บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):

Bank Sector จากปัจจัยภายนอกกดดัน

Event

งบดุลเดือนพฤษภาคม 2565

Impact

ธนาคารพากันลดสถานะลงทุน

หลังจากที่ตลาดพันธบัตรผันผวน และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งสูงขึ้น ธนาคารส่วนใหญ่จึงปรับลดพอร์ตการลงทุนลง (-2.6% MoM และทรงตัว YTD) โดยเฉพาะ SCB ซึ่งลดลงมาที่สุดถึง 10% อย่างไรก็ตาม มีเพียง KKP เท่านั้นที่เพิ่มสถานะลงทุน (+28% MoM และ +106% YTD) ซึ่งการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรขยับสูงขึ้นอาจจะกดดันให้บริษัทต้องบันทึกผลขาดทุนจากการลงทุนแบบ MTM

สินเชื่อยังซบเซา

ธนาคารทุกแห่งยังคงระมัดระวังในการขยายสินเชื่อ โดยสินเชื่อธนาคารขยายตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (+0.2% MoM) นําโดย KBANK (+1% MoM และ +2.5% YTD) และ KKP (+1% MoM และ +10% YoY) อย่างไรก็ตาม สินเชื่อของ KTB หดตัวลง (1% MoM และทรงตัว YoY) ซึ่งต่ำที่สุดในกลุ่มธนาคาร สะท้อนถึงการเบิกถอนเงินกู้ที่ชะลอลงของภาครัฐ ในขณะเดียวกัน สินเชื่อของ BBL แทบไม่เปลี่ยนแปลงเลยทั้ง QoQ และ YoY

ธนาคารยังปล่อยกู้ในตลาดเงินอย่างคึกคัก

ฐานเงินฝากของธนาคารขยายตัวในเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะของ SCB และรองลงมาคือ KBANK ในขณะที่สินเชื่อยังซบเซา ดังนั้นสภาพคล่องในส่วนนี้จึงไหลไปปล่อยกู้ในตลาดเงิน โดยสถานะปล่อยกู้ในตลาดเงินยังคงคึกคักต่อเนื่อง (+11% MoM และ +24% YTD) โดย BBL มีการโยกเงินบางส่วนจากการลดพอร์ตการลงทุนมาปล่อยกู้เพิ่มในตลาดเงินแทน

Valuation and action

เรามองบวกกับราคาหุ้นในปัจจุบันของธนาคารขนาดใหญ่ (ยกเว้น BBL) โดยปัจจัยกระตุ้นด้านบวก ได้แก่ 1) รายได้ภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น 2) อุปสงค์ pent-up demand ที่เพิ่มขึ้น 3) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เร่งตัวขึ้น ช่วยกระตุ้นการบริโภค และ 4) recovery rate ของ NPL ดีขึ้นจาก JV-AMV เราคิดว่าภาวะตลาดในปัจจุบันจะส่งผลดีกับธนาคารขนาดใหญ่มากกว่า โดยเฉพาะ KBANK และ KTB

Risks

NPL เพิ่มขึ้น และกันสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุนจาการลงทุนแบบ MTM

- Advertisement -