บล.พาย:

VGI: คาดกําไรฟื้นตัวแข็งแกร่งด้วยภาพการเติบโตที่ดี

ขาดทุนสุทธิ 4QFY22 (ม.ค.-มี.ค. 2022) ที่ 45 ล้านบาท หากไม่รวมรายการพิเศษ กำไรปกติจะอยู่ที่ 105 ล้าน บาท เทียบกับขาดทุน 125 ล้านบาทใน 3QFY22 และขาดทุน 234 ล้านบาทใน 4QFY21 นับเป็นผลประกอบการที่สอดคล้องกับคาดการณ์

  • กำไรปกติที่ปรับดีขึ้น QoQ และ YoY ได้แรงหนุนจากรายได้สื่อที่มีอัตรากำไรสูง หรือแตะจุดสูงรอบ 6 ไตรมาสที่ 472 ล้านบาท ผนวกกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายที่ลดลงแตะจุดต่ำรอบ 9 ไตรมาสที่ 23.3% เป็นผลจากการประหยัดต้นทุน และการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก JMART (เริ่มต้นในเดือน ธ.ค. 2021)
  • ขาดทุนสุทธิ FY2022 ที่ 120 ล้านบาท ส่วนผลขาดทุนปกติอยู่ที่ 321 ล้านบาท เทียบกับกำไร 387 ล้านบาทในปี FY2021 ผลประกอบการที่น่าผิดหวังนี้เป็นเพราะผลกระทบของการล็อกดาวน์
  • คาดกำไรพลิกเป็นบวกภายใน 2QFY23 (ก.ค.-ก.ย. 2022) หนุนจาก 1) รายได้ธุรกิจสื่อนอกอาคารสถานที่ (OOH) ที่ฟื้นตัวขึ้น 2) ส่วนแบ่งกำไรเต็มไตรมาสจาก JMART (ถืออยู่ 15%) และ 3) ส่วนแบ่งขาดทุนจาก KEX ที่น้อยลง เพราะคาดว่าการแข่งขันด้านราคาจะบรรเทาลง

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 6.20 บาท คำนวณด้วยวิธีรวมส่วนธุรกิจ (SOTP) หรือคิดเป็นค่าพรีเมี่ยม 50% ต่อค่าเฉลี่ยกลุ่มสื่อไทย เชื่อว่ากำไรบริษัทแตะจุดต่ำสุดไปแล้ว ขณะที่คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นในช่วง 3 ไตรมาสที่เหลือของปีก่อนที่จะเข้าสู่เฟสการขยายกิจการที่มีโอกาส รวมถึง BTS สายสีชมพู-เหลืองที่มีคาดการณ์ว่าจะเริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (COD) บางส่วนภายใน 4QFY23

สรุปผลประกอบการ

  • ขาดทุนสุทธิ 4QFY22 (ม.ค.-มี.ค. 2022) ที่ 45 ล้านบาท หากไม่รวมรายการพิเศษ กำไรปกติจะอยู่ที่ 105 ล้านบาท เทียบกับขาดทุน 125 ล้านบาทใน 3QFY22 และขาดทุน 234 ล้านบาทใน 4QFY21
  • กำไรปกติที่ปรับดีขึ้น QoQ ได้แรงหนุนจากรายได้สื่อที่มีอัตรากำไรสูงที่โตขึ้นเป็น 472 ล้านบาท ผนวกกับ SG&A ต่อยอดขายที่ลดลงแตะจุดต่ำรอบ 9 ไตรมาสที่ 23.3% เป็นผลจากการประหยัดต้นทุน และการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก JMART (เริ่มต้นในเดือน ธ.ค. 2021)
  • ส่วนการปรับตัวดีขึ้น YoY เป็นผลจากการขาดหายไปของอัตราภาษีที่สูงขึ้นใน 4QFY21 จากรายการพิเศษ และผลขาดทุนพิเศษของ MACO ใน 4QFY21 ที่รับรู้ภายใต้รายการส่วนแบ่งกำไร
  • รายได้รวมใน 4QFY22 ลดลงจากยอดสูงในรอบ 12 ไตรมาสใน 3QFY22 มาอยู่ที่ 1.2 พันล้านบาท (-20%QoQ) สืบเนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย Fanslink ช่วงสิ้นปี แต่รายได้ธุรกิจ OOH ฟื้นตัวแตะจุดสูงสุดในรอบ 6 ไตรมาส
  • ขาดทุนสุทธิ FY2022 ที่ 120 ล้านบาท ส่วนผลขาดทุนปกติอยู่ที่ 321 ล้านบาท เทียบกับกำไร 387 ล้านบาทในปี FY2021 ผลประกอบการที่น่าผิดหวังนี้เป็นเพราะผลกระทบของการล็อกดาวน์

เข้าสู่ช่วงการฟื้นตัว

คาดรายได้ธุรกิจ OOH ของบริษัทจะฟื้นตัวแข็งแกร่งจากจุดต่ำได้ในช่วงปลายปี FY2022 พร้อมกับจำนวนผู้โดยสารในระบบ BTS ที่ฟื้นตัวขึ้น และเม็ดเงินโฆษณาที่ไหลกลับเข้าสู่แพลตฟอร์ม OOH หลังจากมีการผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มโควิด-19 คาดกระแสรายได้จากพื้นที่สื่อและการพาณิชย์ (มอบหมายให้ NINE บริหาร) จะแตะระดับ 70% ของช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ได้ในช่วงปลาย 2QFY23 (ก.ค.-ก.ย. 2022) เมื่อกรุงเทพฯ กลับมาเปิดเมืองเต็มรูปแบบ และมีจำนวนนักท่องเที่ยวกลับเข้ามาในระดับ 1 ล้านคนต่อเดือน

Revenue breakdown

รายได้หลักของ VGI สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้

ธุรกิจสื่อเคลื่อนที่ (36% ของรายได้รวมในปี FY2022) ซึ่งครอบคลุมสื่อโฆษณาภาพนิ่งและดิจิทัลบนระบบรถไฟฟ้า BTS ปัจจุบัน VGI มีสื่อภาพนิ่ง 4,000 จุด และจอฉายสื่อดิจิทัล 2,000 จุด กระจายอยู่ตามสถานีรถไฟฟ้า 30 สถานี และตู้โดยสาร 236 ตู้

ธุรกิจสื่อโฆษณาในอาคารสำนักงานและอื่นๆ ที่คิดเป็น 2% ของรายได้รวมในปี FY2022 ซึ่งประกอบด้วยจอฉายดิจิทัลที่ติดตั้งในอาคารสำนักงาน

ธุรกิจบริการระบบดิจิทัลที่คิดเป็น 37% ของรายได้รวม โดยจะครอบคลุมบริการชำระเงินแบบออฟไลน์ และออนไลน์ บริการทางการเงิน และบริการโฆษณาออนไลน์ที่จัดการโดย VGI Digital Lab

- Advertisement -