สรุปภาวะตลาด

วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดช่วงการซื้อ-ขาย โดยลบราว 6-8 จุด เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ จากความกังวลตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐที่จะรายงานในวันนี้ ว่ายังคงอยู่ในระดับสูง และผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยแรงขายมีมากในหุ้นกลุ่มไอซีที ธนาคาร และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,632.62 จุด -8.72 จุด -0.53% มูลค่าการซื้อขาย 59,629 ลบ. ต่างชาติ -3,860.16 ลบ. TFEX -6,191 สัญญา ตราสารหนี้ -1,671.91 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ญี่ปุ่นเริ่มกลับมาใช้มาตรการควบคุมโควิด-19 เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งถือเป็นก้าวแรกในการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง

+ ประมาณการรายได้ของรัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ 2566 ที่ 2.49 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% จาก ปีงบประมาณ 2565 สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปีหน้า ซึ่งสภาพัฒน์คาดว่าจะขยายตัว 3.7%

+ ธปท เปิดเผยว่า การว่างงานของเด็กจบใหม่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง และยังถูกซ้ำเติมด้วยโควิด-19 โดยตัวเลขการว่างงานของเด็กจบใหม่ หรือการว่างงานของกลุ่มเยาวชนในช่วงอายุ 15-24 ปี หรือว่างงานสูงถึง 7.2% และมีจำนวนเพิ่มขึ้น

+ ททท. รุกทำตลาดต่างชาติ ชูนโยบายสำคัญเท่ากัน ปักธงปี 2565 ดึงยุโรป-สหรัฐ-ตะวันออกกลางเที่ยวไทย เกือบ 4 ล้านคน สร้างรายได้ 3 แสนล้านบาท

+ กระทรวงอุตสาหกรรมประเมินว่าค่าเงินบาทอ่อนหนุนส่งออก ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจไทย

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 1,801 ราย ATK 1,984 มีผู้เสียชีวิต 15 ราย รักษาหาย 2,330 ราย

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 880.00 จุด -2.73% หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงเกินคาด อาจ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และจะส่งผลให้ดอกเบี้ยมากขึ้น เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 84 เซนต์ -0.7% ปิดที่ 120.67 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ปรับตัวขึ้น 1.5% ในรอบ สัปดาห์นี้ ตลาดถูกกดดันจากดอลลาร์แข็งค่าขึ้นรับข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐที่พุ่งขึ้นเกินคาด

– สหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคพุ่งขึ้น 8.6%YoY สูงสุดในรอบ 40 ปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.3% และสูงกว่าระดับ 8.3% ในเดือนเม.ย.

– พลเอกเว่ย เพิ่งเหอ รมว.การกระทรวงกลาโหมของจีน เรียกร้องให้สหรัฐหยุดใส่ความจีนและหยุดแทรกแซงกิจการภายในของจีน

– ปธน.โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน ออกโรงเตือนว่าทั่วโลกจะเผชิญกับวิกฤตอาหารขั้นรุนแรง ขณะที่สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยังคงยืดเยื้อ

– ปธน.โจ ไบเดนแห่งสหรัฐเปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังดำเนินการทุกทางที่สามารถทำได้เพื่อรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อ  โดยเขากล่าวโทษบริษัทน้ำมันและบริษัทเดินเรือว่าเป็นตัวการที่ทำให้ราคาสินค้าพุ่งขึ้น

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีวันนี้มีโอกาสปรับตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยมีแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐสูงกว่าที่ ตลาดคาด ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย จึงเกิดแรงขายในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก คาดดัชนีวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 1,600-1,638 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • FTSE ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 17 มิ.ย.:
    • FTSE All World Index : เข้า – ออก –
    • Micro Cap Index: เข้า BRI CIVIL HENG KTBSTMR PEACE SVT TKC TFM WFX ออก –
  • กม. PDPA มีผลบังคับใช้ : HUMAN SECURE ITEL IIG INSET
  • ปลดล็อกกัญชาเริ่ม 9 มิ.ย. : GUNKUL KWM RS BC IP DOD RBF JP
  • FTSE SET Index ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 20 มิ.ย.:
    • FTSE SET Large Cap Index : เข้า JTS ออก BTS
    • FTSE SET Mid Cap Index: เข้า AAV BYD BTS FORTH NEX SABUY ONEE ออก IMPACT JTS

หุ้นรายงานพิเศษ

VIBHA – “มุมมอง Neutral ต่อแนวโน้มผลประกอบการในปี 65” (Bloomberg Consensus 2.84 บาท)

  • รายงานกําไร 1Q65 ที่ 454.71 ลบ. +359%YoY -33%QoQ จากรายได้ 2,386 ลบ. +42%YoY -4%QoQ โดยรายได้และกําไรเติบโต YoY จากเคสโควิต-19 ที่สูงขึ้น ประกอบกับมีรายได้จากวัคซีน Moderna ขณะที่หดตัว QoQ จากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง ทั้งงวด 1Q65 บริษัทมีสัดส่วนรายได้จาก Non Covid case 74%, Covid-19 case 13.9% และ Vaccine Moderna 6.1%
  • แนวโน้มรายได้ปี 65 คาดจะทรงตัวจากปีก่อน จากจํานวนเคสโควิด-19 ที่มีแนวโน้มลดลง แต่คาดจะถูกชดเชยจากจํานวนผู้ป่วย Non-Covid ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับส่วนแบ่งเงินปันผลจากการเข้าไปลงในบริษัทต่างๆ ที่คาดจะเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วง 1Q65 บริษัทเข้าลงทุนเพิ่มขึ้น 413.9 ลบ. มูลค่าการลงทุนรวม ณ ปัจจุบันอยู่ที่ราว 5.9 พันลบ.
  • Project ที่จะพัฒนาในอนาคต ได้แก่ โรงพยาบาลธนบุรี รังสิต โรงพยาบาลสินแพทย์ นครปฐม และวิภารามอมตะนคร นอกจากนี้ ยังมีแผนรับผู้ป่วยต่างชาติ โดยทำการตลาดเจาะกลุ่มลูกค้าคนจีน ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การทำเด็กหลอดแก้ว ยาปลูกผม และ ธุรกิจ anti-aging โดยคาดหวังสัดส่วนเพิ่มจากปัจจุบันที่ไม่ถึง 5% ไปเป็น 10-20%
  • ความเห็น เรามีมุมมอง Neutral ต่อแนวโน้มผลประกอบการในปี 65 จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย ทําให้รายได้ในส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนกระจายความเสี่ยง โดยการเปิดบริการใหม่ๆ อาทิ คลินิค long covid คลีนิคกัญชา-กัญชง และแพทย์แผนไทย ประกอบกับแผนเจาะกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ คาดจะได้กระแสตอบรับดีจากการเปิดประเทศ ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 65 ราว 929 ลบ. -49%YoY

หุ้นมีข่าว

(+) CENTEL (Bloomberg consensus 45.00 บาท) มั่นใจผลงานโค้งสองโตต่อเนื่อง สวนต้นทุนอาหาร-ค่าเช่าที่พุ่ง ปลื้มปรับขึ้นค่าที่พักพื้นที่ยอดนิยมหนุน ด้าน “พิพัฒน์ รัชกิจประการ” ดัน “เที่ยวด้วยกันเฟส 4 ส่วนขยาย” เตรียมเพิ่มเฟส 5 ให้ถึงเดือนตุลาคม เล็งชงยกเลิก Thailand Pass ดันยอดนักท่องเที่ยวทั้งปีแตะ 10 ล้านราย ตามเป้า (ที่มา ทันหุ้น)

(+) MGT (ราคาเหมาะสม 5.60 บาท) ส่งสัญญาณทิศทางครึ่งปีแรกสดใส ออเดอร์ไหลเข้าต่อเนื่อง ชี้กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์-สีพื้น วอลุ่มการซื้อขายอยู่ในระดับสูง บอสใหญ่ “วิทยา อินาลา” ใส่เกียร์ขยายฐาน พร้อมแตกไลน์ธุรกิจใหม่เล็งถือหุ้น 20% หนุนโต 60% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) HUMAN (Bloomberg consensus 15.00 บาท) ประกาศปิดดีลซื้อกิจการ DataOn Group พร้อมรับรู้รายได้-กำไรตั้งแต่ 25 พ.ค. 2565 ลุยต่อแผนซื้อหุ้นสามัญจำนวน 55% ของหุ้นสามัญ ทั้งหมดของบริษัท Synergy Outsourcing Sdn. Bhd. (มาเลเซีย) (SGMY) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2565 (ที่มา ทันหุ้น)

(+) BM (Bloomberg consensus – บาท) ปลื้มคำสั่งซื้อผลิตประกอบแบตเตอรีไฟฟ้ารถขนาดเล็กไหลเข้า แย้ม 5 เดือนแรกยอดขายชนเป้า รับแรงหนุนบาทอ่อน ส่งออกมาร์จิ้นฟู ชี้ลูกค้าป้อนออเดอร์แล้วกว่า 150 ล้านบาท ล่าสุดคว้าใบอนุญาตจัดตั้งเขตปลอดอากร พร้อมเร่งก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในเฟสแรก คาดแล้วเสร็จเริ่มผลิตสินค้าส่งออกได้ในไตรมาส 4/65 (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 13 มิ.ย. ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการ ส่งออก-นำเข้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลง ยอดผลิตและส่งออกรถยนต์
  • 22 มิ.ย. ธปท. เผยแพร่รายงานนโยบายการเงิน
  • สัปดาห์ที่ 5 สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจ สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
  • 27 มิ.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดประชุมนักวิเคราะห์ ครั้งที่ 2/2565
  • 30 มิ.ย. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 14 มิ.ย. อียู รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนเม.ย. ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.

สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนพ.ค.จากสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค.

  • 14 – 15 มิ.ย. ประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐ
  • 15 มิ.ย. จีนรายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนพ.ค. ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.

อียู รายงานดุลการค้าเดือนเม.ย.

สหรัฐ รายงานยอดค้าปลีกเดือนพ.ค. ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนมิ.ย. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือน เม.ย. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)

  • 30 มิ.ย.โอเปกพลัสประชุมกำหนดนโยบายการผลิต
- Advertisement -