เลือกเก็งกำไรรายตัวในหุ้นที่อิงเม็ดเงินในประเทศ

ภาพรวมการซื้อขายทั่วโลกเบาบาง โดยนักลงทุนติดตามปัจจัยที่เชื่อมโยงถึงตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ตลาดหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง ขณะที่ปริมาณการซื้อขายโดยรวมของตลาดหุ้นทั่วโลกชะลอ ติดตามปัจจัยสำคัญช่วงปลายสัปดาห์ ได้แก่ 1) การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) 9 มิ.ย. ที่จะส่งสัญญาณเกี่ยวกับการเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ย และนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นในการรับมือเงินเฟ้อ 2) การประกาศตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ 10 มิ.ย. หากออกมาต่ำกว่า 8.3% จะยืนยันภาพการผ่านจุดสูงสุดของเงินเฟ้อและเป็นบวก แต่หากสูงกว่าตลาดอาจกังวลสถานการณ์ที่เงินเฟ้อยืดเยื้อ ซึ่งจะเป็นลบกับหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยง

กลุ่มพลังงานยังคอยประคองบรรยากาศ ราคาน้ำมันดิบยังปรับขึ้น ล่าสุด WTI และ Brent อยู่ที่ 122 และ 123 เหรียญ/บาร์เรล ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นจาก 1) พลังงานเป็นสินทรัพย์ป้องกันเงินเฟ้อ 2) การเปิดเมืองที่จีนคาดทำให้การใช้น้ำมันกลับมาเพิ่มขึ้น และ 3) สถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย ที่ยืดเยื้อ //ทั้งนี้เรามองกลุ่มพลังงานจะเป็นกลุ่มที่คอยช่วยประคองบรรยากาศการเก็งกำไรหุ้นไทยรายตัว โดยเฉพาะหุ้นกลาง-เล็กที่อิงเม็ดเงินในประเทศ ขณะที่ช่วงสั้นนักลงทุนชะลอการลงทุนหุ้นใหญ่จากทิศทางเงินทุนต่างชาติ (Foreign fund flow) ระยะสั้นชะลอตัว

โมเมนตัมของการเปิดเมืองของจีนหนุนการเก็งกำไร DR และ ETF อ้างอิงหุ้นจีน นโยบายการตุ้นเศรษฐกิจชดเชยช่วงเวลาปิดเมือง และการเริ่มผ่อนคลายการกำกับดูแลบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ทำให้บรรยากาศลงทุนหุ้นจีน  โดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยีที่จดทะเบียนใน Nasdaq ปรับดีขึ้น โดย 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา Nasdaq Golden Dragon China Index ปรับขึ้นมา +31.92% ขณะที่หุ้น Alibaba ที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ (BABA) ปรับขึ้น +45.33% เรามองบรรยากาศของหุ้นจีนที่ดีขึ้นจะส่งผลบวกต่อ DR และ ETF ของหุ้นจีนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาทิ BABA80, TENCENT80 และ CHINA เป็นต้น

ประเด็นเก็งกำไรอื่น

1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE

2) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR

3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO

4) หุ้นกลุ่มที่ปรับลดลงมามาก หรือเก็งราคาน้ำมันลง SCGP, BJC, EPG, SCC, BGRIM, GPSC

5) หุ้นเด่นกลุ่มพลังงาน OR

6) กลุ่มอาหาร และเกษตร CPF, GFPT, TFG, TU, KSL, KTIS, KBS, BIS

7) กลุ่มขนส่ง WICE, LEO, NCL, MOONG

และ 8) กลุ่มการเงิน MTC, SAWAD, TIDLOR, KCAR, THANI, TSR

ภาพรวมกลยุทธ์: แกว่งตัว 1,630-1,643 หากหลุด 1,630 จุด กรอบการเก็งกำไรจะปรับลงเป็น 1,600-1,630 จุด การเก็งกำไรเน้นเลือกหุ้นรายตัว ระยะสั้นกลุ่มพลังงานกลับมามีโมเมนตัมที่ดีในการช่วงประคองบรรยากาศเก็งกำไร ขณะที่การลงทุนเน้นในหุ้นใหญ่พื้นฐานดีที่ valuation ไม่แพง หรือกระแสเงินสดสูงที่สามารถจํากัด downside risk ได้เป็นหลัก โดยใช้จังหวะปรับลดลงแรงในการทยอยซื้อหรือสะสมรายตัว

หุ้นแนะนำ: SPA*, TENCENT80*, TTCL*, KSL*

แนวรับ: 1,605-1,630 / แนวต้าน : 1,643 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

ประเด็นการลงทุน

  • OECD ลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้เหลือ 3.0% – ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ 4.5% ในเดือน ธ.ค.2564 โดยได้รับผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมทั้งการปิดเมืองและท่าเรือตามนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีน
  • เฟดแอตแลนต้าเผย GDP สหรัฐอาจหดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส – แบบจำลองการคาดการณ์ GDPNow tracker แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มหดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 ซึ่งเข้าเกณฑ์เศรษฐกิจเผชิญกับภาวะถดถอย
  • GDP ยูโรโซนไตรมาส 1 โตสูงกว่าคาด – โดย +5.4% yoy สูงกว่าคาดที่ 5.1% ขณะที่ +0.6% qoq สูงกว่าคาดที่ +0.3%
  • จีนออกใบอนุญาตใหม่ให้ 60 วิดีโอเกมส์ – หน่วยงานควบคุมเรื่องเกมส์ของจีนได้ออกใบอนุญาตใหม่ในวันอังคาร ช่วยลดความกังวลต่อหุ้นกลุ่มเกมส์จากทางการจีน
  • สหรัฐฯ ยกเว้นภาษีนำเข้าโซลาร์เซลจากไทย 2 ปี – กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามออกประกาศคำสั่งให้ยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์จากประเทศภูมิภาคอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา มาเลเซีย และเวียดนาม เป็นระยะเวลา 24 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 6 มิ.ย. 65 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าภายในประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
  • กนง.มีมติ 4:3 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ตามคาด คาดเงินเฟ้อของไทยพุ่งแตะจุดสูงสุดใน Q3/65 – หลังจากนั้นจะเริ่มทยอยปรับลดลง และเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ในช่วงปี 66 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงด้านสูงจาก 2 ปัจจัยสำคัญที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือ 1.ราคาน้ำมันในตลาดโลก และ 2.การส่งผ่านต้นทุนภายในประเทศ
  • ตลท.ให้ ARIN ขึ้นมาตรการระดับ 2 – เริ่ม 9-29 มิ.ย.65

ประเด็นติดตาม: 9 มิ.ย. – ECB Interest Rate Decision, US Initial Jobless Claims / 10 มิ.ย. – US Core CPI / 14 มิ.ย. – US PP 15 มิ.ย. – US Retail Sales, Fed interest Rate Decision

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

ประเด็นลงทุนสำหรับหุ้นแนะนำ

  • เก็งกำไร SPA* (13.10) : เรามองเป็นหุ้นท่องเที่ยวที่ยัง laggard ผลการดำเนินงานปีนี้คาดดีขึ้นจนเหลือขาดทุนเพียงเล็กน้อย และกลับมากำไรได้ในปี 2566 ตัดขาดทุน 7.50 บาท
  • เก็งกำไร TENCENT80* (19) : หุ้นเทคโนโลยีจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวดีหลังเปิดเมือง และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชดเชยช่วงปิดเมือง ตัดขาดทุน 16.00 บาท
  • เก็งกำไร TTCL (5.50) : ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว ราคาปัจจุบันซื้อขายต่ำมูลค่าทางบัญชีที่ 5.36 บาท ตัดขาดทุน 4.80 บาท
  • เก็งกำไร KSL* (4.40) : ผลประกอบการปีนี้เติบโตจากปริมาณการหีบอ้อยที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ได้อานิสงค์จากอินเดียจำกัดการส่งออก ตัดขาดทุน 4.00 บาท

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

Market News & Factors

  • ตลาดหุ้นสหรัฐ – ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพุธ (8 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจเผชิญภาวะถดถอย จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้นเหนือระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 3% (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นยุโรป – ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงในวันพุธ (8 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และการคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจที่ซบเซาของเครดิตสวิสถ่วงหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง  ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีนี้ และของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่น – ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดบวก 4 วันทำการติดต่อกัน โดยหุ้นกลุ่มส่งออกได้แรงหนุนจากเงินเยนที่ร่วงลงในวันนี้สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ แตะที่ระดับ 133 เยน/ดอลลาร์ อันเนื่องมาจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ สวนทางกับธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOI) ที่ยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐและญี่ปุ่นปรับตัวกว้างขึ้น (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดนํ้ามัน – สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 สัปดาห์ในวันพุธ (8 มิ.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันเบนซินลดลงอย่างเหนือความคาดหมาย ซึ่งบ่งชี้ว่าความต้องการเชื้อเพลิงในสหรัฐยังคงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากที่จีนประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งจะช่วยหนุนความต้องการใช้น้ำมันในประเทศ (อินโฟเควสท์)
  • OECD ลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้เหลือ 3.0% – ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ 4.5% ในเดือนธ.ค. 2564 โดยได้รับผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมทั้งการปิดเมืองและท่าเรือตามนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีน (อินโฟเควสท์)
  • เฟดเผย GDP สหรัฐอาจหดตัว ติดต่อกัน 2 ไตรมาส – ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตาเปิดเผยว่า แบบจำลองการคาดการณ์ GDPNow tracker แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มหดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 ซึ่งเข้าเกณฑ์การประเมินว่าเศรษฐกิจเผชิญกับภาวะถดถอย (อินโฟเควสท์)
  • GDP ยูโรโซนไตรมาส 1 โตกว่าคาด – โดย +5.4% yoy สูงกว่าคาดที่ 5.1% ขณะที่ +0.6% 90g สูงกว่าคาดที่ +0.3% (Investing)
  • จีนออกใบอนุญาตใหม่ให้ 60 วิดีโอเกมส์ – หน่วยงานควบคุมเรื่องเกมส์ของจีนได้ออกใบอนุญาตใหม่ในวันอังคาร ช่วยลดความกังวลต่อหุ้นกลุ่มเกมส์จากทางการจีน (Reuters)
  • สหรัฐฯ ยกเว้นภาษีนําเข้าโซลาร์เซลจากไทย 2 ปี – กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามออกประกาศคำสั่งให้ยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้า เซลล์แสงอาทิตย์จากประเทศภูมิภาคอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา มาเลเซีย และเวียดนาม เป็นระยะเวลา 24 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2565 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าภายในประเทศให้เพียงพอต่อความ ต้องการของผู้บริโภค (อินโฟเควสท์)
  • กนง.มีมติ 4:3 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% – คาดว่าในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะขึ้นไปแตะระดับสูงสุด หลังจากนั้นจะเริ่มทยอยปรับลดลง และ เข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ในช่วงปี 66 แต่อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงด้านสูง จาก 2 ปัจจัยสำคัญที่ไม่ สามารถควบคุมได้ คือ 1.ราคาน้ำมันในตลาดโลก และ 2.การส่งผ่านต้นทุนภายในประเทศ (อินโฟเควสท์)
  • ตลท.ให้ ARIN ขึ้นมาตรการระดับ 2 – เริ่ม 9-29 มิ.ย.65 (อินโฟเควสท์)

Report & Corporate News

  • AOT Maintained BUY TP: 89.00 บาท – เราคาดว่าผลขาดทุนของ AOT จะยังคงลดลง yoy และ qoq เป็น 2.3 พันล้านบาท (+43% yoy, +29% qoq) ใน 3QFY22 โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการเดินทางที่เร่งตัวขึ้นหลัง: 1) การยกเลิกข้อกำหนดในการตรวจหาเชื้อ CQVID-19 ทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 22 สำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดส และ 2) จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันลดลง ในขณะเดียวกัน EBITDA ใน 3QPY22 น่าจะกลับเป็นบวกเป็นครั้ง แรกนับตั้งแต่เกิดโรคระบาด เราคาดว่ากำไรของบริษัทจะฟื้นตัวต่อเนื่องในช่วง 3QFY22-FY23 คงคําแนะนํา ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 89.00 บาท
  • OR – บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR และ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ร่วมลง นามในสัญญาจัดตั้งบริษัทร่วมทุนโครงการผลิต และจัดจำหน่ายเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ระหว่าง บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด หรือ Modulus ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ OR ถือหุ้นในสัดส่วน 100% และ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมบริโภค (RTD) OR โดย Modulus และ บุญรอดฯ จะร่วมลงทุนโดยแต่บริษัทจะถือหุ้นร้อยละ 50 ในบริษัทใหม่ ในวงเงินในวงเงินลงทุนจัดตั้งบริษัทรวมกว่า 400 ล้านบาท เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และช่องทางการจำหน่าย เติมเต็มความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุม ตลอดจนเป็นการสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจของทั้ง OR และบุญรอดฯ โดยใช้กลยุทธ์การสร้างรูปแบบของธุรกิจใหม่ เพื่อสร้างแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนอง ผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ (อินโฟเควสท์)
  • GUNKUL – บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) ระบุกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศเตรียมปลดล็อกกัญชา-กัญชา ไทยตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย.นี้ เป็นปัจจัยบวกต่อผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมถึงเป็นแรงกระตุ้นให้กัญชา-กัญชงเข้าสู่พืชเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ผงาด ฟากซีอีโอ “สมบูรณ์ เอื้อ อัชฌาสัย” ปักธงดันธุรกิจกัญชา-กัญชงสู่ธุรกิจสุขภาพ ล่าสุดเตรียมส่งออกช่อดอกกัญชงลุยตลาดโซน ยุโรป-อเมริกา หนุนการเติบโตก้าวกระโดด (อินโฟเควสท์)
  • PF – บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (PF) เปิดเผยว่า บริษัทได้เดินหน้าสานความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับฮ่องกง แลนด์ ด้วยการเปิดตัวโครงการใหม่ “เลค เลเจนด์ บางนา-สุวรรณภูมิ” หลังประสบความสำเร็จในการร่วมกัน ปั้นแบรนด์ “เลค เลเจนด์” โครงการแรกบนทำเลแจ้งวัฒนะให้เป็นที่รับรู้ในกลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ที่ชื่นชอบ บรรยากาศทะเลสาบ โดยความร่วมมือกับพันธมิตรร่วมทุนชั้นนำอย่างฮ่องกงแลนด์ ทำให้สามารถสร้างแบรนด์ เลค เลเจนด์ ให้โดดเด่นมีเอกลักษณ์ เข้าถึงไลฟ์สไตล์และความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ (อินโฟเควสท์)
- Advertisement -