ปรับลดกรอบการเก็งกำไรเป็น 1,600-1,630 หลังเงินเฟ้อออกมาสูงกว่าคาด
ไม่ว่าเฟดขึ้นดอกเบี้ยเท่าไหร่ ตลาดหุ้นระยะสั้นก็มีโอกาสตอบรับเชิงลบ ศุกร์ที่ผ่านมา สหรัฐฯรายงานเงินเฟ้อพ.ค.ที่ 8.6% ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 8.3% และกลายเป็นจุดสูงสุดใหม่เหนือมี.ค.ที่ 8.5% สถานการณ์ดังกล่าวได้ลดทอนความน่าจะเป็นที่เฟดจะสามารถยุติการขึ้นดอกเบี้ยหลังก.ย. ขณะที่เพิ่มความเสี่ยงที่เฟดอาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยไปนานกว่านั้น รวมถึงเพิ่มคาดการณ์ว่าเฟดอาจต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยในรอบการประชุม 15 มิ.ย. เป็น 0.75% (จากคาดการณ์เดิม 2.50%) เพื่อรับมือเงินเฟ้อ // เราประเมินนักลงทุนจะตอบรับระยะสั้นเป็นลบไม่ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยเท่าไหร่? เนื่องจากมุมมองเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลง และทำให้ไม่ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยเท่าไหร่ในการประชุมรอบนี้
เงินเฟ้อสูง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำ เพิ่มความกังวลการเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน (Stagflation) ภาวะปัจจุบันที่เงินเฟ้อทำจุดสูงสุดในรอบ 40 ปี ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภค (consumer confidence) ต่ำสุดในรอบ 16 ปี และอยู่ท่ามกลางความกังวลว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจมีความเสี่ยงจะชะลอ ซึ่งสภาวะดังกล่าวเข้าใกล้เงื่อนไขของการเกิดเศรษฐกิจชะงักงัน (Stagflation) ซึ่งในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดี จะได้แก่ ทองคำ, สินค้าโภคภัณฑ์ และกอง REITs (ตามลำดับ) ทั้งนี้ความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดประมาณการบจ.และแรงกดดันจากการลดสภาพคล่องผ่านมาตรการทางการเงินของเฟด จะทำให้เงินลงทุนเกิดการปรับพอร์ต โดยบางส่วนจะไหลออกจากหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยง ขณะที่ในส่วนที่ยังอยู่ ก็มีโอกาสโยกย้ายไปยังกลุ่มที่มี กระแสเงินสดจากการดำเนินงานมั่นคง และสามารถส่งผ่านกระแสเงินสดมายังผู้ลงทุนผ่านรูปแบบของเงินปันผล
ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE 2) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR 3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO 4) หุ้นกลุ่มที่ปรับลดลงมามาก หรือเก็งราคาน้ำมันลง SCGP, BJC, EPG, SCC, BGRIM, GPSC 5) หุ้นเด่นกลุ่มพลังงาน OR 6) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, GFPT, TFG, TU, KSL, KTIS, KBS, BIS 7) กลุ่มขนส่ง WICE, LEO, NCL, MOONG และ 8) กลุ่มการเงิน MTC, SAWAD, TIDLOR, KCAR, THANI, TSR
ภาพรวมกลยุทธ์: น่าจะเห็นการหลุด 1,630 จุด ซึ่งจะทำให้กรอบการเก็งกำไรจะปรับลงเป็น 1,600-1,630 จุด การเก็งกำไรเน้นเลือกหุ้นรายตัว ระยะสั้นกลุ่มพลังงานกลับมามีโมเมนตัมที่ดีในการช่วงประคองบรรยากาศเก็งกำไร ขณะที่การลงทุนเน้นในหุ้นใหญ่พื้นฐานดีที่ valuation ไม่แพงหรือกระแสเงินสดสูงที่สามารถจำกัด downside risk ได้เป็นหลัก โดยใช้จังหวะปรับลดลงแรงในการทยอยซื้อหรือสะสมรายตัว
หุ้นแนะนำ: VRANDA*, DMT*, WHART*
แนวรับ: 1,605-1,630 / แนวต้าน : 1,643 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
ประเด็นการลงทุน
- แบงก์ชาติเยอรมนีลดคาดการณ์ GDP ปี 65 ลงกว่าครึ่ง สู่ระดับ 1.9% – พร้อมคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของภาคครัวเรือน
- ราคาน้ำมันในสหรัฐฯแตะ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อแกลลอน เป็นครั้งแรก – และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นต่อเนื่องในอนาคต การปรับตัวขึ้นเกิดจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น หลังการเปิดเมืองและปริมาณน้ำมันที่ลดลง ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามในยูเครน
- แก้ไขภาษีรถยนต์ทั้งระบบ ส่งเสริมรถอีวี ยังคงใช้รถสันดาปต่ออีก 3 ปี – ภาษีสรรพสามิตใหม่สนับสนุน รถอีวี-กระบะอีวี มีผลทันทีลดภาษีจาก 8% เหลือ 2% ยังคงอุ้มรถสันดาปต่ออีก 3 ปี เริ่มใช้ปี 2569 ยังอิง CO2 ค่ายไหนทำไม่ได้ เสียอัตราภาษีเพิ่มเป็นขั้นบันได
- อดีตประธานกทช. ส่งหนังสือถึงกสทช. ด้านควบรวมทรู – นายประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ อดีตประธาน กทช. ได้ยื่นหนังสือถึงนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. คัดค้านต่อกรณีควบรวมกิจการ TRUE กับ DTAC เนื่องจากการควบรวมกิจการทำให้สภาพตลาดมีการกระจุกตัวสูง
- กลุ่มน้ำตาล KSL รายงานกำไรไตรมาส 2/65 (สิ้นสุด 30 เม.ย.) ที่ 415 ล้านบาท + 25% QoQ, +305% YoY โดยหลักมาจาก 1) รายได้จากการขายน้ำตาลที่เพิ่มตามผลผลิตปีนี้ ซึ่งปริมาณการขายเพิ่มขึ้น 99% YoY ขณะที่ราคาขายเพิ่มขึ้น 7% YoY โดยสัดส่วนการส่งออกคิดเป็น 69% ของปริมาณการขายทั้งหมด เทียบกับปีก่อนที่เพียง 28% 2) รายได้จากการขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น 19% YoY // เรามองงบ KSL ที่ดีอาจสร้างจิตวิทยาเชิงบวกต่อการเก็งกำไรหุ้นกลุ่มน้ำตาลอื่น
- Opportunity day – 13 มิ.ย. SMT, CPANEL, D, SSP / 14 มิ.ย. IP, LHK, GLOCON, ARROW, YGG / 15 มิ.ย. SEAOIL, TRC, EPG, SELIC / 16 มิ.ย. VRANDA, JR, MENA, IND, UBE, FN / 17 มิ.ย. SKE, FVC, GPI
- ตลท.ให้ CMO ใช้เกณฑ์ cash balance – ตั้งแต่ 13 มิ.ย. – 1 ก.ค.
ประเด็นติดตาม: 14 มิ.ย. – US PPI / 15 มิ.ย. – US Retail Sales, Fed Interest Rate Decision / 16 มิ.ย. – US Building Pemits, US Initial Jobless Claims / 17 มิ.ย. – EU CPI, Fed Chair Powell Speaks
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)
ประเด็นลงทุนสําหรับหุ้นแนะนำ
- เก็งกำไร VRANDA* (8) : ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุด และทยอยปรับดีขึ้น ในขณะที่ปีหน้าจะมีแรงหนุนจากโครงการคอนโด ตัดขาดทุน 7.90 บาท
- เก็งกำไร DMT* (13) : ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวตามการเปิดเมือง และมีความเสี่ยงปรับลดประมาณการต่ำ ตัดขาดทุน 10.80 บาท
- เก็งกำไร WHART* (12) : ผลประกอบการมั่นคง ขณะที่กลุ่ม REITs มักทำผลงานได้ดีในสภาวะที่ตลาดกังวลเศรษฐกิจชะงักงัน ตัดขาดทุน 9.50 บาท
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)
Market News & Factors
- ตลาดหุ้นสหรัฐ – ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 800 จุดในวันศุกร์ (10 มิ.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงเกินคาด ซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และ จะส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย (อินโฟเควสท์)
- ตลาดหุ้นยุโรป – ตลาดหุ้นยุโรปปิดทรุดตัวลงในวันศุกร์ (10 มิ.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด ซึ่งเพิ่มความวิตา ว่า จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นเพื่อ สกัดกั้นเงินเฟ้อ (อินโฟเควสท์)
- ตลาดหุ้นญี่ปุ่น – ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดร่วงลงเปิดวันแรกในนรอบ 6 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรป หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นการขึ้น ดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 ปี (อินโฟเควสท์)
- ตลาดน้ำมัน – สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันศุกร์ (10 มิ.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากการที่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นรับข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐที่พุ่งขึ้นเกินคาด (อินโฟเควสท์)
- สหรัฐเผยดัชนี CPI ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พุ่งเกินคาด – ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 8.6% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดครั้งใหม่ในรอบ 40 ปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.3% (อินโฟเควสท์)
- แบงก์ชาติเยอรมนีลดคาดการณ์ GDP ปี 65 ลงกว่าครึ่ง สู่ระดับ 1.9% – พร้อมคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของภาคครัวเรือน (อินโฟเควสท์)
- สี จิ้นผิง ยังคงรักษาสมดุลเศรษฐกิจจีน – ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน กล่าวในระหว่างการเยือนมณฑลเสฉวนว่า รัฐบาลจีนจำเป็นต้องรักษาสมดุลระหว่างการบรรลุเป้าหมายการควบคุมโควิด-19 เป็นศูนย์ และการกระตุ้นเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง เพื่อให้สังคมและเศรษฐกิจของจีนยังคงมีเสถียรภาพ (อินโฟเควสท์)
- ราคาน้ำมันในสหรัฐฯ แตะ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อแกลลอนเป็นครั้งแรก – และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นต่อเนื่องในอนาคต การปรับตัวขึ้นเกิดจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นหลังการเปิดเมือง และ ปริมาณน้ำมันที่ลดลง ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามในยูเครน (cnbc)
- แก้ไขภาษีรถยนต์ทั้งระบบส่งเสริมรถอีวี ยังคงใช้รถสันดาปต่ออีก 3 ปี – ภาษีสรรพสามิตใหม่สนับสนุนรถอีวี-กระบะอีวี มีผลทันทีลดภาษีจาก 8% เหลือ 2% ยังคงอุ้มรถสันดาปต่ออีก 3 ปี เริ่มใช้ปี 2569 ยังอิง CO2 ค่ายไหนทำไม่ได้ เสียอัตราภาษีเพิ่มเป็นขั้นบันได (ประชาชาติ)
- อดีตประธานกทช. ส่งหนังสือถึงกสทช. ด้านควบรวมทรู – นายประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ อดีตประธาน กทช. ได้ยื่นหนังสือถึงนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. ต่อกรณีควบรวมกิจการ TRUE กับ DTAC เนื่องจากนักวิชาการหลายราย รวมถึง ทีดีอาร์ไอ ให้ ข้อมูลว่า การควบรวมกิจการทำให้สภาพตลาดมีการกระจุกตัวสูง คือการผูกขาดรายเดียว (อินโฟเควสท์)
- ตลท.ให้ CMO ใช้เกณฑ์ cash balance – ตั้งแต่ 13 มิ.ย.-1 ก.ค. (อินโฟเควสท์)
Report & Corporate News
- KTB Downgraded HOLD TP: 16.40 บาท – เราคาดว่า KTB จะประกาศกำไรสุทธิใน 2Q22 ที่ประมาณ 6.3 พันล้านบาท (-29% qoq, +4% yoy) รายได้ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว qoq น่าจะมีสาเหตุหลักมาจาก credit cost ที่สูงขึ้น แม้ว่าเราจะปรับเพิ่มแนวโน้มกำไรในปี 2022-24 ของ KTB ขึ้น 0.8-5.0% แต่เราเชื่อว่าราคาหุ้นปัจจุบันของ KTB มี upside ที่จํากัด ปรับลดคำแนะนําเป็น ถือ ราคาเป้าหมาย: 16.40 บาท
- CPN – บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้นำเบอร์หนึ่งอสังหาริมทรัพย์ไทยเพื่อความยั่งยืน และผู้พัฒนา ธุรกิจศูนย์การค้าเซ็นทรัล, ที่พักอาศัย, อาคารสำนักงาน และโรงแรมทั่วประเทศ เดินหน้ากลยุทธ์ “Retail – Led Mixed-Use Development” พัฒนาธุรกิจโรงแรมตามแผน 5 ปี รวม 37 โครงการ 27 จังหวัด ด้วยงบลงทุนรวม 10,000 ล้านบาท มุ่งมั่นสร้างมาตรฐานใหม่การพักอาศัยโรงแรมพร้อมบุกเบิก “เศรษฐกิจการเดินทาง” (Travel Ecosystem) เพื่อตอบโจทย์ที่มากกว่าการท่องเที่ยว แต่ครอบคลุมทุกจุดประสงค์ทั้งการพักผ่อน, ทำธุรกิจ และทำงาน ย้ำความเป็นผู้นำของเซ็นทรัลพัฒนาในการส่งเสริมศักยภาพของเมืองต่างๆ ทั้งเมืองหลัก เมืองรอง เมืองท่องเที่ยว และเมืองอุตสาหกรรม รวม 27 จังหวัดทั่วประเทศ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น และคาดว่าจะช่วยเพิ่มการจ้างงานได้ 3,900 คน (อินโฟเควสท์)
- BGRIM – บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเข้าลงทุนในธุรกิจด้านพลังงานทดแทนในประเทศมาเลเซีย หลังจากเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 B.Grimm Power (Malaysia) Sdn. Bhd. (B.Grimm Malaysia) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ บี.กริม เพาเวอร์ ถือหุ้น 100% ได้ทำ สัญญาจองซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของ reNIKOLA Holdings Sdn. Bhd. (reNIKOLA) ผู้พัฒนาโครงการ โรงไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วน 45% ภายใต้มูลค่าการซื้อขายรวม 367 ล้าน มาเลเซียริงกิต SBU Power, RE Gebeng และ Halpro Engineering เป็นเจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 28 เมกะวัตต์ และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว 21 ปี กับ Tenaga Nasional Berhad (บริษัทสาธารณูปโภคไฟฟ้าแห่งเดียวในประเทศมาเลเซีย) (อินโฟเควสท์)
- RAM – บมจ.โรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 มีมติเพิ่มทุนจดทะเบียนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) เพื่อรองรับการเสนอขายหุ้นต่อบุคคลในวงจำกัด โดยลดทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 126 ล้านบาท เป็น 120 ล้านบาท และ เพิ่มทุน 6 ล้านบาท เป็น 126 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญจำนวน 60 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 5% มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท เพื่อรองรับการเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) เพื่อเสนอขายให้แก่ บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) (อินโฟเควสท์)