สรุปภาวะตลาด

วันอังคารที่ผ่าน ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดช่วงการซื้อขาย ปรับตัวลงราว -8 ถึง -12 จุด ตลาดซึมตัวลงจากการขาดปัจจัยบวกใหม่ พร้อมทั้งในสัปดาห์นี้ นักลงทุนติดตามปัจจัยสำคัญ เช่น การประชุม กนง. การประชุม ECB และตัวเลขดัชนี CPI ของสหรัฐ แรงขายมีมากในหุ้นกลุ่มค้าปลีก ขนส่ง ส่วนแรงซื้อมีเข้ามาในหุ้นกลุ่มโรงกลั่น ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,631.92 จุด -14.16 จุด -0.86% มูลค่าการซื้อขาย 62,744 ลบ. ต่างชาติ -606.28 ลบ. TFEX – 17,528 สัญญา ตราสารหนี้ 2,601.53 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 264.36 จุด +0.80% ได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำกว่า 3% อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มค้าปลีกร่วงลงหลังจากบริษัททาร์เก็ตปรับลดคาดการณ์ผลกําไรในไตรมาส 2

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 91 เซนต์ +0.8% ปิดที่ 119.41 ดอลลาร์/บาร์เรล สูงสุดนับตั้งแต่ 8 มี.ค. 2565 ได้แรงหนุนจากคาดการณ์ว่าอุปทานนามันโลกจะเผชิญภาวะตึงตัวจากการที่จีนผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ และข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านที่ยังไม่มีความคืบหน้า

+ ครม.อนุมัติหลักการเพิ่มซาอุดีอาระเบียในรายชื่อประเทศที่ถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง เข้ามาในราชอาณาจักรไม่เกิน 30 วัน สร้างรายได้ให้ไทย 5 พันล้านต่อปี

+ ครม. เห็นชอบให้ปรับปรุงเงื่อนไขโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 เพื่อช่วยเหลือคนรายได้น้อยให้ได้มีที่อยู่อาศัยโดยขยายวงเงินสินเชื่อเข้าโครงการจาก 1.2 ล้านบาท เป็น 1.5 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1.99% คงที่ 4 ปี

+ รัฐบาลเดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก และกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งหลังปี 2565 สภาพัฒน์เตรียมเสนอแผนสนับสนุนสร้างแหล่งน้ำ ถนนทั่วไทย ชงครม. 14 มิ.ย.นี้ มี 3 เฟส รวมงบประมาณกว่า 1 หมื่นล้านบาท

+/- ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 2,688 ราย ATK 5,754 ราย มีผู้เสียชีวิต 21 ราย รักษาหาย 4,130 ราย

ปัจจัยลบ –

– ญี่ปุ่นเปิดเผยรายงานด้านพลังงานประจำปีระบุว่าความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอุปทานพลังงานโลก ผนวกกับการที่รัสเซียรุกรานยูเครนนั้น มีแนวโน้มผลักดันให้ราคาพลังงานเคลื่อนไหวในระดับสูงต่อไปอีกสักระยะ

– สหรัฐและชาติพันธมิตรเตรียมใช้มาตรการคว่ำบาตร เกาหลีเหนือด้วยการตัดออกจากระบบธุรกรรมโอนเงิน ระหว่างประเทศ (SWIFT) หากยังเดินหน้าทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ต่อไป

– รัฐบาลญี่ปุ่นปรับเพิ่มประมาณการ GDP 1Q65 โดยระบุว่า GDP หดตัวลง 0.5% ดีกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้น ที่ระบุว่า GDP หดตัวลงถึง 1% เนื่องจากการอุปโภคบริโภคยังคงฟื้นตัว แม้ญี่ปุ่นเผชิญกับการแพร่ระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด-19

– ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (CDC) ประกาศยกระดับเตือนภัยการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง หลังพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งขึ้นมากกว่า 1,000 ราย

– ธนาคารโลกปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้สู่ระดับ 2.9% จากเดิม 4.1% โดยได้รับผลกระทบจากการที่รัสเซียส่งกำลังทหารบุกโจมตียูเครน ช้ำเติมความเสียหายที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีวันนี้มีโอกาส Rebound ระยะสั้น หลังปรับตัวลงแรงวันก่อน โดยได้แรงหนุนจากอัตราผลตอบแทน พันธบัตรสหรัฐที่ชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำกว่า 3% ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง หนุนหุ้นกลุ่ม พลังงาน คาดดัชนีวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 1,625 – 1,641 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • FTSE ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 17 มิ.ย.:
    • FTSE ALL World Index : เข้า – ออก –
    • Micro Cap Index: เข้า BRI CIVIL HENG KTBSTMR PEACE SVT TKC TFM WFX ออก –
  • หุ้นส่งออกเดือน เม.ย. ที่ขยายตัวได้ดี : TWPC BRR KSL TU ASIAN KCE PDJ INOX
  • กม. PDPA มีผลบังคับใช้ : HUMAN SECURE ITEL IIG INSET
  • ปลดล็อกกัญชาเริ่ม 9 มิ.ย. : GUNKUL KWM RS BC IP DOD RBF
  • FTSE SET Index ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 20 มิ.ย.:
    • FTSE SET Large Cap Index: เข้า JTS ออก BTS
    • FTSE SET Mid Cap Index: เข้า AAV BYD BTS FORTH NEX SABUY ONEE ออก IMPACT JTS

หุ้นรายงานพิเศษ

PT – “ได้อานิสงส์การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 (ราคาเหมาะสม 6.10 บาท)

  • งวด 1Q22 บริษัทมีรายได้เท่ากับ 593.1 ล้านบาท ลดลง -3.5%QoQ เนื่องจากใน 4Q21 มีการรับรู้งานที่เลื่อนส่งมอบจากช่วงกลางปีก่อน แต่ยังเติบโต +49.2%YoY จากการส่งมอบงานโครงการให้ลูกค้ากลุ่มสถาบันการเงินและลูกค้ากลุ่มเทคโนโลยี ประกอบกับช่วง 1Q21 บริษัทได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  ด้านอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ระดับ 20.5% ทรงตัว QoQ แต่ปรับตัวดีขึ้นจาก 19.1% ใน 1Q21 จากงาน Professional Service ที่มี Margin สูงที่ฟื้นตัวขึ้น ขณะที่ SG&A/Sales ทำได้ที่ 15.9% ปรับตัวดีขึ้นจาก 16.2% ในไตรมาสก่อน และ 23.3% ใน 1Q21 เนื่องจากบริษัทสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้มีประสิทธิภาพ ประกอบกับค่าใช้จ่ายพนักงาน และค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ลดลง ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิ 1Q22 เท่ากับ 33.3 ล้านบาท ลดลง -31.3%QoQ แต่พลิกจากขาดทุนสุทธิ 1.4 ล้านบาท ใน 1Q21
  • ความเห็น: แนวโน้มผลประกอบการปี 22 เติบโตต่อเนื่อง โดยได้แรงหนุนจากลูกค้ากลุ่มธุรกิจโรงแรม และ สถานศึกษาที่ฟื้นตัวชัดเจน จากอานิสงส์การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ประกอบกับลูกค้ากลุ่มสถาบัน การเงินมีการยกระดับมาตรฐานด้าน Cyber Security เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีมิจฉาชีพนำข้อมูลลูกค้าไปสวมรอยทำ ธุรกรรมหลากหลายรูปแบบ เราคงประมาณการรายได้และกำไรสุทธิปี 22 เท่ากับ 2,351.0 ล้านบาท และ 133.6 ล้านบาท เติบโต +11.7%YoY และ +46.5%YOY ตามลำดับ คงคำแนะนำ “ซื้อเมื่ออ่อนตัว” โดยคาดหวังอัตราผลตอบแทนเงินปันผลราว 6-8% ต่อปี

หุ้นมีข่าว

(+) SOLAR-AKR (Bloomberg consensus – บาท) SOLAR ประกาศขยายฐานโซลาร์สหรัฐ-ยุโรป หลัง “ประธานาธิบดีโจ ไบเดน” กระตุ้นตลาดสั่งปลอดภาษีแผงโซลาร์เซลล์จากไทย ชี้เป็นเมกะเทรนด์ เล็งขยายโรงงานออเดอร์เสร็จไตรมาส 3 ปีนี้ ปักธงอิบิทด้ากลับมาบวก เริ่มส่งออกปี 66 ด้านบิ๊ก AKR ชี้โอกาสการส่งออก ส่วนปีนี้คาดโกยรายได้แผงโซลาร์ 200-300 ล้านบาท เล็งประมูลหม้อแปลงอีก 3 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) INSET (Bloomberg consensus 4.90 บาท) คว้างานจัดหาและติดตั้งระบบ Facility สำหรับ TELLUS2 PH2 (IDC Room 1) ให้กับ “แฟกไลท์” บริษัทในเครือ ADVANC มูลค่า 127.33 ล้านบาท ฟากผู้บริหาร “ศักดิ์บวร พุกกะณะสุต” มั่นใจครึ่งปีหลัง 2565 แรงได้อีก จ่อคว้างานใหม่เพียบ คาดมีงานใหม่เปิดประมูลกว่า 2 พันล้านบาท หนุนผลงานปี 2565 รายได้โต 15-20% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) HL (Bloomberg consensus 35.00 บาท) คาดแนวโน้มผลงานไตรมาส 2/2565 โตต่อเนื่อง จากการรับรู้ยอดขายทั้งสาขาเดิม และสาขาใหม่ได้เต็มไตรมาส ฟากซีอีโอ “ภก.ธัชพล ชลวัฒนสกุล” แย้มกลยุทธ์ครึ่งปีหลังเร่งเพิ่มพัฒนาสินค้านวัตกรรมใหม่ ภายใต้แบรนด์ของตัวเอง เจาะกลุ่มตลาดในไทยและต่างประเทศ เล็งเปิดสาขาใหม่อีก 8 สาขา มั่นใจรายได้ปีนี้โตมากกว่า 10% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) PORT (Bloomberg consensus – บาท) ปักธงรายได้รวมปี 2565 เติบโต 15% แม้ปริมาณตู้ คอนเทนเนอร์ปีนี้อาจขยายตัวเพียง 3-4% จากปีก่อน เผยยังมีปัจจัยลบกดดัน ทั้งการปรับเส้นทางเดินเรือ การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ค่าระหว่างเรือสูง เป็นต้น คาดธุรกิจไตรมาส 2/2565 ทรงตัวจากไตรมาสแรก แย้มอยู่ระหว่างศึกษา M&A-JV มีลุ้น 1 ดีล วางงบ 160 ล้านบาท เสริมแกร่งธุรกิจ (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 8 มิ.ย. ประชุมกนง. ครั้งที่ 3/2565
  • 9 มิ.ย. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย
  • 10 มิ.ย. ศบค.ประเมิน “ถอด mask” ในที่สาธารณะ
  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลง ยอดผลิตและส่งออกรถยนต์
  • 22 มิ.ย. ธปท. เผยแพร่รายงานนโยบายการเงิน
  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 8 มิ.ย. สหรัฐเปิดเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนเม.ย. และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
  • 9 มิ.ย. ECB ประชุมนโยบายการเงิน ซึ่งจะประกาศยุติโครงการซื้อพันธบัตรอย่างเป็นทางการในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. และจะส่งสัญญาณถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วย
  • 10 มิ.ย. จีน เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค. และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค. สหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.
  • 14 มิ.ย. อียูรายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนเม.ย. ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.
  • 14-15 มิ.ย. ประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐ
  • 30 มิ.ย.โอเปกพลัสประชุมกําหนดนโยบายการผลิต
- Advertisement -