บล.พาย:

BCH: กลับมาเน้นธุรกิจหลักหลังแตะยอดสูงใน 1Q22

เพิ่มคำแนะนำจากถือเป็น “ซื้อ” คงมูลค่าพื้นฐานที่ 21.00 บาท อิง 14.36xPE’22E หรือใกล้เคียง -2SD ต่อค่าเฉลี่ย 3 ปี

  • เล็งเห็นทิศทางกำไรขาลง QoQ ใน 2Q22 เพราะส่วนแบ่งจากเคสโควิด-19 ที่ลดลงตามยอดผู้ติดเชื้อและการยกเลิก เงื่อนไขการตรวจ RT-PCR สำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว
  • คาดถึงทิศทางกำไรที่ลดลง HoH ใน 2H22 เพราะรายได้เคสโควิด-19 ที่ลดลง YoY จากฐานสูงใน 2H21 เนื่องจาก คาดว่ารัฐบาลจะประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นในเดือน ก.ค.
  • ขณะที่เล็งเห็นแรงกดดันเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้นใน 2H22 หลังจากที่รัฐบาลไทยอาจประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นในกลางเดือน มิ.ย.
  • หากไม่รวมรายได้จากเคสโควิด-19 คาดว่ากำไรปี 2022-23 จะก้าวกระโดดขึ้น 2.5 เท่า 1.8 เท่า ตามลำดับ เทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 จึงเชื่อว่าธุรกิจหลักยังมีภาพรวมที่ดี

คาดว่าราคาหุ้น BCH ที่ปรับลดลง 30% จากยอดสูงในเดือน ส.ค. 2021 ได้สะท้อนความกังวลของตลาดเกี่ยวกับการกลับสู่ระดับกำไรปกติแล้ว เพราะส่วนแบ่งจากเคสโควิด-19 เริ่มชะลอตัวลงจากที่พุ่งสูงขึ้นใน 1Q22 (ซื้อขายกันที่ -2SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี) แนะนำซื้อเพราะหุ้นมีราคาที่น่าดึงดูดที่ 12xPE’22E (คิดลด 64% ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี) และมีภาพรวมการเติบโตในธุรกิจหลักที่สดใส

เป้าหมายของผู้บริหาร

  • ผู้บริหารมีความมั่นใจต่อภาพรวมกำไรบริษัท เราประเมินรายได้ปี 2022 ที่ 1.9 หมื่นล้านบาท สูงกว่าตัวเลขของผู้บริหารที่ 1.7 หมื่นล้านบาท อยู่ราว 12% ขณะที่มีประมาณการกำไรที่สอดคล้องกับของบริษัท

ไม่ควรมองข้ามปัจจัยบวกสำคัญในระยะยาว

  • รายได้กลุ่มคนไข้ประกันสังคมโต 11% YoY จากสมาชิกลงทะเบียนที่สูงขึ้น (+7%YoY) คาดช่วยหนุนให้มียอดผู้ประกันตนแตะจุดสูงใหม่ที่ 1 ล้านคน ถึงแนวทางจากผู้บริหาร
  • คาดถึงทิศทางการเติบโตของกำไรปกติจากการเปิดให้บริการศูนย์นวัตกรรมการดูแลรักษาแผลเบาหวานที่เกษมราษฎร์ รามคำแหง คาดสร้างรายได้ที่ 240 ล้านบาท/ปี คิดเป็น 3% ของรายได้ปี FY2019 (ช่วงก่อนเกิดโควิด-19) และด้วยศูนย์การฟื้นฟูสุขภาพ 8 แห่ง ภายในเครือข่ายบริษัท จึงประเมินถึงส่วนแบ่งที่ 700 ล้านบาท/ปี หรือคิดเป็น 8% ของช่วงก่อนเกิดโควิด-19
  • หากไม่รวมรายได้จากเคสโควิด-19 คาดว่ากำไรปี 2022-23 จะก้าวกระโดดขึ้น 2.5 เท่า 1.8 เท่า ตามลำดับ เทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 จึงเชื่อว่าธุรกิจหลักยังมีภาพรวมที่ดี

คาดทิศทางกำไรจะชะลอตัวลงตั้งแต่ 2Q22 เป็นต้นไป

  • เชื่อว่าทิศทางกำไรจะโตขึ้น YoY แต่ลดลง QoQ ใน 2Q22 เพราะส่วนแบ่งจากเคสโควิด-19 ที่ลดลงตามยอดผู้ติดเชื้อ และการยกเลิกเงื่อนไขการตรวจ RT-PCR สำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. เป็นต้นไป รัฐบาลไทยได้ประกาศการผ่อนปรนมาตรการตรวจ RT-PCR เพื่อกระตุ้นจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขาเข้าที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว ส่วนแนวโน้มสำหรับผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรงจะถูกนับเป็นอาการติดเชื้อทั่วไป ผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเลือกกักตัวอยู่บ้านมากกว่าเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลในโรงแรม (hospitel) พลวัตดังกล่าวอาจทำให้ส่วนแบ่งจากเคสโควิด-19 ปรับลดลงตั้งแต่ 2Q22 เป็นต้นไป
  • คาดถึงทิศทางกำไรที่ลดลง HoH ใน 2H22 เพราะรายได้เคสโควิด-19 ที่ลดลง YoY จากฐานสูงใน 2H21 เนื่องจากคาดว่ารัฐบาลจะประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นในเดือน ก.ค.
  • ขณะที่เล็งเห็นแรงกดดันเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้นใน 2H22 หลังจากที่รัฐบาลไทยอาจประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นเร็วขึ้นเป็นกลางเดือน มิ.ย. เพราะอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้นจะช่วยรับมือกับยอดผู้ติดเชื้อที่อาจเพิ่มขึ้นได้

กำไรที่แข็งแกร่งใน 1Q22 เป็นผลจากเคสโควิด-19

  • กำไร 1Q22 อยู่ที่ 2 พันล้านบาท (+527%YoY, -18%QoQ) คาดว่าเป็นจุดสูงสุดของปี
  • กำไร 1Q22 ออกมาดีกว่าที่เราและตลาดคาด 12% และ 11% ตามลำดับ
  • การเติบโต YoY ได้แรงหนุนจากรายได้เคสโควิด-19 ที่สูงขึ้นจากฐานต่ำใน 1Q21 ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดระลอกโอมิครอน บวกกับบริการวัคซีนที่สร้างส่วนแบ่งมากขึ้น ส่วนที่ลดลงเป็นเพราะอัตรากำไรที่ลดลงจากยอดเคสโควิด-19 ที่ลดลง QoQ
  • รายได้ 1Q22 อยู่ที่ 7.1 พันล้านบาท สอดคล้องกับประมาณการ โดยโตขึ้น 527% YoY จากส่วนแบ่งที่สูงขึ้นของเคสโควิด-19 หลังจากมียอดคนไข้ผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น บวกกับบริการฉีดวัคซีน 3.8 แสนโดส แต่โตขึ้นเล็กน้อย QoQ จากการเติบโตของธุรกิจประกันสังคม (+49%QoQ) ที่ช่วยเป็นกันชนต่อจำนวนคนไข้เงินสดที่อ่อนตัวลง โดยรวมลดลง 4%QoQ จากยอดเคสโควิด-19 ที่ลดลง
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ลดลงเป็น 45% (-12ppts QoQ) จากการขาดหายไปของความประหยัดต่ขนาด เพราะส่วนแบ่งเคสโควิด-19 ที่ลดลงจากฐานสูงใน 4Q21 แม้จะมีการคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม

Revenue breakdown

รายได้ของ BCH มาจาก 2 แหล่งหลักคือ 1) กลุ่มคนไข้ทั่วไป และ 2) คนไข้โครงการประกันสังคมและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขณะที่คนไข้ทั่วไปคือกลุ่มที่ชำระค่าบริการด้วยตัวเอง และแบ่งออกเป็นกลุ่มผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD) ปัจจุบันกลุ่ม OPD คิดเป็น 20% ของรายได้รวม

ขณะที่กลุ่ม IPD คิดเป็น 56% ของรายได้รวม โดยจะเป็นกลุ่มบริการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ปัจจุบัน BCH และบริษัทย่อยมีเตียงรองรับกลุ่มนี้อยู่ 2,254 เตียง ด้วยห้องหลากหลายประเภท เช่น ห้อง VIP ห้อง Gold ห้อง Silver และห้องมาตรฐาน

ทั้งยังให้บริการทางการแพทย์กับผู้ประกันตนภายใต้โครงการภาครัฐ เช่น โครงการประกันสังคม และ สปสช. โดยกลุ่มนี้จะคิดเป็น 15% ของรายได้รวม

- Advertisement -