เงินเฟ้อสหรัฐ แตะระดับสูงสุดแล้ว

สรุปภาวะตลาด

วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวก โดยสอดคล้องกับตลาดในภูมิภาคปรับตัวขึ้น 0.3% เนื่องจากตลาดผ่อนคลายความกังวล หลังจากการรายงานการประชุมเฟด ระบุว่ากรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือน มิ.ย.และเดือน ก.ค. ซึ่งเป็นระดับที่ตลาดคาดการณ์ไว้แล้ว มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน ธนาคาร และการเงิน ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,638.75 จุด +5.02 จุด +0.31% มูลค่าการซื้อขาย 66,000 ลบ.ต่างชาติ +1,107 ลบ. TFEX -129 สัญญา ตราสารหนี้ -1,192.37 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิด พุ่งขึ้น 575.77 จุด +1.76% ตลอดทั้งสัปดาห์ดัชนีดาวโจนส์ บวก 6.2% หลังร่วงสูง 8 สัปดาห์ติดต่อกัน หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐแตะระดับสูงสุดแล้ว ส่งผลให้เฟดสามารถชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 98 เซนต์ +0.9% ปิดที่ 115.07 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 4.3% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากปริมาณน้ำมันตึงตัวและแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุดยาวสุดสัปดาห์ เนื่องในวัน Memorial Day ซึ่งเป็นวันหยุดของสหรัฐในวันจันทร์ที่ 30 พ.ค.

+ สหรัฐเปิดเผยว่าดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟตให้ ความสําคัญ เพิ่มขึ้น 4.9%YoY ในเดือนเม.ย. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

+ กรุงปักกิ่งตัดสินใจผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในบางพื้นที่ เพื่อให้ประชาชน กลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้

+ เมืองเซี่ยงไฮ้งเป็นศูนย์กลางการเงินของจีนประกาศมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกีดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

+ รมว.คลังมอบหมายให้ สศค. ศึกษาวิเคราะห์การจัดเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเพื่อลดภาระประชาชน และผู้ประกอบการ หลังภาคเอกชนเรียกร้องให้เลื่อนและลดการจิตเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไปก่อน

ปัจจัยลบ-

– จีนรายงานกําไรของภาคอุตสาหกรรมจีนลดลง 8.5%YoY ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการร่วงลงรุนแรงที่สุด นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2563 และสวนทางกับในเดือนมี.ค.ที่พุ่งขึ้น 12.2%

– วุฒิสมาชิกสหรัฐเปิดเผยร่างกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อขัดขวางไม่ให้บรรดาแอปสโตร์ในสหรัฐ รวมถึงแอปสโตร์ของบริษัทแอปเปิลและกูเกิล เป็นโฮสต์ให้กับแอปพลิเคชันที่อนุญาตให้ชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลของจีน  เนื่องจากกังวลว่าจะเป็นช่องทางให้รัฐบาลจีนเข้ามาสอดแนมชาวอเมริกัน

– องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า โรคฝีดาษลิง แพร่ระบาดไปแล้วมากกว่า 20 ประเทศ เรียกร้องให้ นานาชาติเพิ่มการเฝ้าระวังเนื่องจากมีการระบาดเพิ่มขึ้น

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิต-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 3,854 ราย ATK 3,894 ราย มีผู้เสียชีวิต 26 ราย รักษาหาย 6,031ราย

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดวันนี้ปรับตัวขึ้นตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยมีแรงหนุนจากตัวเลข PCE ของสหรัฐ บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐได้แตะระดับสูงสุดแล้ว ส่งผลให้เฟดสามารถชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง หนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดดัชนีในวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 1,630-1,648 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • ศบค. มีมติปรับลดพื้นที่สีหรือแบ่งโซนในการควบคุมโรคโควิด : AOT AAV BA BEM ERW CENTEL MINT AWC ASAP
  • MSCI ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 31 พ.ค.
    • MSCI Global Standard Index : เข้า JMT ออก STGT
    • MSCI Global Small Cap: เข้า ASK BYD DITTO FORTH KEX PSG SABUY STGT STARK VIBHA ออก EASTW JMT
  • FTSE ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 17 มิ.ย. FTSE All World Index : เข้า – ออก -, Micro Cap Index เข้า BRI CIVIL HENG KTBSTMR PEACE SVT TKC TFM WFX ออก –
  • หุ้นส่งออกเดือน เม.ย. ที่ขยายตัวได้ดี TWPC BRR KSL ASIAN KCE PDJ INOX

หุ้นรายงานพิเศษ

SAPPE – “คาดผลประกอบการ 2Q65 โตทั้ง YoY QoQ” <Bloomberg Consensus 38.00 บาท>

  • รายงานกำไรงวด 1Q65 เท่ากับ 153 ลบ. +77%YoY +177%QoQ จากรายได้เท่ากับ 1,143 ลบ. +40%YoY +25%QoQ ทํา New High รายไตรมาส โดยมีปัจจัยหลักจากยอดขายในต่างประเทศ (สัดส่วน 75% ของรายได้รวม) เติบโตกว่า 70% จากการขยายฐานลูกค้า และขยายการจัดจำหน่ายช่องทาง Modern Trade มากขึ้น นอกจากนี้ %GPM ปรับขึ้นสู่ 41.2% (1Q64 = 37,4%, 4Q64 = 39.2%) จากเงินบาทที่อ่อนค่า และ %U.rate ที่สูงขึ้น
  • แนวโน้มปี 65 ผบห.ปรับเพิ่มเป้าการเติบโตของรายได้ 15-20% จากเดิมที่ 10-15% โดยหลักยังคงเน้นการเติบโตในต่างประเทศ โดยเฉพาะโซนยุโรปที่ยังได้กระแสตอบรับดี พร้อมกับการขยายจุดจำหน่ายสินค้ามากขึ้น โดยแนวโน้ม 2Q65 คาดจะเติบโต YoY QoQ จากการเข้าสู่ช่วง High Season ขณะที่ % GPM คาดยังทรงตัวสูงจากแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่า %U.rate ที่สูงขึ้น และการบริหารต้นทุน โดยบริษัทล็อคราคาต้นทุน PET Resin ล่วงหน้าถึงราวเดือน 7 อย่างไรก็ดี หากเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง อาจกระทบต่อต้นทุนการผลิต
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อผลประกอบการปี 65 ที่คาดจะเติบโตแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ผบห.ตั้งเป้ารายได้สู่ 1 หมื่นลบ. ภายในปี 69 (รายได้ต่างประเทศ CAGR +15-20% และในประเทศ CAGR +10%) จากการขยายจุดและช่องทางขายสินค้า และขยายไปสู่กลุ่มประเทศอื่นๆ มากขึ้น ทั้งนี้ Bloomberg คาดกำไรปี 65 ราว 479.5 ลบ. +17% YoY

หุ้นมีข่าว

(+) CPALL (Bloomberg consensus 75 บาท) เล็งผลงานปี 2565 ฟื้นตัวดีจากปีก่อน ชูปัจจัยหนุนโควิดเริ่มคลี่คลาย ภาครัฐผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศ ประชาชนออกมาทำงานที่ออฟฟิศ, การเปิดเรียนออนไซต์ หนุนยอดขายต่อสาขาเพิ่ม คงงบลงทุน 1.1 1.2 หมื่นล้านบาท ขยายสาขาใหม่ 700 แห่ง ดันสิ้นปี 2565 แตะ 14,000 สาขา (ที่มาทันหุ้น)

(-) TRUE-DTAC (Bloomberg consensus 5.64, 56.00 บาท ตามลำดับ) เจอมรสุมความคิดเห็นเชิงลบส่วนใหญ่ ผู้เล่นน้อยลงค่าบริการเพิ่ม รับราคาหุ้นช่วงสั้นถูกกดดันจากการพิจารณา ยังเชื่อดีลเกิดแต่ถูกคุมเข้ม เช่นกรณี CP ซื้อโลตัสส์ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CRC (Bloomberg consensus 43.90 บาท) มั่นใจไตรมาส 2/2565 รายได้ – ยอดขายต่อสาขาขยายตัวต่อเนื่อง หนุนผลงานทั้งปี 2565 โต 20% ตามเป้า กำงบ 1.8-2 หมื่นล้านบาท เร่งเปิดสาขาใหม่ทุกรูปแบบทั้งซูเปอร์มาร์เก็ต, ดีพาร์ตเมนต์สโตร์, และสาขาขนาดเล็ก ควบคู่ปรับปรุงสาขาในต่างประเทศ ฐานลูกค้าระดับบนด้วยการเพิ่มสินค้าเคาน์เตอร์แบรนด์ และลักซ์ชัวรี่ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) IP (Bloomberg consensus 26 บาท) แผนยุทธศาสตร์ 5-10 ปี มุ่งเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์สุขภาพแบบครบวงจร ล่าสุดขายหุ้นเพิ่มทุน PP ให้ “อินโนบิก” บริษัทย่อยกลุ่มปตท. หวังนำเงินผลักดันธุรกิจเฮลท์แคร์ต้นน้ำ-ปลายน้ำ เร่งแผนงาน 5 ปี ดันรายได้พุ่ง 5,000 ล้านบาทเร็วขึ้น ส่งซิกไตรมาส 2/65 รายได้และกำไรโตก้าวกระโดดแรงหนุนบุก “ดรักแคร์” (ที่มาข่าวหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 31 พ.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 29 มิ.ย. ประชุมกนง. ครั้งที่4/65

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 30 พ.ค. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนพ.ค.
  • 31 พ.ค. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการ เดือนพ.ค.จาก สํานักงานสถิติแห่งชาติจีน

อียู รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค.

  • 2 มิ.ย. การประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส หารือปริมาณการผลิต ตลาดคาดว่าโอเปกพลัสจะผลิตตามข้อตกลงเดิม แม้สหรัฐและหลายชาติที่นำเข้าน้ำมันต่างเรียกร้องให้โอเปกพลัสเพิ่มการผลิตเพื่อสกัดราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น
  • 14 – 15 มิ.ย. ประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐ
- Advertisement -