บรรยากาศยังบวก แม้ภาพรวมอาจผันผวนก่อนการประกาศเงินเฟ้อสหรัฐฯ

เงินเฟ้อไทยพ.ค.สูงกว่าคาด แต่มองว่ายังไม่ถึงกับทำให้กนง.ขึ้นดอกเบี้ย กระทรวงพาณิชย์รายงานเงินเฟ้อไทย พ.ค. เพิ่มขึ้น 7.1% สูงกว่าคาดการณ์ที่ 5.9% และสูงกว่าเม.ย.ที่ 4.65% โดยหลักมาจากการปรับขึ้นของสินค้ากลุ่มพลังงานที่เพิ่มขึ้น +37.24% อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอลล์ +6.18% ซึ่งเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมพลังงานและอาหาร) ขยายตัว 2.28% แม้เงินเฟ้อจะสูงกว่าคาด แต่เราประเมินคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังคงเป้าหมายหลักในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม 8 มิ.ย.นี้ // อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการลงทุนในระยะสั้นตลาดอาจกังวลทั้งการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในประเทศ และการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดที่อาจแข็งกร้าวมากขึ้น หากการรายงานเงินเฟ้อสหรัฐฯ พ.ค. ในวันศุกร์นี้ ออกมาสูงกว่า 8.3%

DR หุ้นจีนในไทยมีความน่าสนใจ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง คือ 1) งาน WWDC มีการเปิดตัวชิป M2 ของ Apple ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า M1 ประมาณ 25% ราคาหุ้น APPL ทรวงตัว แต่ราคาหุ้นในกลุ่ม social media ปรับขึ้น เนื่องจากไม่มีการพูดถึงมาตรการด้านปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติม 2) ราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ ปรับขึ้นโดดเด่น โดย Nasdaq Golden Dragon China Index เพิ่มขึ้น 5.42% และหุ้น Alibaba เพิ่มขึ้น 6.22% ทั้งนี้ นักลงทุนมองบวกจากการเปิดประเทศอีกครั้ง อีกทั้งมองผลดีจากการที่จีนจะเริ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ ชดเชยช่วงปิดเมือง ทำให้เรามองตราสารสำคัญแสดงสิทธิ์ฝากหลักทรพย์ต่างประเทศ (DR) ที่อ้างอิงหุ้นจีน อาทิ BABA80, TENCENT80 มีโอกาสฟื้นตัวได้ดีหลังจากปรับฐานมานาน

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE 2) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR 3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO 4) หุ้นกลุ่มที่ปรับลดลงมามาก หรือเก็งราคาน้ำมันลง SCGP, BJC, EPG, SCC, BGRIM, GPSC 5) หุ้นเด่นกลุ่มพลังงาน OR 6) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, GFPT, TFG, TU, KSL, KTIS, KBS, BIS 7) กลุ่มขนส่ง WICE, LEO, NCL, MOONG และ 8) กลุ่มการเงิน MTC, SAWAD, TIDLOR, KCAR, THANI, TSR

ภาพรวมกลยุทธ์: แกว่งตัว 1,643-1,680 จุด หากหลุดกรอบการเก็งกำไรจะปรับลงเป็น 1,600-1,643 จุด การเก็งกำไรเน้นเลือกหุ้นรายตัว ระยะสั้นกลุ่มพลังงานกลับมามีโมเมนตัมที่ดี ขณะที่การลงทุนเน้นในหุ้นใหญ่พื้นฐานดีที่ valuation ไม่แพงหรือกระแสเงินสดสูงที่สามารถจำกัด downside risk ได้เป็นหลัก โดยใช้จังหวะปรับลดลงแรงในการทยอยซื้อหรือสะสมรายตัว

หุ้นแนะนำ: BANPU, VRANDA, BABA80*, TTCL*

แนวรับ: 1,643 / แนวต้าน : 1,663 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

ประเด็นการลงทุน

  • สหรัฐศึกษาความเป็นไปได้ยกเลิกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนบางชนิด – กำลังพิจารณาทางเลือกในการยกเลิกการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนบางชนิดที่มีขึ้นในสมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อสูงในขณะนี้
  • อินเดียนําเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน – เดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย. หลังอินเดียแก้ปัญหาการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียได้ ด้วยการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากมาเลเซีย ไทย และปาปัว นิวกินีมากขึ้น
  • รมว.คลัง พิจารณาเพิ่มโควตาสลากดิจิทัล – การขายสลากดิจิทัลล็อตแรกกว่า 5 ล้านฉบับ ได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดีจากประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณและทิศทางที่ดีที่จะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการขายสลากฯ เกินราคา ควบคู่ไปกับวิธีการอื่นๆ
  • ตลท.ให้ MUD ใช้เกณฑ์ Cash Balance – ตั้งแต่ 7-27 มิ.ย.65
  • ตลท.ทบทวนหุ้นในดัชนี FTSE SET Index Series มีผล 20 มิ.ย.
    • ดัชนี FTSE SET Large Cap Index (+) เข้า JTS // (-) ออก BTS
    • ดัชนี FTSE SET Mid Cap Index (+) เข้า AAV, BYD, BTS, FORTH, NEX, SABUY, ONEE
    • ดัชนี FTSE SET Shariah Index (+) เข้า AIE, AMATA, APCS, BBGI, BEYOND, BH, CMR, FORTH, HANA, INETREIT, J, KEX, NUSA, PSL, OR, SNNP, SRICHA, STARK, TFM, UVAN, VIBHA

ประเด็นติดตาม: 7 มิ.ย. – TH Interest Rate Decision / 8 มิ.ย. – EU GDP / 9 มิ.ย. – ECB Interest Rate Decision, US Initial Jobless Claims / 10 มิ.ย. – US Core CPI / 14 มิ.ย. – US PPI

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

ประเด็นลงทุนสําหรับหุ้นแนะนำ

  • เก็งกำไร BANPU* (14.40) : ผลการดำเนินงานครึ่งปีแข็งแกร่ง และมีลุ้นจ่ายเงินปันผลในระดับสูง 1.2-1.5 บาท/หุ้น ตัดขาดทุน 11.80 บาท
  • เก็งกำไร VRANDA* (7.80) : ผลประกอบการผ่านจุดต่ำวสุดและมีแนวโน้มทฟื้นตัว ขณะที่หุ้นยัง laggard กลุ่มท่องเที่ยวอื่น ตัดขาดทุน 6.55 บาท
  • เก็งกำไร BABA80* (5) : หุ้นเทคโนโลยีจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวดีหลังเปิดเมือง และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชดเชยช่วงปิดเมือง ตัดขาดทุน 4.00 บาท
  • เก็งกำไร TTCL* (5.50) : ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว ราคาปัจจุบันซื้อขายต่ำมูลค่าทางบัญชีที่ 5.36 บาท ตัดขาดทุน 4.80 บาท

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

Market News & Factors

  • ตลาดหุ้นสหรัฐ – ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (6 มิ.ย.) ขานรับข่าวจีนประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในกรุงปักกิ่ง อย่างไรก็ดี ตลาดปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นยุโรป – ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นในวันจันทร์ (6 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มธนาคาร และกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐ และการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในสัปดาห์นี้ (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่น – ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดบวกแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน เนื่องจากนักลงทุนเกิดความหวังว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะเริ่มออกแคมเปญให้เงินอุดหนุนการท่องเที่ยวในประเทศอีกครั้งในเร็วๆ นี้ ตลอดจนดัชนีได้แรงหนุนจากเงินเยนที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดนํ้ามัน – สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (6 มิ.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากการที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัสมีมติเพิ่มกำลังการผลิตมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ (อินโฟเควสท์)
  • สหรัฐรักษาความเป็นไปได้ยกเลิกเก็บภาษีนําเข้าสินค้าจีนบางชนิด – กำลังพิจารณาทางเลือกในการยกเลิกการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนบางชนิดที่มีขึ้นในสมัยอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อสูงในขณะนี้ (อินโฟเควสท์)
  • อินเดียนำเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน – เดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย. หลังอินเดียแก้ปัญหาการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียได้ ด้วยการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากมาเลเซีย ไทย และปาปัวนิวกินีมากขึ้น (อินโฟเควสท์)
  • พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อขยายตัว 7.10 % สูงสุดในรอบ 13 ปี – สาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยสินค้ากลุ่มพลังงาน ทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก การยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ทำให้ราคาทยอยปรับเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได และการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) นอกจากนี้ ฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างต่ำ (กรุงเทพธุรกิจ)
  • รมว.คลัง พิจารณาเพิ่มโควตาสลากดิจิทัล – การขายสลากดิจิทัลล็อตแรกกว่า 5 ล้านฉบับ ได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดีจากประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณ และทิศทางที่ดีที่จะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการขายสลากฯ เกินราคา ควบคู่ไปกับวิธีการอื่นๆ (อินโฟเควสท์)
  • ตลท.ให้ MUD ใช้เกณฑ์ Cash Balance – ตั้งแต่ 7-27 มิ.ย.65 (อินโฟเควสท์)
  • ตลท.ทบทวนหุ้นในดัชนี FTSE SET Index Series มีผล 20 มิ.ย. –
    • ดัชนี FTSE SET Large Cap Index (+) เข้า JTS // (-) ออก BTS
    • ดัชนี FTSE SET Mid Cap Index (+) เข้า AAV, BYD, BTS, FORTH, NEX, SABUY, ONEE
    • ดัชนี FTSE SET Shariah Index (+) เข้า AIE, AMATA, APCS, BBGI, BEYOND, BH, CMR, FORTH, HANA, INETREIT, J, KEX, NUSA, PSL, OR, SNNP, SRICHA, STARK, TPM, UVAN, VIBHA (อินโฟเควสท์)

Report & Corporate News

  • Food Maintained MARKET WEIGHT – ราคา solf commodities ปรับตัวสูงขึ้นอีกใน 1H22 จากปี 2021 โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และการสร้างความมั่นคงทางอาหารเฉพาะตัว (Food Protectionism) เราอาจเห็นว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนตัวลงใน 2H22 เนื่องจากการเก็งกำไรทางการเงินที่น้อยลง, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลง, stock-to-use สูงขึ้นกว่าวิกฤตด้านอาหารครั้งก่อน และการไม่มีการห้ามส่งออกอย่างฉับพลัน อุปทานอาหารที่ตึงตัวจะนำไปสู่อำนาจต่อรองที่สูงขึ้นสำหรับบริษัทอาหาร และการขยายอัตรากําไรขั้นต้น คงคําแนะนํา MARKET WEIGHT โดยมี CPF เป็น Top Pick ของเรา
  • TOA – บมจ.ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) (TOA) เปิดเผยว่า ยอดขายปี 65 จะสามารถเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 10% หลังจากที่บริษัทได้มีการปรับราคาจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้า Decorative 8% และ Non decorative 4% เพื่อที่จะให้สะท้อนต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูง จากผลกระทบจากสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน นอกจากนี้กำลังซื้อฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยวที่กำลังซื้อมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น เป็นปัจจัยหนุนให้กำลังฟื้นตัวด้วย (อินโฟเควสท์)
  • RS – บมจ.อาร์เอส (RS) เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่าแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 2/65 จะเห็นการ เติบโตขึ้นจากไตรมาส 1/65 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากธุรกิจ Commerce ฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะ ยอดขายดีขึ้นหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง และกำลังซื้อในประเทศกลับมาดีขึ้น อีกทั้งการที่คนเริ่มกลับมาทำงานในที่ทำงานมากขึ้น ทำให้ทีมเทเลเซลล์ของบริษัทสามารถกลับมาทำงานได้เต็มที่มากขึ้น และบริษัทจะมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มเข้ามาในช่วงไตรมาส 2/65 ในทุกไลน์สินค้า ทั้งแบรนด์ well u, vitanature+, CAMU C และ lifemate ซึ่งจะเสริมเข้ามาช่วยประตุ้นยอดขายในช่วงไตรมาส 2/65 (อินโฟเควสท์)
  • BAFS – บมจ.บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ (BAFS) คาดว่าบริษัทจะสามารถกลับมีกำไรในปี 66 หรือหาก สถานการณ์เดินทางฟื้นตัวเร็วก็อาจมีข่าวดีเร็วกว่านั้น หลังจากในไตรมาส 2/65 เห็นสัญญาณฟื้นชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะการผ่อนคลายมาตรการให้เข้า-ออกจากประเทศได้สะดวกขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ทำให้มีแนวโน้มการเดินทางมากขึ้น และธุรกิจผลิตไฟฟ้าก็มีทิศทางบวก (อินโฟเควสท์)
- Advertisement -