KS Daily View 13.06.2022 > คาด SET ปรับลงจากเงินเฟ้อสหรัฐสูง หากลงมาแนวรับ 1585 จุด แนะทยอยสะสม SET วันนี้คาด 1610-1620 จุด หุ้นแนะนำ VIBHA

ต่างประเทศ : KS ประเมินทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกต้นสัปดาห์นี้-กลางสัปดาห์คาดจะเห็นปรับฐานช่วงสั้น โดยเฉพาะหุ้น Growth Stock,หุ้น High PER ตอบรับแรงกดดันหลังจากวันศุกร์ที่ผ่านมารายงานอัตราเงินเฟ้อสหรัฐ เดือน พ.ค. ออกมา 8.6%YoY สูงกว่าที่คาด ทำให้ตลาดกลับมากังวลธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อาจจะเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps ในการประชุมที่เหลือของปีนี้ แต่ประเมินตลาดหุ้นโลกช่วงปลายสัปดาห์นี้อาจจะเห็น Mini Bear Rally หลังผ่านการประชุม Fed วันที่ 16 มิ.ย. ณ. ปัจจุบัน KS ยังคงคาด Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 50 bps เช่นเดียวกับตลาดคาด การประชุมรอบนี้ไปถึง รอบ ก.ค. จะขึ้นราว 50 bps แต่การประชุมรอบ ก.ย. Consensus ให้ความน่าจะเป็นสูงราว 48.5% จะขึ้น 75bps โดยคาดการณ์ดอกเบี้ยสหรัฐสิ้นปี 2565 อยู่ที่ 3-3.25% (จากสัปดาห์ที่แล้ว อยู่ที่ 2.75-3%) แต่มุมมอง KS มองว่า Fed ไม่น่าขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรง 75 bps ในการประชุมที่เหลือของปีนี้ เนื่องจากมีมุมมองเงินเฟ้อสหรัฐใกล้ผ่านจุด Peak ไปแล้ว หลังจาก Indicator ต่างๆในสหรัฐเริ่มชะลอ ทั้งตัวเลขฝั่งบ้าน, รถยนต์ ฯลฯ ยกเว้นราคาน้ำมันดิบโลกพุ่งขึ้นต่อ และขยับกรอบขึ้นไปบริเวณ 140-150 เหรียญต่อบาร์เรล

อัตราผลตอบแทนพันธบัตร : ทิศทาง Bond Yields สหรัฐปรับขึ้นแรงเมื่อวันศุกร์ ล่าสุด อายุ 10 ปี ยืนเหนือ 3% อยู่ที่ 3.17% (ใกล้ทดสอบ High เก่าที่ 3.2%) ตามทิศทางเงินเฟ้อและคาดการณ์ดอกเบี้ยสหรัฐ KS ประเมินเป็น Sentiment บวกต่อหุ้น BLA แนะนำเก็งกำไร และหากพิจารณา Yield curve สหรัฐกลับมาแบนราบมากขึ้น และเริ่มเห็นการ Inverse ในบ่างช่วงอายุ อาทิ US 10-2 Yield spread ที่ลดลงเหลือ +0.05% และ US 30-5 Yield spread ที่ -0.06% เป็นต้น จากสถิติช่วงที่ US Yield spread เข้าใกล้ศูนย์ หรือติดลบ ตลาดจะเริ่มกลับมากังวลอีกครั้งเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะถดถอย ทำให้ตลาดหุ้นอาจจะยังมีแรงกดดัน

อัตราแลกเปลี่ยน : ค่าเงิน Dollar แข็งค่าแรงต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 104.3 จุด (ใกล้ทดสอบ High เก่าที่ 105 จุด) จะหนุนให้เงินบาทในสัปดาห์นี้ทิศทางอ่อนค่า ล่าสุดอยู่ที่ 34.8 บาท และมีโอกาสแตะ 35 บาท (ห้องค้ากสิกรคาดเงินบาทตลอดสัปดาห์นี้ อยู่ที่ 34.4 -35.1 บาท) โดยรวมเงินบาทที่อ่อนจะบวกต่อหุ้นส่งออก (จากการศึกษา เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาทจะส่งผลบวกต่อ Bottom line โดย SVI +25%, KCE, ASIAN +15%, TU +8%, GFPT +1% แต่กลุ่มโรงไฟฟ้าจะกระทบ คือ BGRIM -9.9%, EGCO -8.4%) โดย KS แนะนำเน้นไปที่กลุ่มส่งออกอาหาร อาทิ ASIAN, TU, GFPT, CPF

ในประเทศ : ปลายสัปดาห์ที่แล้วประเด็นสำคัญ คือ ข่าวการปรับขึ้นค่าจ้างงานในกลุ่มแรงงานมีฝีมือ 16 อาชีพ อาทิ ช่างทาสี,ช่างปูกระเบื้อง, พนักงงานต้อนรับส่วนหน้า ฯลฯ ผลบังคับในอีก 3 เดือนข้างหน้า (ภายในเดือน ก.ย. 2565) KS ประเมินเป็นจุดเริ่มต้นและอาจจะเห็นการขึ้นในแรงงานกลุ่มอื่นๆในระยะถัดไป โดยประเมินการขึ้นค่าจ้างงานโดยรวม หากเพิ่มขึ้นทุกๆ 5%จากค่าจ้างเดิมจะส่งผลต่อคาดเงินเฟ้อเพิ่มจากคาดเดิม 15bps จะหนุนให้ ธปท. เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยคาด 3Q65 บวกต่อหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ โดยทุกการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไทยที่ขึ้นทุกๆ 25 bps จะส่งผลบวกต่อกำไรของกลุ่มธนาคาร 6-8% อีกฝั่งคือ ค่าจ้างที่ขึ้นรอบนี้คาดจะสร้าง Sentiment ลบต่อ 1.) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และ 2.) กลุ่มรับเหมา โดยการขึ้นค่าจ้างงานตามข่าวในรอบนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่หากมีการขึ้นเป็นวงกว้าง ประเมินจะกระทบต่อบริษัทรับเหมาที่มีมูลค่า backlog สูง อาทิ STEC รองลงมาคือ CK

กลยุทธ์การลงทุน : ช่วงต้นสัปดาห์ Theme หุ้นจะเน้นไปที่ Top Down จากกระแสเงินเฟ้อสหรัฐที่พึ่งขึ้นหนุนการขึ้นดอกเบี้ย และบวกต่อ bond Yields แนะนำเก็งกำไรหุ้น BLA และกลุ่มที่กระแสบวกจากเงินบาทอ่อนค่า คือกลุ่มส่งออกเน้นไปที่กลุ่มส่งออกอาหาร อาทิ ASIAN, TU, GFPT, CPF และกลุ่ม Defensive อาทิ กลุ่ม ICT แนะนำ TRUE, DTAC กลุ่มโรงพยาบาล อาทิ BH, BDMS,VIBHA ส่วน Sector หุ้นที่แนะนำชะลอลงทุนในช่วงนี้ คือ 1.) กลุ่ม High Valuation 2.) กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์, ปืโตรเคมี

มุมมองตลาดหุ้น SET วันนี้ประเมินที่ 1610 -1620 จุด หุ้นแนะนำ VIBHA

Top pick : VIBHA (ราคาพื้นฐาน 2.54 บาท) เราเริ่ม Initiate coverage โดย VIBHA เป็นโรงพยาบาลบาล Covid play และเป็นโรงพยาบาลที่มีเครือข่ายจำนวนมาก ประเมินแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลวิภาวดี รวมถึงบริษัทย่อยและบริษัทในเครือ

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตามถ้อยแถลงของ Fed Brainard
  • วันอังคาร ติดตามดัชนี Zew Economic Sentiment Index ของเยอรมัน เดือน มิ.ย. คาด -27.5 จุด (ดีขึ้นจากระดับ -34.3 จุด เดือนก่อนหน้า) ดัชนี PPI ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด +0.8% MoM และ +10.9% YoY และรายงานภาวะตลาดน้ำมันประจำเดือนของ OPEC
  • วันพุธ ติดตามตัวเลขการลงทุนทางตรงจากต่างชาติ (FDI) ของจีนใน 5M22 คาด +17% YoY ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนเดือน พ.ค. คาด -0.5% YoY ตัวเลข Retail sales ของจีน เดือน พ.ค. คาด -7.3% YoY การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีนใน 5M22 คาด +6% YoY ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยุโรปคาด +0.5% MoM แต่ -1.1% YoY ตัวเลข Retail sales ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด +0.2% MoM สต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯรายสัปดาห์ ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 50bps. เป็น 1.25-1.50% ถ้อยแถลงของ Fed Powell และ Dot plot
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม ดุลการค้าของญี่ปุ่นเดือน พ.ค. คาดขาดดุล 2,022bn เยน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล 839bn เยน ผลการประชุมธนาคารอังกฤษคาดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bps. เป็น 1.25% ตัวเลข Housing starts ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด -1.5% MoM เป็น 1.7 ล้านยูนิต ตัวเลข Building permits ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด -1.7% MoM เป็น 1.787 ล้านยูนิต ตัวเลข Initial jobless claim ของสหรัฐฯ รายสัปดาห์ คาด 2.15 แสนคน
  • วันศุกร์ ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด +0.4% MoM และถ้อยแถลงของ Fed Chair Powell
- Advertisement -