KS Daily View 30.05.2022 >> หุ้นโลกเข้าสู่โหมด Bear market rally เปิดโอกาสเก็งกำไรระยะสั้น จังหวะขึ้นมาแนะ Lockprofit SET คาดแนวต้าน 1645 จุด หุ้นแนะนำ MTC, BGRIM

ต่างประเทศ : สัปดาห์นี้ KS ประเมินตลาดหุ้นโลกยังอยู่ในโหมด Mini bear market rally คาดตลาดหุ้นจะฟื้นตัวได้ต่อ (Rebound) ตอบรับข่าวบวกประเด็นเงินเฟ้อสหรัฐได้ผ่านจุด Peak ไปแล้วและจะค่อยๆลง (หลังจากวันศุกร์ Core PCE ของสหรัฐฯ โตชะลอตัวเหลือ 4.9% YoY จากระดับ 5.2% YoY ในเดือนก่อนหน้าและการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯ ปรับตัวลงมาแล้วกว่า 46bps. จากจุดสูงสุดของปีที่ 3.2% ทำให้เชื่อว่านักลงทุนส่วนหนึ่งขายทำกำไรพันธบัตรรัฐบาลและโยกเงินกลับไปลงทุนในหุ้น) โดยประเด็นเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ ตลาดเริ่มผ่อนคลายสะท้อนจากปัจจุบันคาดการประชุม Fed รอบ มิ.ย., ก.ค. จะขึ้นดอกเบี้ยฯ 50 bps (แต่รอบ ก.ย. คาดขึ้นเหลือเพียง 25bps จากเดิม 50 bps)

อย่างไรก็ตาม ในระยะถัดไป เดือน มิ.ย. ตลาดหุ้นโลกยังมีโอกาสผันผวนจาก ประเด็น 1.) การ De-rate PER ลงเนื่องจากสภาพคล่องในระบบที่ทยอยลดลงผ่านการทำ QT ของ Fed จากสถิติ KS ทำ Regression Analysis พบว่า ทุกๆ 1 % ของขนาดงบดุลที่ลดลงจะส่งผลต่อตลาดหุ้นผ่าน PER Multipier ราว 0.3% การเริ่ม QT ของ Fed 2.) ความกังวลเศรษฐกิจถดถอย (Recession) จากผลกระทบสงครามรัสเซีย-ยูเครน
ส่วนประเด็นที่มีผลต่อการลงทุนในช่วงนี้ ประเด็นบวก (+) 1 มิ.ย. จีนจะมีการคลายล๊อกดาวน์เซี่ยงไฮ้เป็น Sentiment บวกต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ส่วนไทย รัฐบาลเดินหน้าไม่มีการกักตัวทุกกรณี คนไทยไม่ต้องลงทะเบียนThailand Pass แต่ชาวต่างชาติยังต้องลงทะเบียนอยู่ พร้อมเปิดสถานบันเทิงพวก ผับ บาร์ คาราโอเกะ ในพื้นที่สีเขียวและสีฟ้าได้แล้ว มองเป็น sentiment เชิงบวกต่อกลุ่มเปิดเมือง ส่วนประเด็นที่อาจกดดัน (-) วันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย. การประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 1 ประเด็น พ.ร.บ.งบประมาณปี 2566 ต้องติดตาม เพราะมีกระแสฝ่ายค้านโหวตคว่ำ หากไม่ผ่านคาด Sentiement ลบต่อ SET Index ส่วนประเด็นที่ต้องติดตาม (Monitor) วันที่ 30-31 พ.ค. การประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรป (EU) เพื่อพิจารณามาตรการคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซีย คาดยังเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมันดิบโลกยังทรงตัวสูง ล่าสุดราคาน้ำมันดิบ Brent ปิดที่ US$117.4/bbl (3% DoD) บวกต่อ PTT PTTEP แต่ Sentiment จะลบต่อหุ้น Anti Commodity อาทิ (PTG, EPG, SCGP, BGRIM, GULF, OR, AAV, BA) และสัปดาห์นี้ระหว่าง 30 พ.ค.-3 มิ.ย. ให้น้ำหนักรายงานตัวเลขดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ โดยฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว หลักๆคือ ฝั่งสหรัฐ วันที่ 2 มิ.ย. ติดตาม Beige Book และวันศุกร์ที่ 3 มิ.ย. Nonfarm payrolls ของสหรัฐ เดือน พ.ค. ตลาดคาด 3.5 แสนราย

Theme การลงทุน : สัปดาห์นี้ยังแนะนำลงทุนใน 1.) กลุ่ม Global play ได้ประโยชน์จากการเปิดเมืองของจีนหลังคุมโควิด-19 ได้ รวมถึงการที่จีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ ได้แก่ พลังงาน (PTTEP, SPRC, ESSO), เดินเรือ (PSL), ถ่านหิน (BANPU) ยางพารา (STA) โลจิสติกส์ (JWD) และกระดาษ (SCGP) กลุ่มค้าปลีกวัสดุก่อสร้างที่ได้ประโยชน์จากราคาเหล็กขึ้น (GLOBAL, DOHOME) 2.) กลุ่มเปิดเมือง กลุ่มร้านอาหาร (M, ZEN), กลุ่มค้าปลีก (CPALL), กลุ่มรถไฟฟ้าและทางด่วน (BEM, BTS, DMT), กลุ่มท่องเที่ยวโรงแรม(AWC, DUSIT, MINT, CENTEL), กลุ่มห้างสรรพสินค้า (CPN), กลุ่มpackaging (BGC), 3.) แนะนำเน้นหุ้น Defensive อาทิ โรงพยาบาล (BH, BDMS) และหลีกเลี่ยงหุ้น High Valuation ราคาอยู่โซนบน

มุมมองตลาดหุ้น SET วันนี้คาดแนวต้าน 1645 จุด หุ้นแนะนำ MTC, BGRIM

Top pick :

  • MTC (ราคาพื้นฐาน 61.0 บาท) เรามองว่ามูลค่าหุ้น MTC ปัจจุบันค่อนข้างถูก โดยหุ้น MTC ซื้อขายที่ PBV ปี 2565 ที่ 3.3 เท่า หรือเท่ากับ 2.5SD ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PBV ในอดีต ขณะที่โมเมนตัมของกำไรมีแนวโน้มดีขึ้นในไตรมาสต่อ ๆ ไป รวมถึง NPL คาดว่าจะคงที่มากขึ้นหรือลดลงในไตรมาส 2-3/2565 ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้น
  • BGRIM (ราคาเป้าหมายที่ 61.0 บาท) 1.) การขยายกำลังการผลิตจะเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตในระยะยาวที่สำคัญ ผู้บริหารตั้งเป้าที่จะเพิ่มกำลังการผลิต 1,000 MW โดยที่ BGRIM ถือหุ้น 50-70% ในทั้งโครงการกรีนฟิลด์และบราวน์ฟิลด์ในปี 2565 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังกำลังศึกษาโครงการในต่างประเทศหลายโครงการ เช่น โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงในมาเลเซีย ฟาร์มกังหันลมในเกาหลีใต้ และฟาร์มพลังงานลมในเวียดนาม 2.ได้ Sentiment บวกจาก Bond yield ที่เริ่มเป็นขาลง และคาดผ่านจุด peak ไปแล้ว รวมถึงค่าเงินบาทที่กลับมาแข็งค่าบริเวณ 34 บาท 3.) ราคาหุ้นนับตั้งแต่ต้นปี(ytd) ปรับฐานลงมาตอบรับข่าวร้ายไปแล้ว หรือ -17%ytd

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อเดือน พ.ค. ของเยอรมันคาด +0.5% MoM และ +7.6% YoY และตัวเลข Economic sentiment ของยุโรป เดือน พ.ค. คาด 104.9 จุด ทรงตัว MoM และถ้อยแถลงของ Fed Waller
  • วันอังคาร ติดตาม ตัวเลข NBS Manufacturing PMI ของจีนเดือน พ.ค. คาด 48.9 จุด (+3.2% MoM) ตัวเลข NBS Non-manufacturing PMI ของจีนเดือน พ.ค. คาด 45 จุด (+7.4% MoM) ตัวเลข Consumer Confidence ของญี่ปุ่นเดือน พ.ค. คาด 33.5 จุด (+1.5% MoM) ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของยูโรโซน เดือน พ.ค. คาด +0.1% MoM และ +7.6% YoY ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานของยูโรโซน เดือน พ.ค. คาด +3.5% YoY ตัวเลขดัชนีราคาบ้านโดย S&P Case-Shiller เดือน มี.ค. คาด +20% YoY ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด 103.9 จุด (-3.2% MoM)
  • วันพุธ ติดตาม ตัวเลข Jibun bank Manufacturing PMI ของญี่ปุ่นเดือน พ.ค. คาด 53.2 จุด (-0.6% MoM) ตัวเลข GDP 1Q22 ของออสเตรเลียคาด +0.7%QoQ และ +3% YoY ดัชนี Caixin Manufacturing PMI เดือน พ.ค. คาด 48 จุด (+4.4% MoM) ดัชนี ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด 54.5 จุด (-1.6% MoM) ตัวเลข JOLTs Job openings ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 11.4 ล้านตำแหน่ง (-1.3% MoM) และถ้อยแถลงของ Fed William และ Fed Bullard
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนโดย ADP คาด 3 แสนตำแหน่ง (+21% YoY) ตัวเลข Initial jobless claim ของสหรัฐฯ รายสัปดาห์คาด +2.14 แสนคน (+1.9% WoW) ถ้อยแถลงของ Fed Logan และ Fed Mester ตัวเลขนำ้มันดิบคงคลังของสหรัฐฯรายสัปดาห์ และการประชุมของกลุ่ม OPEC+ คาดคงนโยบายเพิ่มการผลิตเดือนละ 432K bpd ไปถึงสิ้นเดือน ก.ย. เพื่อกลับไปเท่าระดับก่อนเกิดโควิด-19
  • วันศุกร์ ติดตามตัวเลข Jibun Bank Service PMI เดือน พ.ค. คาด 51.7 จุด (+2% MoM) ตัวเลข S&P Global Services PMI ของยูโรโซน เดือน พ.ค. คาด 56.3 จุด (-2.4% MoM) ตัวเลข Non-farm payroll ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด +3.2 แสนตำแหน่ง (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +4.28 แสนตำแหน่ง) อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด 3.5% (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 3.6%) ค่าจ้างรายชั่วโมงของสหรัฐฯเดือน พ.ค. คาด +0.4% MoM และ +5.2% YoY ตัวเลข ISM Non-manufacturing PMI ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด 56.4 จุด (-1.2% MoM) และถ้อยแถลงของ Fed Brainard
- Advertisement -