ประเมินปรับฐานรับแรงกดดันรอบด้าน ยังคงเน้นย้ำถือครองเงินสดสูง

Market Update

เมื่อคืน Dow Jones ปรับฐาน 1.94% ปัจจัยกดดันยังคงมาจากความกังวลขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐที่จะกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยตลาดยังกลัวกับภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ระดับสูง ซึ่งคืนนี้มีตัวเลขสำคัญอย่างการรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือน พ.ค. Bloomberg คาดจะขยายตัว +0.7%MoM +8.3%YoY และ Core CPI หรือเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมราคาพลังงานและอาหาร) +0.5%MoM +5.9%YoY ด้านตลาดหุ้น EU ก็ปรับฐานลงเช่นกัน หลังจาก ECB ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยพร้อมปรับคาดการณ์เงินเฟ้อแต่ปรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจลง ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ปรับตัวลง 0.4% ถูกกดดันจากอุปสงค์ที่หายไปบางส่วนหลังจีนประกาศ Lock Down พื้นที่บางส่วนในเซี่ยงไฮ้ (เขตหมินหัง)

Market Outlook

ประเมิน SET INDEX วันนี้ปรับฐานลงในกรอบ 1627 – 1640 รับแรงกดดันรอบด้านทั้งจากตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับฐานลง จากความกังวลเงินเฟ้อและอาจเผชิญอีกแรงกดดันจากกลุ่มน้ำมัน (PTTEP) ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบที่ย่อตัว สำหรับประเด็นเงินเฟ้อสหรัฐในคืนนี้ หากออกมาเร่งตัวมากกว่าตลาดประเมินไว้ที่ +8.3%YoY +0.7%MoM ก็มีความเสี่ยงที่ตลาดหุ้นจะปรับฐานต่อในสัปดาห์หน้า แม้คล้ายกับว่าอัตราการขยายตัวของเงินเฟ้อจะผ่านจุดสูงสุดแล้วในช่วงเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เราตั้งข้อสังเกตว่าสาเหตุที่เงินเฟ้อสหรัฐฯในเดือน มี.ค. ขยายตัวค่อนข้างสูงเป็นเพราะว่าฐานราคาน้ำมันดิบ BRT ที่ต่ำในช่วง มี.ค. 21 และฐานราคาน้ำมันดิบในช่วง มี.ค. 22 ค่อนข้างสูงจึงส่งผลให้ % การเติบโตของเงินเฟ้อสูงตามไปด้วย ดังนั้นประเด็นที่ตลาดเคยเชื่อว่าเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดไปแล้วอาจเป็นเพียงปัจจัยหนุนระยะสั้นมากกว่า ทั้งนี้หากพิจารณาราคาน้ำมันดิบในช่วงเดือน มิ.ย. 22 จะพบว่าขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย. เมื่อเทียบกับ พ.ค. (MoM) ยังมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อจะถึงจุดสูงสุดแล้ว อย่างน้อยเชื่อว่าต้องเห็นการติดลบ MOM ขณะเดียวกันเราเชื่อว่า FED มีแนวโน้มเร่งขึ้น ดอกเบี้ยต่อเนื่อง ขั้นต่ำต้องให้ใกล้เคียงกับเงินเฟ้อ โดยปี 2023 Bloomberg ประเมินเงินเฟ้อสหรัฐเฉลี่ย 3.3% ดังนั้นอาจเห็นดอกเบี้ยสหรัฐขึ้นไประดับที่ใกล้เคียงกันแต่การขึ้นดอกเบี้ยจะถือเป็นความเสี่ยงกับเศรษฐกิจ เชิงกลยุทธ์เราจึงยังแนะลดพอร์ตการลงทุนจากความเสี่ยงข้างต้น ระยะสั้นแนะ Trading สินค้าจำเป็น อาทิ สื่อสาร (ADVANC) ค้าปลีก (BJC CPALL) ธนาคารฯ (BBL KBANK SCB)

Pi Stock Picks

BJC (ถือ / ราคาเป้าหมาย 40 บาท)

มีมุมมองเชิงบวกต่อภาพรวมผลการดำเนินงานในระยะกลางถึงยาวด้วยแรงงขับเคลื่อนจากผลงานในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่ปรับดีขึ้น (BigC) ส่วนแบ่งตลาดในขณะนี้ของ BigC อยู่ที่ 21% (+1% ถึง +2% YoY) โดยคาดว่าจะชิงส่วนแบ่งตลาดได้ต่อเนื่อง

BCH (ชื้อ / ราคาเป้าหมาย 21.00 บาท)

หากไม่รวมรายได้จากเคสโควิด-19 คาดว่ากำไรปี 2022-23 จะก้าวกระโดดขึ้น 2.5 เท่า/1.8 เท่า ตามลำดับ เทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 จึงเชื่อว่าธุรกิจหลักยังมีภาพรวมที่ดี

- Advertisement -