สรุปภาวะตลาด

วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวผันผวนในแดนบวกสลับลบ มีแรงขายมากในหุ้นกลุ่มพลังงานน้ำมัน และโรงกลั่น จากข่าวรัฐบาลขอโรงกลั่น-โรงแยกก๊าซส่งเงินช่วย 3 เดือน ส่วนหุ้นกลุ่มธนาคาร และโรงไฟฟ้ามีแรงซื้อเข้ามา โดยช่วงปิดตลาดมีการปรับดัชนี FTSE นักลงทุนยังคงกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐ อาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,59.39 จุด -1.71 จุด -0.11% มูลค่าการซื้อขาย 101,339 ลบ.ต่างชาติ -1,611.43 ลบ. TFEX -6,451 สัญญา ตราสารหนี้ -5,456.94 ลบ.

ปัจจัยบวก +

+ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) มีความมุ่งมั่น ‘อย่างไม่มีเงื่อนไข” ในการรักษาเสถียรภาพของราคา ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการรักษาตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง บ่งชี้ถึงแนวทางปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

+ เช้านี้ธนาคารกลางจีนประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ที่ระดับเดิม สวนทางกับธนาคารกลางทั่วโลกที่เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

+ รมว.พาณิชย์ เดินหน้าเปิดเจรจา EFTA ที่ประกอบด้วยประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ ขยายตลาดส่งออกใหม่ หลังประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนการส่งออกนำเงินเข้าประเทศถึง 8.5 ล้านล้านบาท ขยายตัว 17.1% ในปี 64

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 1,784 ราย ATK 2,345 ราย มีผู้เสียชีวิต 18 ราย รักษาหาย 2,166 ราย

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 38.29 จุด หรือ -0.13% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 4.6% ดัชนี S&P500 ร่วงลง 5.8% และดัชนี Nasdaq ร่วงลง 4.8% ดัชนีทั้ง 3 ตัวติดลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกันแล้วเนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังจากธนาคารกลางทั่วโลกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 8.03 ดอลลาร์ -6.83% ปิดที่ 109.56 ดอลลาร์/บาร์เรล และปิดร่วงลง 9.2% ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยปรับตัวลงเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยหุ้นกลุ่มทรัพยากรร่วงลงถ่วงตลาดมากที่สุด

– Conference Board บริษัทวิจัยธุรกิจเปิดเผยผลสำรวจบ่งชี้ว่า ซีอีโอส่วนใหญ่ทั่วโลกคาดว่า เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือถดถอยแล้ว ซึ่งสะท้อนถึงมุมมองของบรรดาผู้นำธุรกิจที่ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะซบเซามากขึ้น ขณะที่เงินเฟ้อยังคงพุ่งขึ้น

– กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดการส่งออกยานยนต์ของ ไทย ในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) ของปี 2565 ว่ามี มูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 222,020 ล้านบาท ลดลง 2.48%YoY คิดเป็นสัดส่วน 6.97% ของมูลค่าการ ส่งออกรวมทั้งประเทศ

– กระทรวงการคลังมีแนวคิดที่จะนำภาษีลาภลอย (Windfall Tax) มาศึกษาความเป็นไปได้อีกครั้ง ตามนโยบายการปฏิรูปโครงสร้างภาษีของประเทศ

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีวันนี้ยังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังจากธนาคารกลางทั่วโลกพยายามที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวลงแรง กดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดดัชนีวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 1,550-1,570 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • กม. PDPA มีผลบังคับใช้ : HUMAN SECURE ITEL IIG INSET
  • FTSE SET Index ประกาศหุ้นเข้า/ออก มีผลวันที่ 20 มิ.ย.:
    • FTSE SET Large Cap Index : เข้า JTS ออก BTS
    • FTSE SET Mid Cap Index: เข้า AAV BYD BTS FORTH NEX SABUY ONEE ออก IMPACT JTS
  • กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง KBANK SCB BBL KTB TISCO

หุ้นรายงานพิเศษ

BE8 -“ธุรกิจเติบโตบน Mega Trend ของการทำ Digital Transformation”

(IAA Consensus 69.00 บาท) Upside ราว 35% แนะนำ “ซื้อ”

  • บริษัทรายงานรายได้และกำไรงวด 1Q65 เท่ากับ 123.8 ลบ. +42%YoY +180 และ 23.8 ลบ. +39%YoY +8%QoQ ทํา New High ต่อเนื่อง โดยปัจจัยเติบโตหลักมาจากการขยายฐานลูกค้าต่อเนื่อง ประกอบกับทยอยรับรู้งานโครงการขนาดใหญ่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทยมูลค่า 440 ลบ. ที่บริษัทเพิ่งได้รับเมื่อปลายปี 64
  • คาดแนวโน้มรายได้ 2Q65 เติบโตต่อเนื่อง YoY และ QoQ ทยอยรับรู้จาก Backlog ที่ทำ New High โดย ณ สิ้นงวด 1Q65 จำนวนกว่า 560 ลบ. และงานใน Pipeline อีกกว่า 560 ลบ. นอกจากนี้เมื่อช่วงต้นเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา บริษัทได้เซ็นสัญญาอีก 2 ดีล คือ 1) ร่วมมือกับบริษัท พีทีที ดิจิตอล ไปรษณีย์ไทย จํากัด เพื่อร่วมกันพัฒนาบริการด้านงานดิจิทัล ขณะที่ ดีลซื้อ X10 คาดจะแล้วเสร็จช่วง 3Q65 หลังควบรวมงบการเงินจะทำให้รายได้เพิ่มอีกเท่าตัว และยังมี Synergy อื่นๆ อาทิ แชร์ต้นทุน ขยายฐานลูกค้า และเข้าสู่ ตลาด Premium เป็นต้น
  • BE8 x X10 มูลค่าลงทุน 620 ลบ. มีแหล่งเงินทุนจาก 1) เงินสด 50 ลบ. และ 2) Share Swapping 570 ลบ. โดยการทํา PP ที่ราคา 39.10 บาท จำนวน 14.6 ล้านหุ้น ซึ่งจะทําให้ราคา Dilute ราว 6.8%
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อแนวโน้มการเติบโตปี 65 โดย Bloomberg Consensus คาดกำไร 137 ลบ. +67%YoY ขณะที่อีก 3 ปีจากนี้ บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 5 เท่าตัวสู่ 2 พันลบ. ซึ่งเราคาดว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะเติบโตถึงเป้าหมาย ทั้งจากการควบรวมกับ X10 และดีลความร่วมมืออื่นๆ ประกอบกับธุรกิจอยู่ใน Mega Trend ของการทํา Digital Transformation ที่มีการเติบโตสูง โดย IAA Consensus ประเมินราคาเหมาะสม 69 บาท Upside ราว 35% แนะนำ “ซื้อ”

หุ้นมีข่าว

(+) SIS (Bloomberg consensus 33.00 บาท) ชี้ไอทีเติบโตต่อเนื่อง ประกาศเน้นธุรกิจความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์โตมาร์จิ้นสูง PDPA ดันดีมานด์พุ่งด้านคลาวด์เซอร์วิสพันธมิตรอเมซอนหนุน ปีหน้าแรง ชู Xiaomi รุกไทยคลอดสินค้าเพียบ มีโอกาสจำหน่ายรถไฟฟ้าของ Xiaomi ด้วย (ที่มา ทันหุ้น)

(+) OR (Bloomberg consensus 28.45 บาท) จัดงบ 1,105 ล้านบาท อัพฐานเข้าลงทุน บริษัท เค-เน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจจำหน่ายเครื่องซักผ้า และเครื่องอบผ้าแบบอุตสาหกรรม และกิจการร้านสะดวกซักภายใต้แบรนด์ “อ๊อตเทริ วอช แอนด์ดราย” มีสาขาทั้งสิ้น 670 แห่ง ตั้งเป้าขยายสาขาเพิ่มเติมทั้งในและนอก ปั้ม พีทีที สเตชั่น หนุนผลงานแกร่ง

ความเห็น มีการกระจายพอร์ตการลงทุนต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้และกำไรจาก Non-oil ในระยะสั้นอาจยังไม่เห็นผลบวกมากนักเนื่องจากเงินลงทุนเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับพอร์ตลงทุนของ OR แต่ในระยะยาวจะทำให้ลดการพึ่งพิงรายได้จากการจำหน่ายน้ำมัน (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ATP30 (ราคาเหมาะสม 2.65 บาท) นำร่องเปิดบริการรถไฟฟ้าช่วงครึ่งหลัง 2565 หวังกดต้นทุนลดฮวบ เร่งสร้างประสิทธิภาพด้านบริการ คุมต้นทุนให้รัดกุม คาดช่วยลดได้ 10% ใส่เกียร์ธุรกิจใหม่รับจ้างบริหาร แพลตฟอร์มปล่อยเช่ารถ EV (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SMPC (Bloomberg consensus 18.00 บาท) รับอานิสงส์บาทอ่อนหลังมีสัดส่วนการส่งออกกว่า 95% ขณะที่ดีมานด์ถังแก๊สเติบโตดี ชูตลาดสหรัฐทำเงิน พร้อมเดินหน้าบริหารจัดการต้นทุน มั่นใจปริมาณขายปีนี้ชน 8 ล้านใบ มองมาร์จิ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังขยายไลน์การรับงานถังประเภท อื่นเพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการ ส่งออก-น่าเข้า
  • 22 มิ.ย. ธปท. เผยแพร่รายงานนโยบายการเงิน
  • 23 มิ.ย. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดผลิตและส่งออกรถยนต์
  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจ สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) แถลงดัชนี ผลผลิตอุตสาหกรรม
  • 27 มิ.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดประชุมนักวิเคราะห์ ครั้งที่ 2/2565
  • 30 มิ.ย. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 20 มิ.ย. ธนาคารกลางจีนกำหนดอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ LPR
  • 21 มิ.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจทั่ว ประเทศเดือนพ.ค.จากเฟดชิคาโก ยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ค.
  • 23 มิ.ย. อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการขั้นต้นเดือนมิ.ย. จากเอสแอนด์พี โกลบอล

สหรัฐ รายงานจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการขั้นต้นเดือน มิ.ย.จากเอสแอนด์พี โกลบอล สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)

  • 24 มิ.ย. สหรัฐรายงานยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
  • 30 มิ.ย.โอเปกพลัสประชุมกำหนดนโยบายการ ผลิต
- Advertisement -