KS Daily View 17.06.2022 > หุ้นโลก หุ้นไทย ดิ่ง!กังวลเศรษฐกิจชะลอจากดอกเบี้ยขาขึ้น และ Real ขึ้นสูงสุดรอบ 2 ปี SET คาด 1550-1565 จุด หุ้นแนะนำ BEM

หลังการประชุม Fed ช่วงกลางสัปดาห์ เมื่อวานนี้ตลาดหุ้นทั่วโลกหลายแห่ง Rebound บวกขึ้นมาแค่ช่วงสั้นและถูก Take profit ในช่วงครึ่งหลังของการทำการซื้อ-ขายและพลิกกลับมาติดลบ(-) อาทิ ตลาดหุ้นจีน -0.6%DoD, อินเดีย -1.99% รวมถึง SET Index เมื่อวานเปิดสูง และถูกเทขาย และปรับลงรวม 32 จุด หรือ -2%DoD (ปรับลงเกือบทุก Sector หลักๆ คือ กลุ่ม ICT -2.8%DoD กลุ่มพลังงาน -2.4% ฯลฯ Sector ที่บวกมีเพียงท่องเที่ยว +0.2%) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นฝั่งพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐ เมื่อคืนพลิกกลับมาปรับลงทั้งดัชนี Dow jones -2.4%DoD, ดัชนี S&P-3.2%, Nasdaq -4%) ถ้าดูราย Sector ในดัชนี S&P ปรับลงเกือบทุกกลุ่ม หลักๆ คือกลุ่มพลังงาน -5.6% กลุ่ม consumer discretionary -4.7% กลุ่ม IT -4.1% ,ส่วนกลุ่มที่ลงน้อยสุดคือ Consumer staples -0.66% เนื่องจาก Walmart +1% ฯลฯ)

KS ประเมินว่าวันนี้ตลาดหุ้นโลกและเอเซียมีโอกาสที่จะถูกแรงกดดันต่อเนื่องจากการกลับมากังวลเรื่อง

1.) การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่สูง โดย Fed ส่งสัญญาณจะขึ้นอีก 75 bps ในการรอบ ก.ค. ส่วนการประชุม รอบ ก.ย., พ.ย. และ ธ.ค. Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 50 : 25 : 25 bps คาดว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐสิ้นปีนี้ จะอยู่ที่ 3.4% และสิ้นปี 2566 จะอยู่ที่ 3.8% อัตราดอกเบี้ยที่สูงจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง และทำให้คาดการณ์สหรัฐจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

2.) US Real yields หรือ Yield adjusted inflation ปัจจุบันขยับขึ้นมา +0.63% ทำจุดสูงสุดในรอบราว 2 ปี จากก่อนหน้า Real yields ติดลบมากกว่า 1 % มา 3 ปีนับตั้งแต่ช่วง Covid จากสถิติในอดีตหาก Real yields เป็นบวกและขึ้นแรงๆ พบว่าตลาดหุ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ จะปรับลง และจะ Sensitive กว่าประเด็น Inverted Yield Curve

ในส่วนของตลาดหุ้นไทย (SET Index) นับตั้งแต่มีประเด็นการเกิดสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนในช่วงต้นปี สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นไทย Outperformed มากเทียบประเทศอื่นๆ (โดยนับตั้งแต่ต้นปี (ytd) SET Index -5.8%ytd ติดลบน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ ตลาดหุ้นจีน -9.2%ytd, ฮ่องกง-9.8%ytd, อินเดีย -11%,ฟิลิปปินส์ -12.8% และเทียบกับยุโรป เยอรมัน และฝรั่งเศส -17%ytd, สหรัฐ -23.2%)
เนื่องจากกำไรบริษัทจดทะเบียนของไทย (โดยกลุ่มพลังงาน กำไรคิดเป็นสัดส่วนราว 31%ของกำไรทั้งหมด และกลุ่มนี้ได้ประโยชน์จากราคาพลังงานทั้งน้ำมัน ถ่านหิน แก็สธรรมชาติ ฯลฯ ที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น และตลาดมีการปรับเพิ่มคาดการณ์ EPS ขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี) อย่างไรก็ตามหากประเมินทิศาทางสภาพแวดล้อมดังกล่าว ทั้งจากราคาน้ำมันดิบไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ และมีแนวโน้มลดลงทั้งจากคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มขึ้น , ต้นทุนของบริษัทจดทะเบียนในช่วง 2Q65 ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาพลังงาน , ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย ที่เห็นสัญญาณจะปรับขึ้นในช่วง 3Q65 และค่าแรงขั้นต่ำของไทยที่มีโอกาสปรับขึ้น KS ประเมินว่าอาจจะทำให้ แนวโน้ม Market EPS จะเริ่มเห็น Trend การ Downgrade ในระยะถัดไป และจะเปิด Downisde ดัชนีเป้าหมาย (หากอิง Consensus Trend คาดการณ์ EPS มีทิศทางทรงตัว อยู่ที่ 96.63 บาทต่อหุ้น)

กลยุทธ์การลงทุน : KS ประเมินแนวรับสำคัญของตลาดในรอบนี้ หากดัชนีปรับลงมา 1500/ 1530 จุด เป็นจุดที่ทยอยสะสม กลุ่มโรงไฟฟ้า 1.) กำไรของกลุ่มธุรกิจได้แตะระดับต่ำสุดไปแล้วและคาดว่าอัตรากำไรจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการขึ้นค่า Ft สำหรับรอบที่ 2 และ 3 ในปี 2565 2.) เราประเมิน Bond yields ผ่านจุด Peak แนะนำ GULF, GPSC,BGRIM, กลุ่ม Defensive อาทิ กลุ่ม ICT แนะนำ TRUE, DTAC กลุ่มโรงพยาบาล อาทิ BH, BDMS กลุ่มส่งออกอาหาร อาทิ CPF, TU, ASIAN

ส่วนคำแนะนำ Sector ที่ชะลอลงทุน คือ กลุ่ม Global Play ที่ได้รับความกังวลจากเศรษฐกิจถดถอย อาทิ กลุ่มพลังงาน, กลุ่มปิโตรเครมี, กลุ่มยานยนต์, ธนาคาร, ค้าปลีก และกลุ่มที่เคยได้ประโยชน์จาก Work From home เช่นกลุ่ม Gadget อุปกรณ์ IT

มุมมองตลาดหุ้น SET คาด 1550-1565 จุด หุ้นแนะนำ BEM

Top pick :

BEM (ราคาพื้นฐาน 9.99 บาท) เราเชื่อว่า BEM มีแนวโน้มสดใสจาก 1) การฟื้นตัวของการจราจรจากการกลับมาเปิดประเทศ 2) การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวทางด่วนและเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดิน เช่น โครงการ QSNCC ใหม่ ห้างสรรพสินค้า คอนโดมิเนียม 3) การพัฒนาทางด่วนและเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่เพื่อป้อนสินทรัพย์ให้กับ BEM 4) ระบบ EMV จะลดอัตราค่าโดยสารโดยรวมให้กับลูกค้าของ MRT ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มจำนวนผู้โดยสาร MRT ให้กับ BEM และ 5) โครงการทางด่วนสองชั้นที่จะเพิ่มการจราจรและอาจนำไปสู่การขยายระยะเวลาสัมปทานซึ่งจะเพิ่ม upside ต่อราคาเป้าหมายปัจจุบันของเรา

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันศุกร์ ติดตาม ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด +0.4% MoM และถ้อยแถลงของ Fed Chair Powell
- Advertisement -