Our View? “หมดกำลัง”

คาดตลาดวันนี้ “Sideway Down” มองแนวรับที่บริเวณ 1,650 / 1,645 และแนวต้านที่บริเวณ 1,665 / 1,670 เรามองตลาดกลับมากังวลกับแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) อีกครั้ง จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการ FED แสดงความคิดเห็นว่า FED ควรขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 0.50% ต่อเนื่องในการประชุมแต่ละครั้งจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ขณะที่ CME FED Watch Tools ล่าสุดบ่งชี้ตลาดกลับมาคาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 0.50% ในอีก 3 ครั้งถัดไป จากสัปดาห์ก่อนที่จะขึ้นต่อเนื่องแค่ 2 ครั้ง ทำให้อัตราดอกเบี้ยในช่วงสิ้นปีสหรัฐกลับไปอยู่ที่ระดับ 3.00% อีกทั้งเมื่อคืนนี้ S&P Global รายงานตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือน พ.ค. ออกมาอยู่ที่ระดับ 57.0 ต่ำกว่าที่ตลาดคาด และเริ่มชะลอตัวลง สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงในระยะถัดไป คาดจะกดดันทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวลงได้ สอดคล้องกับ Dollar Index เริ่มฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 102.5 หลังชะลอตัวลงในช่วงก่อนหน้า คาดจะลดทอนความน่าสนใจของตลาดในภูมิภาคได้อีกครั้ง กดดันทิศทางกระแสเงินทุนต่างชาติได้บ้าง พร้อมทั้ง US Bond Yield เริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ระดับราว 2.9% คาดจะเป็นปัจจัยกดดันทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยงในมุมมองเชิงเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์เสี่ยง/สินทรัพย์ปลอดภัย แต่คาดจะหนุนหุ้นในกลุ่มประกัน (BLA, TIPH และ THREL) ฟื้นตัวขึ้นได้อีกครั้ง

ทางด้านราคาสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI. ส่งมอบเดือน ก.ค. เมื่อคืนนี้แกว่งตัวผันผวนออกด้านข้าง แม้ ยังคงรับแรงหนุนจากการที่สหภาพยุโรป (EU) มีมติระงับการนำเข้าน้ำมันดิบจำนวนกว่า 90% ภายในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม คาดแนวโน้มที่ OPEC+ จะระงับการมีส่วนร่วมของรัสเซียในข้อตกลงด้านการผลิตของ OPEC+ หลังรัสเซียเผชิญการคว่ำบาตรการส่งออกพลังงานของ EU คาดจะส่งผลให้สมาชิกใน OPEC+ สามารถปรับเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อชดเชยกำลังการผลิตที่หายไปของรัสเซียได้ คาดจะช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมัน อีกทั้งคาดกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยในระยะถัดไป คาดจะกดดันทิศทางราคาน้ำมัน-หุ้นในกลุ่มพลังงานอ่อนตัวลงได้ถ่วงตลาดหุ้นไทยได้เช่นกัน

อย่างไรก็ดี คาดการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งได้รับผลกระทบของ COVID-19 กว่า 33 มาตรการครอบคลุมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและกระตุ้นการซื้อรถยนต์  คาดจะช่วยประคองทิศทางตลาดในภูมิภาค รวมถึงหุ้นในกลุ่มส่งออกที่คาดจะได้รับประโยชน์ทางอ้อมจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนได้บ้าง โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (KCE, HANA และ SVI)

ในส่วนของปัจจัยในประเทศ เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อรายงานเศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย. ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยเศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย. ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน มี.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากการบริโภค เอกชนฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่อง หลังผ่อนคลายความกังวลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขณะที่ตัวเลขนักท่องเที่ยว ต่างชาติสามารถทยอยปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มองเป็นปัจจัยบวกหนุนทิศทางตลาดหุ้นไทยได้อยู่ โดยเรายังคงมุมมอง เชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มธนาคาร (KBANK, SCB, BBL และ TTB) จากแนวโน้มการฟื้นตัวขึ้นแบบค่อยไปค่อยไปต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทย รวมทั้งการที่ ธปท. เตรียมผ่อนผันให้ธนาคารฯ ไม่ต้องนับระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ รอการขายตั้งแต่ช่วงปี 65-66 และไม่ต้องกันเงินสำรองเพิ่มเติมในช่วงเวลาดังกล่าว คาดจะเป็นปัจจัยช่วยลดตัวเลข NPL ของธนาคารฯ อ่อนตัวลงได้ อย่างไรก็ตาม แนะนำติดตามการประชุม กนง. ในวันที่ 8 มิ.ย. คาดอาจจะมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยได้บ้างหลังเผชิญปัญหาจากภายนอก คาดจะจํากัดการฟื้นตัวของตลาดได้บ้าง

ธีมการลงทุน “Selective Play”

หุ้นแนะนําวันนี้ “BLA”

กลยุทธ์ แนวรับ 39.50 / 38.50 Target 44.50 / 46.00 Stop <37.00

- Advertisement -