บล.หยวนต้า (ประเทศไทย):
Action BUY (Maintain)
TP upside (downside) +8.2%
Close Jun 9, 2022 Price (THB) 7.30
12M Target (THB) 7.90
Previous Target (THB) 8.00
What’s new?
- 1Q65 ขาดทุนปกติ 21 ล้านบาท อ่อนแอลงจากกำไรปกติ 13 ล้านบาทใน 4Q64 จากรายได้โรงแรมที่ถูกกดดันจากการระบาด Omicron และยอดโอน Residence ชะลอตัว
- คาดผลประกอบการ 2Q65 ฟื้นตัวตามการเปิดประเทศ และการสนับสนุนของรัฐ อิงตัวเลขเดือนเม.ย.-พ.ค. 65 So Bangkok (โรงแรมใหญ่สุดของ Port) Occ. Rate ปรับขึ้นมาเป็น 48% จากเพียง 27% ใน 1Q65
Our view
- เราปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2565-66 ลง 25% และ 10% ตามลำดับ หลักๆ จากการปรับลด GPM ธุรกิจอสังหาฯ และธุรกิจร้านอาหาร
- คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ปรับราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 ลงเป็น 7.90 บาทต่อหุ้น (จากเดิม 8.00 บาทต่อหุ้น) อิง EV/EBITDA เดิมซึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ยกลุ่มโรงแรมขนาดใหญ่ที่ 12x แต่ยัง Discount จากโรงแรมขนาดใหญ่ที่เราให้ราคาเหมาะสมบนกรอบ +1.0SD
VERANDA RESORT (VRANDA) หุ้นแถวสองที่ทยอยฟื้นตัว ขณะที่ราคายัง Laggard กลุ่ม
Omicron กดดันให้ผลประกอบการ 1Q65 พลิกกลับมาขาดทุนอีกครั้ง
VRANDA รายงานขาดทุนปกติใน 1Q65 ที่ 21 ล้านบาท แย่กว่าที่เราคาดการณ์ ผลประกอบการอ่อนแอลงจากกำไร 13 ล้านบาท ใน 4Q64 แต่ดีขึ้นเทียบกับขาดทุน 35 ล้านบาทใน 1Q64 สรุปสาระสำคัญดังนี้
1) ธุรกิจโรงแรมใน 1Q65 รายได้อยู่ที่ 150 ล้านบาท (-24%QoQ, +92%YoY) รายได้ลดลง QoQ จากแรง กดดันของการระบาด Omicron ในไทยช่วงต้นไตรมาส แม้ว่าโรงแรมที่กรุงเทพฯ และสมุย (เน้นพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติ) จะมีรายได้เติบโต QoQ ตามการกลับมาของนักท่องเที่ยว แต่ยังไม่เพียงพอชดเชยรายได้ที่ลดลงของกลุ่มโรงแรมที่พึ่งพานักท่องเที่ยวในประเทศ ส่งผลให้ Occ. Rate กลุ่มลดลงเป็น 33% เทียบกับ 44% ใน 4Q64 แต่ดีขึ้นเทียบกับ 21% ใน 1Q64 ขณะที่ RevPar เฉลี่ยของกลุ่มใน 1Q65 ทำได้ 1,394 บาท (-28% QoQ, +115% YoY) อย่างไรก็ดี ธุรกิจโรงแรมยังสามารถบันทึก EBITDA บวกต่อเนื่องจาก 4Q64 ที่ 25 ล้านบาท
2) ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใน 1Q65 รายได้อยู่ที่ 109 ล้านบาท (-27%QoQ, -53%YoY) รายได้ลดลงตามสัดส่วนห้องที่รอโอนกรรมสิทธิ์ในโครงการ Veranda Residence หัวหินมีจำนวนที่น้อยลง บันทึกกำไรขั้นต้นใน 1Q65 อยู่ที่ 28 ล้านบาท
3) ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มใน 1Q65 รายได้อยู่ที่ 28 ล้านบาท (-21%QoQ, +11%YoY)
4) SG&A อยู่ที่ 79 ล้านบาท (-4% QoQ, +3%YoY) SG&A to sales อยู่ที่ 27.1% สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต หลักๆ มาจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานที่สูงขึ้น เพราะผลของการกลับมาเปิดกิจการเต็มตัวมากขึ้น
5) ณ สิ้น 1Q65 บริษัทฯ มี D/E ratio ที่ 1.47x และ IBD/E ที่ 1.25x เรามองว่าอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล และบริษัทฯ ยังได้รับการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้จากสถาบันการเงิน ช่วยลดความกังวลด้านกระแสเงินสดในช่วงที่ธุรกิจกำลังเข้าสู่ช่วงฟื้นตัว
Sentiment ธุรกิจโรงแรมเริ่มกลับมา…แต่ธุรกิจอสังหาฯ ยังไม่โดดเด่น
เราคาดผลประกอบการธุรกิจโรงแรม 2Q65 ฟื้นตัว QoQ หลังไทยเริ่มเปิดประเทศเต็มตัว และ Sentiment การเดินทางที่ดีขึ้นทั่วโลก หนุนให้ผลประกอบการของโรงแรม SO Bangkok ซึ่งเป็นโรงแรมใหญ่สุดฟื้นตัวได้จากระดับ Occ. Rate ใน 1Q65 เพียง 27% ปรับขึ้นมาเป็น 48% ในเดือนเม.ย.-พ.ค.65 นอกจากนี้ โรงแรมที่เกาะสมุยเริ่มทยอยฟื้นตัวจาก Occ, Rate ใน 1Q65 36% ขึ้นเป็น 38% ในเดือนเม.ย.-พ.ค.65 ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โครงการเดิมที่หัวหินขายไปแล้วราว 90% คาดเหลือรับรู้รายได้ในปี 2565 ราว 400 ล้านบาท ขณะที่โครงการที่ภูเก็ต (โรงแรม 160 ห้อง และอสังหาฯ) มูลค่าโครงการ 1 พันล้านบาท ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงินเรียบร้อยแล้ว เตรียมก่อสร้างในช่วง 3Q65 และคาดเริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการ Residence ที่ภูเก็ตช่วง 2Q67 ส่วนแผนก่อสร้างส่วนต่อขยายที่ติดกับโรงแรมที่หัวหิน (โรงแรม 3 ห้องและอสังหาฯ มูลค่าราว 350 ล้านบาท) คาดโอนกรรมสิทธิ์โครงการ Residence หัวหินที่สร้างเพิ่มช่วง 3Q66 ช่วยประคองรายได้ปี 2566 เพื่อรอธุรกิจอสังหาฯ กลับมาโดดเด่นอีกครั้งในปี 2567
ปรับลดประมาณการปี 2565-66 จากการปรับลด GPM ธุรกิจอสังหาฯ และอาหาร
เราคงมุมมอง VRANDA กลับมาทำกำไรปกติในปี 2565 แต่จากผลประกอบการ 1Q65 ที่ออกมาขาดทุนปกติ 21 ล้านบาท เทียบกับประมาณการทั้งปี 2565 ของเราที่คาดมีกำไรปกติ 54 ล้านบาท ทำให้ประมาณการทั้งปีของเรามี Downside Risk เราปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2565-66 ลง 25% และ 10% ตามลำดับ หลักๆ จากการปรับลดอัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจอสังหาฯ ที่ทำกำไรได้น้อยกว่าคาด และธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และต้นทุนคงที่สูงกว่าที่เราเคยประเมินไว้
คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ปรับราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 เป็น 7.90 บาทต่อหุ้น
เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ผลของการปรับลดประมาณการทำให้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 ลดลงเป็น 7.90 บาทต่อหุ้น จากเดิม 8.00 บาทต่อหุ้น (อิง EV/EBITDA เดิมซึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีของกลุ่มโรงแรมขนาดใหญ่ที่ 12x) แม้ภาพการฟื้นตัวของ VRANDA จะไม่โดดเด่นเท่ากลุ่มโรงแรมขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ดี VRANDA สมควรถูกซื้อ ขาย บน EV/EBITDA อย่างน้อยเท่ากับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง จากแนวโน้มกำไรที่กำลังเข้าสู่ภาวะฟื้นตัว ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อ ขาย บน EV/EBITDA ที่ 9x ของปี 2566 (ปีที่ เราคาดจะกลับสู่ภาวะปกติ) เทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวของกลุ่มโรงแรมที่ 12x สะท้อนว่าหุ้นยังมี Upside และไม่ได้สะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัวที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มที่
ความเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ 1) เกิดการระบาด COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ และ 2) การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ล่าช้ากว่าคาด