สรุปภาวะตลาด
วันพุธที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวบวกในช่วงแคบ โดยประเด็นสำคัญในช่วงบ่ายกนง. มีมติ 4:3 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ตามตลาดคาด มีการปรับคาด GDP ปี 65 โต 3.3% จากเดิม 3.2% ปรับคาดเงินเฟ้อปี 65 เป็น 6.2% จากเดิม 4.9% ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,636.89 จุด +4.97 จุด +0.30% มูลค่าการซื้อขาย 57,188 ลบ. ต่างชาติ -1,351.29 ลบ. TFEX – 2,409 สัญญา ตราสารหนี้ -10.54 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 2.70 ดอลลาร์+2.3% ปิดที่ 122.11 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันเบนซินลดลงอย่างเหนือความคาดหมาย บ่งชี้ว่าความต้องการเชื้อเพลิงในสหรัฐยังคงเพิ่มขึ้น ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากจีนประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งจะช่วยหนุนความต้องการใช้น้ำมันในประเทศ
+ สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเพิ่มขึ้น 2.2%MoM ในเดือนเม.ย. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.1% หลังจากเพิ่มขึ้น 2.7% ใน เดือนมี.ค.
+ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่าเตรียมเสนอที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) วันที่ 17 มิ.ย. 2565 ยกเลิกระบบไทยแลนด์ พาส สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ มีผล 1 ก.ค.เป็นต้นไป หลังจากยกเลิกสําหรับคนไทยไปเมื่อ 1 มิ.ย.
+ รฟท.มั่นใจเคลียร์จบปัญหาผู้บุกรุกที่ยอมย้ายออก 100% พร้อมส่งมอบกลุ่มกิจการร่วมค้าซีพี ลุยก่อสร้างรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ก.ค.นี้ สนับสนุนโครงการ EEC
+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 3,185 ราย มีผู้เสียชีวิต 23 ราย รักษาหาย 3,326 ราย
ปัจจัยลบ –
– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 269.24 จุด -0.81% กังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจเผชิญภาวะถดถอยจาก FED เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้นเหนือระดับ สำคัญทางจิตวิทยาที่ 3%
– นางเจเน็ต เยลเลน รมว.คลังสหรัฐ กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 8% เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ถือเป็นเป้าหมายที่มีความเหมาะสม
– องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยจำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลกมากกว่า 1,000 ราย ซึ่งไม่นับรวมจํานวนผู้ติดเชื้อในแอฟริกา ซึ่งฝีดาษลิงถือเป็นโรคประจำถิ่นในภูมิภาคดังกล่าว
– OECD คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3% ในปีนี้ ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ 4.5% ในเดือนธ.ค.2564 – สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนจากผลสํารวจเดือน พ.ค.65 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 83.91 ปรับตัวลดลง 12.1% จากเดือนก่อนหน้า อยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5
– กนง.มีมติ 4 ต่อ 3 ให้คงดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% ไว้อีกรอบ ส่งสัญญาณเตรียมขึ้นดอกเบี้ยนโยบายหลังเงิน เพื่อพุ่งแรง และเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้น ปรับขึ้นประมาณการ GDP ปีนี้โต 3.3% จากเดิม 3.2% เฟ้อพุ่งขึ้นเป็น 6.2% จาก 4.9%
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีวันนี้ยังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยนักลงทุนยังจับตาตัวเลข CPI สหรัฐในวันศุกร์ ประกอบกับยังกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจเผชิญภาวะถดถอย ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องช่วยพยุงหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดดัชนีวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 1,625 – 1,641 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- FTSE ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 17 มิ.ย.:
- FTSE All World Index : เข้า – ออก –
- Micro Cap Index: เข้า BRI CIVIL HENG KTBSTMR PEACE SVT TKC TFM WFX ออก-
- หุ้นส่งออกเดือน เม.ย. ที่ขยายตัวได้ดี : TWPC BRR KSL TU ASIAN KCE PDJ INOX
- กม. PDPA มีผลบังคับใช้ : HUMAN SECURE ITEL IIG INSET
- ปลดล็อกกัญชาเริ่ม 9 มิ.ย. : GUNKUL KWM RS BC IP DOD RBF
- FTSE SET Index ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 20 มิ.ย.:
- FTSE SET Large Cap Index: เข้า JTS ออก BTS
- FTSE SET Mid Cap Index: เข้า AAV BYD BTS FORTH NEX SABUY ONEE ออก IMPACT JTS
หุ้นรายงานพิเศษ
NCL – “มุมมองบวก”
- 1Q65 มีรายได้ -9%QoQ จากช่วงไฮซีซันใน 4Q64 แต่ขยายตัว +74%YoY สู่ 589.4 ลบ. กําไร 31 ล้านบาท +55%YoY ทรงตัว QoQ โดยเริ่มรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากการเข้าลงทุน 25% ใน บจ.ซีส ดิจิตอล เน็ตเวิร์ค (CDN) ที่ทำธุรกิจด้าน digital marketing บริษัทมีโครงสร้างรายได้จากบริการ logistics (93% ของรายได้รวม) และ Non logistics (7% ของรายได้รวม) จากการถือหุ้น 52.8% ในบริษัท เกรซ วอเทอร์ เมด ซึ่งขาย ายาฟอกไต
- ปี 65 ผู้บริหารมีแผนพัฒนาประสิทธิภาพในบริการ logistics ให้แข็งแกร่ง และใช้ฐานลูกค้าที่มีต่อยอดผ่านการรับงานโปรเจกต์มากขึ้น รวมถึงพึ่งพาการลงทุน CDN ที่ให้บริการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจรที่มีศักยภาพเติบโตสูง
- ความเห็น มีมุมมองบวกจากธุรกิจโลจิสติกที่มีศักยภาพเติบโตดีจากธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศที่คาดจะเติบโต โดดเด่นจากค่าระวางเรือทรงตัวที่ระดับสูง หลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย และการรับรู้ส่วน แบ่งกำไรเต็มไตรมาสจาก CDN แนวโน้มกำไรในช่วง 2H65 ฟื้นตัวดีจาก 1H65 ที่คาดว่า 2Q65 จะเป็นจุดต่ำสุดรายไตรมาสจากผลกระทบที่จีนล็อกดาวน์เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโควิต-19 ราคาหุ้นในช่วง 3 เดือน ที่ผ่านมาลดลง 16% ทำให้ซื้อขายที่ P/E 13.4 เท่าต่ำกว่ากลุ่มที่ระดับ 39 เท่าเป็นโอกาสดีในการเข้าซื้อ
หุ้นมีข่าว
(+) KWM (Bloomberg consensus – บาท) พร้อมลุย รัฐปลดล็อก “กัญชง-กัญชา” เตรียมพื้นที่ปลูก 600 ตารางเมตร รองรับการผลิต ใส่เกียร์เดินหน้าขอใบอนุญาตตั้งโรงสกัด CBD คาดชัดเจนเร็วๆ นี้ ด้านผู้บริหาร “เอกพันธ์ วนโกสุม” แย้มอยู่ระหว่างเจรจารายใหญ่สนใจร่วมธุรกิจ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) DOD (Bloomberg consensus – บาท) ลั่นใบอนุญาตครบพร้อมรับออเดอร์ มองปลดล็อก กัญชา-กัญชง เป็นสัญญาณที่ดี ล่าสุดส่งมอบสินค้าที่มีสาร CBD ให้ลูกค้าแล้ว 2-3 โปรดักต์ เตรียมพัฒนาเพิ่ม 40-50 โปรดักต์ คาดครึ่งปีหลังออกสู่ตลาดเพียบ จ่อบุ๊กรายได้ตั้งแต่ไตรมาส 2/2565 เป็นต้นไป (ที่มา ทันหุ้น)
(+) HUMAN (Bloomberg consensus 15.85 บาท) เดินหน้าธุรกิจแข็งแกร่งหลังซื้อ DataOn Group รับรู้รายได้ทันที ประเมินการเติบโตในระยะ 5 ปี เฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 20% ตั้งเป้ากำไรสุทธิเติบโตแตะ 30% ในปี 2566 ระบุอยู่ระหว่างเจรจาดีลกิจการขนาดใหญ่ ในกลุ่มมหาวิทยาลัยกว่า 5 ราย สยายปีกเข้าสู่งานภาครัฐมากขึ้น (ที่มา ทันหุ้น)
(+) OR (Bloomberg consensus 28.45 บาท) จับมือ “บุญรอดเทรดดิ้ง” จัดตั้งบริษัทร่วมทุน กว่า 400 ล้านบาท ภายในไตรมาส 3/65 เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ตอบโจทย์ผู้บริโภค พร้อมเร่งสร้างโอกาสการเติบโตธุรกิจค้าปลีกอาหารและเครื่องดื่ม (ที่มา ข่าวหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 9 มิ.ย. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย
- 10 มิ.ย. ศบค.ประเมิน “ถอด mask” ในที่สาธารณะ
- สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการ ส่งออก-นำเข้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลง ยอดผลิตและส่งออกรถยนต์
- 22 มิ.ย. ธปท. เผยแพร่รายงานนโยบายการเงิน
- สัปดาห์ที่ 5 สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจ สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
- 30 มิ.ย. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 9 มิ.ย. ECB ประชุมนโยบายการเงิน ซึ่งจะประกาศยุติโครงการซื้อพันธบัตรอย่างเป็นทางการในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. และจะส่งสัญญาณถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วย
- 10 มิ.ย. จีน เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค. และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค. สหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.
- 14 มิ.ย. อียู รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนเม.ย. ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.
สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาด ย่อมเดือนพ.ค.จากสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค.
- 14 – 15 มิ.ย. ประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐ
- 30 มิ.ย.โอเปกพลัสประชุมกำหนดนโยบายการผลิต