สรุปภาวะตลาด

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวกตลอดช่วงการซื้อ-ขาย นักลงทุนผ่อนคลายความกังวล หลังจากการรายงานการประชุมเฟด ระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนมิ.ย.และเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับที่ตลาดคาดการณ์ไว้แล้ว มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน ธนาคาร และการเงิน ทั้งนี้เห็นนักลงทุนต่างชาติมีสถานะ Long TFEX ต่อเนื่อง เดือนพ.ค. มีสถานะ Long 67,075 สัญญา ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,633.73 จุด +8.55 จุด +0.53% มูลค่าการซื้อขาย 61,370 ลบ.ต่างชาติ +3,387.15 ลบ. TFEX +16,048 สัญญา ตราสารหนี้ +1,322.61 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 516.91 จุด +1.61% ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทค้าปลีก รวมทั้ง รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐที่สอดคล้อง คาดการณ์โดยระบุว่า เฟดจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.50% ทั้งในเดือนมิ.ย.และก.ค. และอาจชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปีหากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวลง

+ สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI เพิ่มขึ้น 3.76 ดอลลาร์ 3.4% ปิดที่ 114.09 ดอลลาร์/บาร์เรลได้แรงหนุน จากการความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ในช่วงวันหยุด Memorial Day รวมทั้งการคาดการณ์ว่า สมาชิกสหภาพยุโรป (EU) จะสามารถบรรลุข้อตกลงคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย

+ แหล่งข่าวระบุว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตรหรือโอเปกพลัส จะยังคงยึดมั่นตามข้อตกลงเดิมในการประชุมวันที่ 2 มิ.ย. ในการเพิ่มกําลังการผลิตน้ำมันเพียง 432,000 บาร์เรล/วัน สําหรับเดือนก.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนมิ.ย.

+ ปธน.วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นํารัสเซีย กล่าวว่า รัสเซียพร้อมให้ความร่วมมือในการแก้ไขวิกฤตการณ์อาหารระหว่าง ประเทศ แต่ชาติตะวันตกจะต้องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียก่อน

+ สหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 8,000 ราย สู่ระดับ 210,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ระดับ 215,000 ราย

+ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า 4M65 เบิกจ่ายสะสมได้ตามเป้าหมายกระตุ้น เศรษฐกิจ ที่ 99,703 ล้านบาท จากกรอบการลงทุนทั้งปี 338,126 ล้านบาท หรือเบิกจ่ายแล้ว 29%

ปัจจัยลบ –

– สหรัฐเปิดเผยตัวเลข GDP ประมาณการครั้งที่ 2 ประจํา 1Q65 หดตัว -1.5% จากเดิมที่รายงานว่าหดตัว -1.4% ในประมาณการครั้งที่ 1 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐหดตัวเพียง -1.3%

– สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ลดลง 3.9%MoM และ ดิ่งลง 9.1%YoY ในเดือนเม.ย. สู่ระดับ 99.3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2563 และปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 แย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีจะลดลง 2%MoM

+/- ศบค.รายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 4,837 ราย ติดเชื้อสะสม 4,434,511 ราย ผลตรวจจาก ATK / เข้าข่ายติดเชื้อ 6,380 ราย ผู้เสียชีวิต 29 ราย

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีวันนี้ปรับตัวขึ้นต่อตามตลาดในภูมิภาค เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวทั้ง GDP สหรัฐ และยอด ทำสัญญาขายบ้าน ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่าเฟดจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป อีกทั้งการเปิดรับท่องเที่ยวในไทยเป็นปัจจัยหนุนต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นหนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดดัชนีในวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 1,623-1,645 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • ศบค. มีมติปรับลดพื้นที่สีหรือแบ่งโซนในการควบคุมโรคโควิด : AOT AAV BA BEM ERW CENTEL MINT AWC ASAP
  • MSCI ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 31 พ.ค.:
    • MSCI Global Standard Index : เข้า JMT ออก STGT MSCI
    • Global Small Cap : เข้า ASK BYD DITTO FORTH KEX PSG SABUY STGT STARK VIBHA ออก EASTW JMT
  • FTSE ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 17 มิ.ย.:
    • FTSE All World Index : เข้า – ออก -,
    • Micro Cap Index: เข้า BRI CIVIL HENG KTBSTMR PEACE SVT TKC TFM WFX ออก –

หุ้นรายงานพิเศษ

LALIN – “การเติบโตยังคงเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ คาดกําไรทํา New High” <ราคาเหมาะสม 13.20 บาท>

  • กำไรงวด 1Q65 เท่ากับ 328 ลบ. ลดลง 12.9%QoQ แต่ เพิ่มขึ้น 2.5%YoY โดยมีรายได้จากการขาย 1,581 ลบ. -10.0%QoQ, +3.8% YoY รายได้ยังสามารถเติบโต YoY แต่ลดลง QoQ เนื่องจากช่วง 4Q64 จะเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจ มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ระดับ 39.0% ทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบ YoY และ QoQ
  • คงเป้าประมาณการรายได้ และกำไรปี 65 ที่ 7,230 ลบ. และ 1,511 ลบ. เติบโต 10% และ 9% ตามลำดับ  สอดคล้องกับมูลค่าโครงการที่มีแผนเปิดขายใหม่ทั้งปีที่ราว 7-8 พันล้านบาท กำไรในช่วง 1Q65 คิดเป็น 22% ของประมาณการกําไรปี 65
  • ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อผลการดำเนินงานของบริษัทที่เติบโตต่อเนื่องทุกปี พร้อมทั้งสามารถรักษาอัตราการทำกำไรในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม โดย 3 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับตัวลง -16.51% ตามภาวะตลาด เรามองเป็นโอกาส “ซื้อสะสม” พร้อมคาดการณ์อัตราเงินปันผล ราว 7.1%

หุ้นมีข่าว

(+) SABUY (Bloomberg Consensus 50.00 บาท) เข้าซื้อหุ้น EasyRes ผู้พัฒนาและให้บริการระบบบริหารจัดการร้านอาหาร 25% ขณะผู้ก่อตั้งซื้อหุ้น SABUY 28 บาท มีร้านค้าในพอร์ตสูง 6 พันร้านค้า พนักงาน 3 แสนราย ต่อยอดธุรกิจได้เพียบ ระบุครองมาร์เก็ตแชร์ POS 50% พร้อมทั้ง 3 บริษัทใหม่ แตกไลน์เอาต์ซอร์สซิ่ง ฟูลฟิลเมนต์ ดาต้า เซ็นเตอร์ และคลาวด์ บัญชีผู้ใช้สิ้นปีแตะ 100 ล้านราย (ที่มา ทันหุ้น)

(+) EA (Bloomberg Consensus 90.00 บาท) แววผลงานไตรมาส 2/2565 โตต่อเนื่อง ครึ่งปีหลังผลงานโตก้าวกระโดดรับรู้ส่งมอบรถบัสอีวี 1.5-2 พันคัน และรถบรรทุกไฟฟ้าหลายร้อยคัน เดินหน้าขยายโรงงานแบตเตอรีเป็น 4GW รองรับการประกอบรถไฟฟ้าได้ 8 พันคัน พร้อมต่อยอด EA Ecosystem ทั้งระบบ เบนเข็มรับงานบริหารจัดการขยะหนุนรายได้โรงไฟฟ้า เล็งขายหุ้นกู้วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท รองรับการขยายธุรกิจ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) UPA (Bloomberg Consensus 0.60 บาท) จ่อรับรู้รายได้ขุดบิทคอยน์ในไตรมาส 2/2565 หลังติดตั้งเครื่องครบ 6,000 เครื่องตามแผน ด้านธุรกิจโรงไฟฟ้าพร้อมสร้างโครงการใหม่ในเมียนมา 200 เมกะวัตต์ ส่วนธุรกิจกัญชงคาดเริ่มรับรู้รายได้ Q3-Q4 นี้ เคาะเป้าทั้งปี 40-50 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CIVIL (Bloomberg Consensus 7.15 บาท) เดินหน้าก่อสร้างงาน 7 โครงการ ที่ชนะการประกวดราคาใน Q1/2565 มูลค่ารวม 167 ล้านบาท ชูกลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพบริหารโครงการรวดเร็ว เผยทิศทาง Q2/2565 ลุ้นผลประมูลเมกะโปรเจ็กต์ มูลค่ารวมกว่า 5,000-10,000 ล้านบาท ดัน Backlog แตะ 15,000-20,000 ล้านบาท รุกงานเหมืองหินหนุนธุรกิจผลิตวัสดุก่อสร้างแข็งแกร่ง มั่นใจรายได้ปีนี้แตะ 6,000 ล้านบาท เติบโต 20% ตามเป้า (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 31 พ.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 29 มิ.ย. ประชุมกนง. ครั้งที่ 4/65

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 27 พ.ค. จีน รายงานกำไรภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย.

สหรัฐ รายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนเม.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.จากมหาวิทยาลัย มิชิแกน

  • 30 พ.ค. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนพ.ค.
  • 2 มิ.ย. การประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส หารือปริมาณการผลิต ตลาดคาดว่าโอเปกพลัสจะผลิตตามข้อตกลงเดิม แม้สหรัฐและหลายชาติที่นำเข้าน้ำมันต่างเรียกร้องให้โอเปกพลัสเพิ่มการผลิตเพื่อสกัดราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น
  • 14 – 15 มิ.ย. ประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐ

 

- Advertisement -