สรุปภาวะตลาด

วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหว sideway ในภาคเช้า มีแรงซื้อเร่งตัวในช่วงบ่าย หลังจากที่ กกต. รับรองผลการเลือกตั้ง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่า กทม. หุ้นกลุ่มที่นำตลาด ได้แก่ กลุ่มพลังงาน จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ขานรับ EU ระงับนำเข้าน้ำมันบางส่วนจากรัสเซีย ส่วนช่วงท้ายตลาดมีการปรับน้ำหนักดัชนี และหุ้นเข้าออก MSCI Rebalance ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,663.41 จุด +9.80 จุด +0.59% มูลค่าการซื้อขาย 97,263 ลบ. ต่างชาติ +5,807 ลบ. TFEX +19,626 สัญญา ตราสารหนี้ +159.65 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ จีนเปิดเผยว่าจํานวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในจีนลดลงสู่ระดับต่ำกว่า 100 รายเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ช่วงต้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา หลังใช้มาตรการล็อกดาวน์นานหลายเดือน

+ ญี่ปุ่นเปิดเผยว่าอัตราว่างงานเดือนเม.ย.ลดลงสู่ระดับ2.5% ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากจะชะลอตัวลง  ตลาดแรงงานฟื้นตัวหลังญี่ปุ่นยกเลิกการบังคับใช้มาตรการสกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงปลายเดือนมี.ค.

+ รัฐสภาญี่ปุ่นออกงบประมาณพิเศษสำหรับปีงบประมาณ 2565 วงเงิน 2.7 ล้านล้านเยน (2.1 หมื่น ล้านดอลลาร์) เพื่อรับมือกับปัญหาราคาน้ำมันและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น หลังรัสเซียบุกยูเครนปลายก.พ.ที่ผ่านมา

+ ททท.เริ่มออกโรดโชว์ในภูมิภาคยุโรป 3 ประเทศ (ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม) ครั้งแรกในรอบ 2 ปี ตั้งเป้าดึงนักท่องเที่ยวมาไทยภายในปี 2565 478,000 คน สร้างรายได้เข้าประเทศ 34,800 ล้านบาท

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม มิ.ย. 4,563 ราย มีผู้เสียชีวิต 28 ราย รักษาหาย 5,125 ราย

ปัจจัยลบ – 

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 222.84 จุด -0.67% ถูกกดดันจากความผันผวนของราคาน้ำมัน รวมทั้งการที่นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทุกเดือนจนกว่าเงินเฟ้อ

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 40 เซนต์ -0.4% ปิดที่ 114.67 ดอลลาร์/บาร์เรล ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน  หลังมีรายงานว่ากลุ่มโอเปกพลัส อาจระงับการมีส่วนร่วมของรัสเซียในข้อตกลงด้านการผลิตของโอเปกพลัส

– ผลสํารวจของ Conference Board สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 106.4 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 108.6 ในเดือนเม.ย.

– ผู้นํากลุ่มสหภาพยุโรป (EU) มีมติระงับการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียในสัดส่วนกว่า 2 ใน 3 เพื่อตัดแหล่งการเงินขนาดใหญ่ที่รัสเซียใช้เป็นเครื่องมือในการทำสงคราม

– เงินเฟ้อยูโรโซนพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งที่ 8.1% ในเดือนพ.ค. จาก 7.4% ในเดือนเม.ย. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 7.7% กดดันธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 9

– กกพ.คาดค่าเอฟทีงวด ก.ย.-ธ.ค.อาจพุ่ง 40 สต.ต่อหน่วย หลังน้ำมันดิบขึ้นไม่หยุด และราคามีแนวโน้มขึ้นต่อ

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีวันนี้ยังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยมีแรงกดดันดันจากคณะผู้ว่าเฟดสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทุกเดือนจนกว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ WTI ที่แกว่งตัวผัน ผวน คาดดัชนีในวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 1,650-1,670 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • เปิดประเทศ 1 มิ.ย. : AOT AAV BA BEM ERW CENTEL MINT AWC ASAP
  • FTSE ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 17 มิ.ย.:
    • FTSE All World Index : เข้า – ออก -,
    • Micro Cap Index: เข้า BRI CIVIL HENG KTBSTMR PEACE SVT TKC TFM WFX ออก-
  • หุ้นส่งออกเดือน เม.ย. ที่ขยายตัวได้ดี : TWPC BRR KSL TU ASIAN KCE PDJ INOX
  • กม. PDPA มีผลบังคับใช้ : HUMAN SECURE ITEL IIG INSET

หุ้นรายงานพิเศษ

MGT – “ได้อานิสงส์จากการ Lockdown ในจีน” <ราคาเหมาะสม 6.50 บาท>

  • 1Q22 มีรายได้เท่ากับ 282.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +8.6%QoQ จากความต้องการสารเคมีที่เพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเติบโต +32.2%YoY เนื่องจาก 1Q21 ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ระดับ 28.1% ทรงตัว QoQ แต่ลดลงจาก 32.1% ใน 1Q21 จากต้นทุนนำเข้าสารเคมีที่สูงขึ้น ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้านค่าใช้จ่าย %SG&A/Sales อยู่ที่ระดับ 14.5% ทรงตัว YoY และดีขึ้นจาก 15.1% ใน 4Q21 จากการควบคุมการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ 1Q22 มีกำไรสุทธิ 28.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +16.4%QoQ แต่อ่อนตัวลง -4.2%QoQ
  • ความเห็น: ทิศทางผลประกอบการปี 22 คาดยังเติบโตได้ดี จากคำสั่งซื้อที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับได้อานิสงส์จากการ Lockdown ในจีน ส่งผลให้คู่แข่งไม่สามารถนำเข้า-ส่งออกสินค้าได้ ลูกค้าจึงหันมาสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่สามารถจัดหาวัตถุดิบและส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้ตามกำหนด นอกจากนี้บริษัทมีแผนจะ M&A เพิ่มเติม โดยบริษัทต้องการเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและขายเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อทำดีล (ยังไม่รวมในประมาณการ) เราประมาณการรายได้และกำไรสุทธิปี 22 ไว้ที่ระดับ 1,027.6 ล้านบาท และ 125.7 ล้านบาท เติบโต +9.1% และ +19.5% ตามลำดับ คงคําแนะนํา “ซื้อ” ราคาเหมาะสมปี 22 เท่ากับ 5.60 บาท

หุ้นมีข่าว

(+) WICE (Bloomberg consensus 22.50 บาท) มั่นใจปริมาณขนส่งฟื้นแรง รับอานิสงส์จีนเปิดธุรกิจ 1 มิถุนายน พร้อมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดันสินค้านำเข้า-ส่งออกเพิ่ม หลังตัวเลขชะลอก่อนหน้า ชูมีรายได้จากจีนราว 20% มั่นใจไตรมาส 2/2565 สดใส ทั้งปีคงเป้ารายได้ 9 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ITEL (Bloomberg consensus 7.35 บาท) รับโชคจาก พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA หนุนความต้องการใช้ดาต้า เซ็นเตอร์เพิ่มขึ้น เร่งศึกษาขยายขนาดการจัดเก็บดาต้า เซ็นเตอร์อีกราว 10-20 เมกะวัตต์ ร่วมกับพันธมิตรต่างประเทศ รองรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว “ณัฐนัย อนันตรัมพร” เป้ารายได้ปีนี้ 3.2 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) IIG (Bloomberg consensus 45.00 บาท) แย้มแผนควบรวมกิจการเสริมแกร่ง คาดชัดเจนครึ่งปีหลัง พร้อมเจรจาพันธมิตรลุยโซลูชั่นซีเคียวริตี้ ดีมานด์สูง ด้านผู้บริหารปักธงรายได้ปีนี้โต 35-40% แตะ 900 ล้านบาท อวดแบ็กล็อกแน่น 422 ล้านบาท จ่อบุกช่วงที่เหลือ 90% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) GFPT (Bloomberg consensus 18.00 บาท) เตรียมปรับเป้ารายได้รวมทั้งปี 2565 ขึ้นเป็น 10-15% หากยอดขาย-รายได้งวดไตรมาส 2/2565 โตต่อเนื่อง มาร์จิ้นไก่ปรุงสุกแปรรูปยังสูง อัดฉีดงบ 1-1.2 พันล้านบาท ขยายโรงเชือด-ปรับปรุงโรงงานไก่ เตรียมบุกตลาดอังกฤษ-ซาอุดีอาระเบีย ลุ้นคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 โรงงานสามารถกลับมาผลิต 100% หนุนยอดขายโค้งสุดท้ายพุ่ง (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 31 พ.ค. – 2 มิ.ย. อภิปรายร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566
  • 8 มิ.ย. ประชุมกนง. ครั้งที่ 3/65

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 1 มิ.ย. จีน เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพ.ค.จากไฉซิน

อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาค การผลิตขั้นสุดท้ายเดือนพ.ค. อัตราว่างงานเดือนเม.ย.

สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนพ.ค.

  • 2 มิ.ย. การประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส หารือปริมาณการผลิต ตลาดคาดว่าโอเปกพลัสจะผลิตตามข้อตกลงเดิม แม้สหรัฐและหลายชาติที่นำเข้าน้ำมันต่างเรียกร้องให้โอเปกพลัสเพิ่มการผลิตเพื่อสกัดราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น
  • 14 – 15 มิ.ย. ประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐ
- Advertisement -