บล.พาย:

KTB บมจ. ธนาคารกรุงไทย “Upside จำกัด”

ลดคำแนะนำเป็น “ถือ” จากซื้อ มูลค่าพื้นฐาน 16.70 บาท สะท้อน upside ที่จำกัด เพราะราคาหุ้นที่สูงขึ้นส่วนใหญ่สะท้อนภาพรวมผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งใน 1Q22 และแนวโน้มกำไรสุทธิที่โตดีในปี 2022 ไปแล้ว ขณะที่คาดว่ากำไรสุทธิจะลดลง QoQ ใน 2Q22 จากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูงขึ้น แนะนำถือเพื่อรับผลตอบแทนเงินปันผลที่ 4.3% ในปี 2022 และ 4.7% ในปี 2023

กำไรรายไตรมาสผ่านยอดสูงของปีไปแล้วใน 1Q22

ปัจจัยพื้นฐานของธนาคารปรับดีขึ้นจากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจของประเทศ และคุณภาพสินเชื่อที่ยืดหยุ่น ซึ่งเหมือนกับธนาคารอื่น ขณะที่คาดว่ากำไรสุทธิใน 2Q22 จะโตขึ้น YoY จาก 6.0 พันล้านบาทใน 2Q21 แต่เมื่ออิงจากแนวทางของผู้บริหารที่ให้ไว้ในการประชุมนักวิเคราะห์ช่วงเดือน พ.ค. พบว่าธนาคารจะตั้งสำรองหนี้ฯ สูงขึ้นในช่วง 2Q-4Q เทียบกับ 5.5 พันล้านบาทใน 1Q22 จึงคาดว่ากำไรสุทธิใน 2Q22 จะลดลง QoQ เหลือ ราว 6.5-7.0 พันล้านบาทใน 2Q22 หลังจากผ่านจุดสูงของปีที่ 8.8 พันล้านบาทใน 1Q22

ปัจจัยบวกจากการจำหน่ายลอตเตอรี่บนระบบดิจิทัล

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลระบุว่ามีการจำหน่ายลอตเตอรี่ผ่านแอปเป๋าตังของธนาคารไปแล้วมากกว่า 5 ล้านใบ  เชื่อว่ามีปัจจัยหนุนมาจากการที่มีผู้ใช้แอปนี้อยู่แล้วราว 33 ล้านราย ทั้งนี้ แม้ธนาคารมีโอกาสสร้างรายได้ผ่านแอป G-wallet ในอนาคต แต่ไม่คิดว่าจะมีการรับรู้รายได้ในระยะสั้นนี้ ขณะที่ยังคงสมมติฐานการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมที่ 1% YoY สําหรับปี 2022

คงมุมมองเดิมต่อการเติบโตของกำไรสุทธิ

คงประมาณการการเติบโตของกำไรสุทธิที่ 19% YoY ในปี 2022 หนุนจากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และรายได้การดำเนินงานที่สูงขึ้น คาดกำไรสุทธิโตต่อเนื่อง 9% YoY ในปี 2023 และ 10% YoY ในปี 2024 ส่วนใหญ่มาจากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

ลดคำแนะนำเป็น “ถือ” มูลค่าพื้นฐาน 16.70 บาท

ลดคำแนะนำเป็น “ถือ” จากซื้อ เพื่อสะท้อน upside ที่จำกัดเพียง 6% ต่อมูลค่าพื้นฐานที่ 16.70 บาท ราคาหุ้นที่สูงขึ้น 20% ตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. ส่วนใหญ่สะท้อนผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งใน 1Q22 รวมถึงแนวโน้มการเติบโตของกำไรสุทธิที่ดีในปี 2022 และโอกาสในการสร้างรายได้ผ่านแอปเป๋าตังไปแล้ว

มูลค่าพื้นฐานคำนวณด้วยวิธี Gordon growth model (ROE 7.2% อัตราการเติบโต 2%) อิง 0.6x PBV’22E หรือ -0.5SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี (2017-2021)

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรก่อนการตั้งสำรองใน 1Q22 สอดคล้องกับคาดการณ์ที่ 1.74 หมื่นล้านบาท โตขึ้น 11% YoY (+16% QoQ) การเติบโตในเชิง YoY และ QoQ เป็นผลจากกำไรพิเศษสุทธิที่สูงขึ้นจากเครื่องมือทางการเงินที่บันทึกตามมูลค่ายุติธรรมผ่านงบกำไรขาดทุน และการคุมค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
  • กำไรสุทธิอยู่ที่ 8.8 พันล้านบาท โตขึ้น 57% YoY (+78% QoQ) จากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลงอย่างมาก (-32% YoY, -34% QoQ) และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ปรับลดลง
  • อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ลดลง QoQ เป็น 2.4% (4Q21: 2.5%) จากอัตราส่วนผลตอบแทนสินเชื่อที่ลดลง ในด้านอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ก็ปรับลดลงเหลือ 41.2% YoY ใน 1Q22 จากการคุมค่าใช้จ่ายการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี
  • สินเชื่อยังโตต่อเนื่อง 1.1% QoQ ใน 1Q22 ด้วยอุปสงค์จากสินเชื่อภาครัฐและรายย่อยที่สูงขึ้น
  • NPL ratio ลดลงเหลือ 3.3% ใน 1Q22 (4Q21: 3.5%) อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ต่อสินเชื่อรวมปรับสูงขึ้นเป็น 173.6% (4Q21: 168.8%) จากการตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มเติม

Revenue breakdown

รายได้ธนาคารมาจาก 3 แหล่งดังนี้

  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 73% ของรายได้รวมในปี 2021 และนับเป็นรายได้ก้อนใหญ่ที่สุดของธนาคาร หากสินเชื่อและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) โตขึ้น รายได้ดอกเบี้ยสุทธิจะโตขึ้นตาม
  • รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 14% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมประกันผ่านธนาคาร กองทุนรวม และการค้าระหว่างประเทศ
  • รายได้การดำเนินงานอื่นๆ คิดเป็น 14% ของรายได้รวมในปี 2021 มาจากกำไรการลงทุน กำไร/ขาดทุนสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่ประเมินบนพื้นฐานของมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน และรายได้เงินปันผล
- Advertisement -