน

ประเด็นการลงทุน

  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดรอบกว่า 10 ปี – ลงสู่ระดับ 59.1 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2554 และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 64.0
  • โกลด์แมนแซคส์หั่นคาดการณ์ศก.สหรัฐ – คาดเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 2.4% ในปี 2565 ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เต็มที่ระดับ 2.6% และคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2566 จะขยายตัวเพียง 1.6% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 2.2%
  • จีนเผยยอดค้าปลีก-การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง – สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ของจีนร่วงลง 11.1% ในเดือนเม.ย. ซึ่งย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 6.1% และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย.ลดลง 2.9% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4%
  • อินเดียสั่งห้ามส่งออกข้าวสาลี มีผลทันที – เนื่องจากอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่อันดับสองของโลก พยายามที่จะควบคุมราคาข้าวสาลีภายในประเทศ
  • สวีเดน-ฟินแลนด์ เข้าร่วมนาโต – โดยสวีเดนประกาศสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโตอย่างเป็นทางการหลังฟินแลนด์เข้าร่วมก่อนหน้านี้
  • ปลดล็อกต่างชาติ ขาช้อปทะลัก30% – “เดอมอลล์” เผยแค่วีคแรกทราฟฟิคเพิ่ม 30% มั่นใจเศรษฐกิจฟื้น ทำรายได้จากช้อปเทศแตะ 20%
  • แอร์ไลน์ทยอยเปิดเส้นทางบินรับท่องเที่ยว “ฟื้น” – นายกสมาคมสายการบินชี้ภาพรวมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจสายการบินเริ่มฟื้นตัวดีต่อเนื่อง เล็งเปิดเส้นทางบินระหว่างประเทศเพิ่มทั้ง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มัลดีฟส์
  • CBG เผย ”เสถียร เศรษฐสิทธิ์” ลาออกประธานบอร์ด – คงนั่ง CEO มีผล 14 พ.ค. 65 มีมติแต่งตั้งนางสาวณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ เป็นประธานกรรมการแทน
  • VIBHA ออกวอแรนต์ VIBHA-W4 – ให้ผู้ถือหุ้นเดิม 12:1 ราคาใช้สิทธิ 3 บ./หุ้น
  • คาดเข้า/ออก SET50 – คาดเข้า JMT, JMART, BLA /คาดออก RATCH, STGT, KCE

ประเด็นติดตาม: 17 พ.ค. – US Fed Chair Powell Speaks, EU GDP Q1, US Retail Sales, US Industrial Production / 18 พ.ค. – EU CPI, US Building Permits / 19 พ.ค. – US Existing Home Sales, US Initial Jobless Claims, US Fed Manufacturing Index, China PBOC Loan Prime Rate

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

ประเด็นลงทุนสําหรับหุ้นแนะนำ

  • เก็งกำไร CPF* (27) : แนวโน้มผลประกอบการฟื้นตัวจากการขึ้นราคาตาม food price inflation ตัดขาดทุน 23.50 บาท
  • เก็งกำไร OR* (31) : คาดผลประกอบการทยอยฟื้นตัวในช่วงสองถึงสามไตรมาสถัดไป ตัดขาดทุน 23.75 บาท
  • เก็งกำไร ICHI* (10) : แนวโน้มกำไรยังเดินหน้าแข็งแกร่ง ค่าใช้จ่ายภาษีไตรมาส 1/65 เป็นปัจจัยชั่วคราว ตัดขาดทุน 8.50 บาท
  • เก็งกำไร ASIAN* (19) : ผลประกอบการแข็งแกร่ง และได้ประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่า ตัดขาดทุน 16.70 บาท

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

Market News & Factors

  • ตลาดหุ้นสหรัฐ: ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเพียงเล็กน้อยในวันจันทร์ (16 พ.ค.) ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดในแดนลบ หลังจากจีนเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา ซึ่งเพิ่มความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นยุโรป: ตลาดหุ้นยุโรปปิดทรงตัวในวันจันทร์ (16 พ.ค.) เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ได้ช่วยพยุงตลาด ขณะที่ตลาดหุ้นเยอรมนีและฝรั่งเศสลดลงมากที่สุด หลังจีนเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่น: ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดบวก เนื่องจากนักลงทุนขานรับรายงานข่าวที่ว่าเซี่ยงไฮ้วางแผนที่จะยุติมาตรการล็อกดาวน์ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ เพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดนํ้ามัน: สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันจันทร์ (16 พ.ค.) หลังมีรายงานว่าเซี่ยงไฮ้ วางแผนยุติมาตรการล็อกดาวน์ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ ซึ่งทำให้นักลงทุนมีมุมมองบวกว่าความต้องการใช้น้ำมันในจีนจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง (อินโฟเควสท์)
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดรอบกว่า 10 ปี: มหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดิ่งลงสู่ระดับ 59.1 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับ ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2554 และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 64.0 (อินโฟเควสท์)
  • โกลด์แมนแซคส์ หั่นคาดการณ์ศก.สหรัฐ: คาดเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 2.4% ในปี 2565 ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 2.6% และคาดว่า เศรษฐกิจในปี 2566 จะขยายตัวเพียง 1.6% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 2.2% (อินโฟเควสท์)
  • จีนเผยยอดค้าปลีก-การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง: สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ของจีนร่วงลง11.1% ในเดือนเม.ย. ซึ่งย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 6.1% และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.ลดลง 2.9% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% (อินโฟเควสท์)
  • อินเดียสั่งห้ามส่งออกข้าวสาลี มีผลทันที: เนื่องจากอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่อันดับสองของโลก พยายามที่จะควบคุมราคาข้าวสาลีภายในประเทศ (อินโฟเควสท์)
  • สวีเดน-ฟินแลนด์ เข้าร่วมนาโต: โดยสวีเดนประกาศสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโตอย่างเป็นทางการหลังฟินแลนด์เข้าร่วมก่อนหน้านี้ (อินโฟเควสท์)
  • ปลดล็อกต่างชาติ ขาช้อปทะลัก30%: “เดอมอลล์” เผยแค่วีคแรกทราฟฟิคเพิ่ม 30% มั่นใจเศรษฐกิจฟื้น ทำรายได้จากช้อปเทศแตะ 20% (ฐานเศรษฐกิจ)
  • แอร์ไลน์ทยอยเปิดเส้นทางบินรับท่องเที่ยวฟื้น: นายกสมาคมสายการบินภาพรวมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และธุรกิจสายการบินเริ่มฟื้นตัวดีต่อเนื่อง เล็งเปิดเส้นทางบินระหว่างประเทศเพิ่ม ทั้ง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มัลดีฟส์ (กรุงเทพธุรกิจ)
  • CBG เผย “เสถียร เศรษฐสิทธิ์” ลาออกประธานบอร์ด: คงนั่ง CEO มีผล 14 พ.ค.65 มีมติแต่งตั้งนางสาวณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ เป็นประธานกรรมการแทน (อินโฟเควสท์)
  • VIBHA ออกวอแรนต์ VIBHA-W4: ให้ผู้ถือหุ้นเดิม 12:1 ราคาใช้สิทธิ 3 บ./หุ้น (อินโฟเควสท์)
  • คาดเข้า/ออก SET50: คาดเช้า JMT, JMART, BLA /คาดออก RATCH, STGT, KCE (UOB KayHian)

Report & Corporate News

  • CBG Maintained BUY TP: 117.00 บาท: CBG รายงานกำไร 1Q22 ลดลง 5.7% yoy แต่เพิ่มขึ้น 7.7% qoq สอดคล้องกับที่เราคาด และสูงกว่า Consensus ราว 8.6% โดยหนุนจากยอดขายที่เติบโตสูง และ SG&A/Sales ที่ยังควบคุมได้ดี ทั้งนี้ GPM 1Q22 ยังอ่อนตัวลง อย่างไรก็ตาม ประเมินทิศทาง GPM ใกล้ผ่านจุดต่ำสุด สะท้อนจากแนวโน้ม Aluminium เดือนเม.ย. 22 ที่เริ่มปรับตัวลดลง ประกอบกับยอดขาย Energy drinks ในต่างประเทศ CLMV ที่น่าจะค่อยๆ ฟื้นตัว รวมถึงจีน ที่ล่าสุดรัฐเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown แล้ว คงคาดกำไรปี 2022 เติบโต 9.9% แนะนำ ซื้อสะสม เมื่อราคาหุ้นอ่อนตัว
  • CPNREIT Maintained BUY TP: 23.50 บาท: อัตราการเช่าของ CPNREIT ยังคงแข็งแกร่งมากกว่า 90% ในขณะที่อัตราส่วนลดค่าเช่ามีแนวโน้มปรับตัวลงต่อเนื่อง สถานการณ์โควิตที่ดีขึ้นจะหนุนการกลับมารับรู้รายได้ของโรงแรม Hilton คาดรายได้ของ CPNREIT จะโต yoy และ qoq ใน 2Q-4Q22 CPNREIT ประกาศจ่ายปันผลเป็นเงินสดสำหรับงวด 1Q22 ที่อัตรา 0.1814 บาท/หน่วย และจ่ายลดทุนที่อัตรา 0.0555 บาท/หน่วย คิดเป็น 1.2% จากราคาปิดล่าสุด คงคําแนะนํา ซื้อ ที่ราคาเป้าหมาย 23.50 บาท
  • BAM Maintained BUY TP: 26.00 บาท: BAM รายงานกำไรสุทธิใน 1Q22 ที่ 312 ลบ. (+26% yoy, -68% qoq) โดยผลประกอบการออกมาเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยผลการดำเนินงานที่ปรับลดลง qoq มาจากกำไรจากการขาย NPA ที่ลดลง ซึ่งเป็นไปตามผลของฤดูกาล (ไตรมาส 4 เป็นไตรมาสที่สูงสุดของปี) สำหรับแนวโน้มของ cash collection ใน 2Q22 จะฟื้นตัว qoq อย่างแข็งแกร่ง โดยทางผู้บริหารแจ้งว่า ณ เม.ย. 22 ยอด cash collection บรรลุ 91% ของเป้าหมายแล้ว เรามองว่าแนวโน้มกำไรของ BAM อยู่ในทิศทางฟื้นตัวอย่างชัดเจน คงคําแนะนํา ซื้อ ที่ราคาเป้าหมายที่ 26.00 บาท
  • PSH: ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้บริษัทย่อยของบริษัทฯ คือ บริษัท วิมุต เวลเนส เซอร์วิส จำกัด (VMS) เข้าร่วมทุน กับบมจ.เจเอเอส แอสเซ็ท (J) ในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนชื่อ บริษัท ซีเนร่า วิมุต เฮลท์ เซอร์วิส จำกัด เป็นการให้บริการทางการแพทย์และศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทุนจดทะเบียนจำนวน 40,000,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 4,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โครงสร้างการถือหุ้น VMS ถือจำนวน 2,039,998 หุ้น และ 3 จำนวน 1,959,998 หุ้น (อินโฟเควสท์)
- Advertisement -