Our View? “แค่ช่วงรีบาวด์”

คาดตลาดวันนี้ “รีบาวด์ในกรอบจำกัด” มองแนวรับที่บริเวณ 1,560 / 1,550 และแนวต้านที่บริเวณ 1,580 / 1,590 คาดตลาดอาจได้รับจิตวิทยาการลงทุนเชิงบวกจากแรงซื้อหุ้นคืนของตลาดหุ้นสหรัฐ หลังปรับตัวลดลงแรงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เราคาดการฟื้นตัวขึ้นของตลาดยังมี Upside ที่จำกัดจากรอดู นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) แถลงนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐรอบครึ่งปีต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาและคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 22-23 มิ.ย. คาดมีโอกาสส่งสัญญาณปรับใช้นโยบายทางการเงิน เพื่อรับมือกับการเร่งตัวขึ้นของภาวะเงินเฟ้อต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะกระตุ้นตลาดให้กลับมากังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยได้ในระยะถัดไป สอดคล้องกับ Goldman Sachs เปิดเผยปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในช่วงปีหน้าที่ระดับ 30.0% เพิ่มขึ้นจากระดับก่อนหน้าที่ระดับ 15.0% เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหลของ US Bond Yield ที่ยังเกิดภาวะ Inverted Yield Curve ต่อเนื่อง โดยอัตราผลตอบแทนรุ่นอายุ 5 และ 7 ปี ปรับตัวขึ้นสูงกว่ารุ่นอายุ 10 และ 30 ปี คาดจะกดดัน-จํากัด Upside ทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยงได้อยู่

ขณะที่ราคาน้ำมันดิบที่ค่อนข้างตึงตัว หลัง ปธน.โจ ไบเดน ได้ยื่นจดหมายต่อบริษัทน้ำมันรายใหญ่ 7 แห่ง ให้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน เพื่อเพิ่มอุปทานเข้าสู่ตลาด และกดดันราคาน้ำมันอ่อนตัวลง รวมทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีโอกาสชะลอตัวลงจากการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางที่สำคัญของโลก คาดจะกดดันอุปสงค์นํ้ามัน ผสานแนวโน้มการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน คาดจะเป็นปัจจัยหลักช่วยเพิ่มอุปทานน้ำมันดิบระยะยาวได้ในระยะถัดไป คาดจะเป็นปัจจัยกดดัน-จำกัด Upside ราคาน้ำมัน-หุ้นในกลุ่มพลังงานอ่อนตัวลงได้ อย่างไรก็ตาม เรามองทิศทางราคาน้ำมันที่เริ่มจำกัด Upside มากขึ้นจะเป็นจิตวิทยาเชิงบวกต่อหุ้นที่มีต้นทุนเป็นน้ำมัน อาทิ หุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้า (GULF, BGRIM และ GPSC) และสายการบิน (AAV และ BA) คาดมีโอกาสฟื้นตัวขึ้นได้แบบค่อยเป็นค่อยไป

ในส่วนของปัจจัยในประเทศ เรามองค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยล่าสุดอ่อนค่าขึ้นทดสอบระดับ 35.50 คาดจะกดดันทิศทางกระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกได้ต่อเนื่อง กดดันภาพรวมทิศทางตลาดหุ้นไทย อย่างไรก็ตาม เป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นในกลุ่มส่งออกอาหารได้ต่อ (CPF, TFG, GFPT, TU, ASIAN และ CFRESH) ขณะที่วันนี้แนะนำติดตามการประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาภายของ สบค. เกี่ยวกับมาตรการควบคุมเพดานดอกเบี้ยธุรกิจเช่าซื้อ คาดจะมีโอกาสกำหนดเพดานดอกเบี้ย Effective rate เป็น 15% สําหรับรถยนต์ใหม่ และ 20% สำหรับรถยนต์เก่า รวมทั้งพยายามกําหนดเพดานดอกเบี้ยของรถจักรยานยนต์ที่ระดับ 30% คาดจะเริ่มบังคับใช้ในช่วงปลายปี มองเป็นปัจจัยลบต่อหุ้นในกลุ่มเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ (S11, TK และ NCAP) ทั้งนี้เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มธนาคารกลาง (KBANK, SCB และ BBL) จากแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ในการประชุม กนง. เดือน ส.ค. หลังมองเศรษฐกิจไทยและความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ทำให้ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วกว่าที่ตลาดคาดก่อนหน้า

ธีมการลงทุน “Selective Play”

หุ้นแนะนําวันนี้ “TU”

กลยุทธ์ ซื้อสะสม 17.40 /17.00 Target 18.50 / 19.30 Stop <16.80

- Advertisement -