Our View? “เด้งก่อน…อ่อนที่หลัง”

คาดตลาดวันนี้ “Sideways” มองแนวรับที่บริเวณ 1,630 / 1,620 และแนวต้านที่บริเวณ 1,635 / 1,645 แม้เราคาดว่าตลาดวันนี้อาจจะได้รับ Sentiment เชิงบวกจากตลาดสหรัฐเมื่อคืนนี้ฟื้นตัวขึ้นบ้างเล็กน้อย หลัง US Bond Yield เริ่มชะลอตัวลงบ้างเล็กน้อย โดยรุ่นอายุ 10 ปี อ่อนตัวลงบ้างหลังขึ้นสู่ระดับ 3.00% เมื่อวานนี้ สะท้อนนักลงทุนบางส่วนมอง Bond Yield ที่ระดับ 3.00% เป็นระดับที่มีความน่าสนใจ คาดจะช่วยลดแรงกดดันจากความกังวลในเชิงเปรียบเทียบส่วนต่างระหว่างสินทรัพย์เสี่ยงเสินทรัพย์ปลอดภัยได้บ้างในระยะสั้น

อย่างไรก็ตามเรายังคาดว่าตลาดจะให้น้ำหนักกับการติดตามการรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน พ.ค. ของสหรัฐ ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) คาดจะยังอยู่ในระดับสูงกว่า +8.2% YoY +0.7% MoM ใกล้เคียงเดือนก่อนหน้าที่ระดับ +8.3% YoY +0.3% สะท้อนทิศทางเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง คาดจะกระตุ้นความกังวลเกี่ยวกับการที่ FED ยังมีแนวโน้มเร่งขึ้นดอกเบี้ยนานกว่าที่ตลาดคาดไว้ คาดจะ กดดันทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวลงได้ต่อ

ขณะที่พรุ่งนี้ (9 มิ.ย.) ยังต้องติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดจะยังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยต่อไป แต่อาจจะส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยและคุมเข้มนโยบายทางการเงินเพื่อสกัดการเร่งตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 ถือเป็นจุดสิ้นสุดของช่วงการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินของ ECB มองเป็นจิตวิทยาเชิงลบในแง่สภาพคล่องจาก EU ที่ลดลง สอดคล้องกับสภาพคล่องจากสหรัฐที่เริ่มลดลงแล้วก่อนหน้า กดดันทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มเติม

ทางด้านราคาสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI. ส่งมอบเดือน ก.ค. แกว่งตัวออกด้านข้างในระดับสูง ปิดที่ระดับ 119.41 ดอลลาร์/บาร์เรล +0.91 ดอลลาร์ (+0.77%) ยังได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มการฟื้นตัวขึ้นของอุปสงค์ นํ้ามัน หลังจีนผ่อนคลายมาตรการ Lockdown อย่างไรก็ตาม เรามองมติของ OPEC+ ที่จะเพิ่มก่าลังการผลิตนํ้ามัน ขึ้นเป็น 6.48 แสนบาร์เรล/วัน ในเดือน ก.ค. นี้ จากข้อตกลงเดิมที่อยู่ที่ระดับ 4.32 แสนบาร์เรล/วัน คาดจะเป็นปัจจัยจำกัดผ่อนคลายความตึงตัวของอุปทานน้ำมันดิบได้ อีกทั้งวันนี้ติดตามการรายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐ คาดจะออกมา -1.92 ล้านบาร์เรล หากออกมาไม่ลดลงมากกว่าที่ตลาดคาด คาดจะกดดันทิศทางราคาพลังงานอ่อนตัวลงได้

ขณะที่เรายังมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มส่งออกอาหาร (CPF, GFPT, TFG, TU, TWPC, CFRESH และ CM) รวมทั้งหุ้นในกลุ่มน้ำมันปาล์ม (UVAN, CPI, VPO) จากวิกฤตขาดแคลนอาหารโลก โดยปัจจุบันราคาอาหารโลก ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่สัปดาห์ที่ผ่านมาศรีลังกาขอความช่วยเหลือ UN หลังเผชิญวิกฤตขาดแคลนอาหาร โดย ประชาชนในประเทศเริ่มเข้าสู่ภาวะอดอยาก คาดจะเป็นจิตวิทยาเชิงบวกต่อทิศทางหุ้นในกลุ่มอาหารได้อยู่

ในส่วนของปัจจัยในประเทศวันนี้ติดตามการประชุม กนง. คาดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% อย่างไรก็ตามเรามองการที่กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือน พ.ศ. พุ่งขึ้น +7.10% YoY มากกว่าที่ตลาด คาดที่ระดับ +5.85% YoY จากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งมาตรการเยียวยาของภาครัฐสิ้นสุดลง ขณะที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบเชิงลบจากความยืดเยื้อของวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน เราคาดทำให้อัตราเงินเฟ้อในช่วงเดือน มิ.ย. ยังมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง ยังอยู่ในระดับสูงต่อไป คาดจะกระตุ้นให้ กนง. ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยหลังการประชุมวันนี้ได้ คาดจะกดดันทิศทางตลาดหุ้นไทยได้บ้าง อีกทั้งเรายังมีมุมมองเชิงลบต่อทิศทางกระแสเงินทุนต่างชาติเริ่มขายหุ้นออกมาต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ติดต่อกันตั้งแต่เข้าเดือน มิ.ย. รวม โดยขายไปแล้วกว่า 5.19 พันล้านในเดือน มิ.ย. นี้ รวมทั้งอยู่ในฝั่ง Short SET50 Index Futures กว่า 2.71 หมื่นสัญญาในช่วงเวลาเดียวกัน คาดจะกดดันทิศทางหุ้นไทยได้อยู่

ธีมการลงทุน “Selective Play”

หุ้นแนะนําวันนี้ “TWPC”

กลยุทธ์ เก็งกำไร แนวรับ 1.25 / 7.05 Target 7.80 / 8.00 stop <6.85

- Advertisement -