สรุปภาวะตลาด
วันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีเปิดโดดลงในแดนลบราว -21 จุด และเร่งตัวลงในแดนลบลงต่ำสุดราว -33 จุด จากความกังวลตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐที่รายงานในวันศุกร์ที่ผ่านมา ออกมาสูงกว่าตลาดคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าเฟดจะเร่งขึ้นดอกเบี้ย ทำให้มีแรงขายในตลาดสินทรัพย์เสี่ยงในหลายประเทศ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,600.06 จุด -32.56 จุด -1.99% มูลค่าการซื้อขาย 73,467 ลบ. ต่างชาติ -2,597.00 ลบ. TFEX -27,636 สัญญา ตราสารหนี้ +978.27 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 26 เซนต์ +0.2% ปิดที่ 120.93 ดอลลาร์/บาร์เรล ได้แรงหนุนจากมุมมองที่ว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกยังคงเผชิญภาวะตึงตัว อย่างไรก็ดี การซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการที่จีนกลับมาใช้มาตรการควบคุมโควิด-19 อย่างเข้มงวดอีกครั้งในกรุงปักกิ่ง จะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้นํ้ามันในประเทศ
+ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า ปธน. สหรัฐเตรียมเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียและอิสราเอลใน เดือนหน้า จะเข้าเฝ้ามกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ผู้ปกครองซาอุดีอาระเบียโดยพฤตินัยด้วย
+ จนท.สาธารณสุขของสหรัฐระบุว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของไฟเซอร์สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมีความปลอดภัย เป็นก้าวสำคัญในการเริ่มฉีดวัคซีนในกลุ่มเด็กเล็กของสหรัฐ
+ ยูเครนกำหนด 2 เส้นทางสำหรับส่งออกธัญพืชผ่านโปแลนด์และโรมาเนีย เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตอาหารโลก แม้ว่า ปัญหาคอขวดจะทำให้ห่วงโซ่อุปทานชะลอตัวก็ตาม
+ บอร์ดบีโอไอไฟเขียวโครงการลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท เร่งเดินหน้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดันผลิตอีวีแบบแบตเตอรี่ พร้อมยกระดับนิคมเดิม เพิ่มสิทธิประโยชน์ถือครองที่ดินดึงลงทุนต่างชาติ
+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 1,833 ราย ATK 2,006 ราย มีผู้เสียชีวิต 19 ราย รักษาหาย 2,155 ราย
ปัจจัยลบ –
– ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 876.05 จุด -2.79% กังวลว่าการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย
– ตลาดพันธบัตรสหรัฐเกิดภาวะ inverted yield Curve ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีดีดตัวสูงกว่าอายุ 10 ปี ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย. ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าธนากลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
– ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติชี้ขึ้นดอกเบี้ยช้าไปไม่ดี ต้องมองบริบทประเทศเป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องขยับตามต่างชาติ รับห่วงเงินเฟ้อพุ่งกระทบกลุ่มรายได้น้อย ทำเศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ต่อเนื่อง พร้อมออกมาตรการอุ้มเพิ่มเติม
– กระทรวงคลังเตรียมเสนอครม.อนุมัติเก็บภาษีขายหุ้นเร็วๆ นี้ เพื่อออกเป็นพระราชกฤษฎีกาบังคับใช้ ขณะที่ กฎหมายจะให้เวลา 90 วัน เพื่อให้โบรกเกอร์จัดทำระบบนำส่งภาษีให้กับกรมสรรพากร
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีวันนี้ปรับตัวลงตามทิศทางตลาดโลก โดยมีแรงขายในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก จากการที่นักลงทุนกังวลว่า เฟดจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม FOMC วันที่ 14-15 มิ.ย. นี้ คาดดัชนีวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 1,580-1,600 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- FTSE ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 17 มิ.ย.:
- FTSE ALL World Index : เข้า – ออก –
- Micro Cap Index เข้า BRI CIVIL HENG KTBSTMR PEACE SVT TKC TFM WFX ออก –
- กม. PDPA มีผลบังคับใช้ : HUMAN SECURE ITEL IIG INSET
- ปลดล็อกกัญชาเริ่ม 9 มิ.ย. : GUNKUL KWM RS BC IP DOD RBF JP
- FTSE SET Index ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 20 มิ.ย.:
- FTSE SET Large Cap Index : เข้า JTS ออก BTS
- FTSE SET Mid Cap Index: เข้า AAV BYD BTS FORTH NEX SABUY ONEE ออก IMPACT JTS
- กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง: KBANK SCB BBL KTB TISCO
หุ้นรายงานพิเศษ
STP <MAI/Industrials> (ไม่จัดอันดับ ราคาเหมาะสม 24.25 บาท)
***บล.โกลเบล็กเป็นผู้ร่วมจัดจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ซึ่งจะได้รับค่าธรรมเนียมในฐานะผู้จัดจำหน่าย
- ประกอบธุรกิจผลิตกล่อง 2 ชนิด 1) กล่องกระดาษออฟเซทแบบประกบฟูก และ 2) กระดาษออฟเซทแบบไม่ประกบฟูก เพื่อบรรจุอาหารทะเลแปรรูป และสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีสัดส่วนรายได้จากผู้ผลิตอาหารราว 94% ทั้งนี้บริษัทมีรายได้และกำไรสุทธิปี 2561-2564 อยู่ที่ 369-561 ลบ. และ 54-124 ลบ. ตามลำดับ โดยคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย CAGR ตลอด 4 ปีที่ 11% และ 23% ต่อปีตามลำดับ
- คาดรายได้และกำไรปี 2565 อยู่ที่ 617 ลบ. และ 134 ลบ. เติบโต 10%YoY และ 8%YoY ตามลำดับ โดยได้แรงหนุนจาก 1) การขยายตัวของการส่งออกอาหารสัตว์จะเติบโตราว 20% ในปี 2022 (ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย) 2) การขยายตัวของมูลค่าบรรจุภัณฑ์ในตลาดโลกขยายตัว 8% และ 3) การขยายกำลังการผลิตเพิ่มอีก 50% สู่ 74.6 ล้านแผ่นพิมพ์ต่อปีเพื่อลดการจ้างผลิตจากภายนอก (คาดแล้วเสร็จช่วงปลายปี 2565) ขณะที่คาดอัตรากําไรขั้นต้นจะปรับตัวลงเล็กน้อยจาก 38% สู่ระดับ 37.3% เนื่องจากมีการจ้างผลิตจากโรงงานภายนอก อีกทั้งการขยายกำลังการผลิตคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2565 ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันต่ออัตรากําไรขั้นต้น
- หุ้น IPO จํานวน 25.4 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 25.4 ของหุ้นทั้งหมด Par 1 บาท เสนอขายหุ้นละ 18 บาท (คิดเป็น P/E ที่ 11.3x) คิดเป็นมูลค่าการเสนอขาย 457 ล้านบาท วัตถุประสงค์การใช้เงิน 1.ใช้ในการขยายโรงงานและลงทุนเครื่องจักร และ 2. ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
หุ้นมีข่าว
(+) EA (Bloomberg consensus 90.00 บาท) เผยน้ำมันราคาพุ่งหนุนความต้องการใช้รถอีวีเพิ่ม แย้มมีองค์กรเข้าเจรจาจำนวนมาก เร่งส่งมอบรถให้ลอตเต้-BYD ไม่ต่ำกว่า 200 คัน Q2/2565 เตรียมสรุปพันธมิตรลุยรถบรรทุกไฟฟ้า Q3/2565 เล็งขยายโรงประกอบอีวี เพิ่มกำลังการผลิตขั้นต่ำ 1 หมื่นคัน (ที่มา ทันหุ้น)
(+) COLOR (Bloomberg consensus – บาท) จัดหนักธุรกิจภาคการเกษตร หลังกระทรวงสาธารณสุขประกาศปลดล็อกกัญชา-กัญชงไทย หนุนออเดอร์สินค้าถุงปลูก Magik Growth-ฟิล์มคัดกรองแสงในโรงเรือนปลูกกัญชาเพิ่ม เล็งขยายตลาดส่งออกกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปั้มผลงานโตก้าวกระโดด (ที่มา ทันหุ้น)
(+) ETE (Bloomberg consensus – บาท) ใส่เกียร์ชิงบิ๊กโปรเจ็กต์ 4 พันล้านบาท ล่าสุดโกยงานใหม่แล้วกว่า 1.04 พันล้านบาท ส่งซิกครึ่งปีหลังสดใส จ่อบุ๊กรายได้ขายไฟฟ้าเต็ม 17.47 เมกะวัตต์ พร้อมรับทรัพย์โรงงานไม้สับ ส่งซิกอยู่ระหว่างศึกษาลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่ม ปักหมุดดันรายได้ชนเป้าโต 30% (ที่มา ทันหุ้น)
(+) D (Bloomberg consensus 6.15 บาท) รับอานิสงส์นายกรัฐมนตรี หนุนไทยเป็น “Dental Hub” ดันยอดผู้ใช้บริการพุ่ง มองธุรกิจผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เชื่อไตรมาส 2/2565 ฟอร์มแจ่ม รับดีมานด์ทะลัก ปักธงปีนี้รายได้โต 25-30% จากปีก่อน หลังฐานลูกค้าหวนกลับ-โควิดคลี่คลาย (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 14 มิ.ย. ประชุมครม.
- 17 มิ.ย. ประชุมศบค.
- สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลง ยอดผลิตและส่งออกรถยนต์
- 22 มิ.ย. ธปท. เผยแพร่รายงานนโยบายการเงิน
- สัปดาห์ที่ 5 สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจ สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
- 27 มิ.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดประชุมนักวิเคราะห์ ครั้งที่ 2/2565
- 30 มิ.ย. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 14 มิ.ย. อียู รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนเม.ย. ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.
สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนพ.ค. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค.
- 14 – 15 มิ.ย. ประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาด FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ
- 15 มิ.ย. จีนรายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนพ.ค. ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.
อียู รายงานดุลการค้าเดือนเม.ย.
สหรัฐ รายงานยอดค้าปลีกเดือนพ.ค. ดัชนีภาคการผลิตเดือนมิ.ย. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ เดือนเม.ย. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
- 16 มิ.ย. ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประชุมนโยบายการเงิน ผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ คาดที่ประชุมจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25%
- 30 มิ.ย.โอเปกพลัสประชุมกำหนดนโยบายการผลิต