สรุปภาวะตลาด
วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวกตลอดช่วงการซื้อ-ขาย ตลาดรีบาวด์หลังจากดัชนีลงมาเคลื่อนไหวในโซนล่างช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีแรงซื้อกลับมาเร่งตัวในภาคบ่าย จากหุ้น Big Cap. ทั้งหุ้น กลุ่มไอซีที โรงไฟฟ้า และวัสดุก่อสร้างอย่าง SCC, ADVANC ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,568.76 จุด +11.15 จุด +0.72% มูลค่าการซื้อขาย 65,946 ลบ. ต่างชาติ -1,145.32 ลบ. TFEX +5,631 สัญญา ตราสารหนี้ -635.54 ลบ.
ปัจจัยบวก +
+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 823.32 จุด +2.68% นลท. คลายกังวลแผนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) หลังจากเศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัว และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลง
+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 3.35 ดอลลาร์ +3.2% ปิดที่ 107.62 ดอลลาร์/บาร์เรล ได้แรงหนุนจากความ วิตกครั้งใหม่เกี่ยวกับปริมาณน้ำมันที่ตึงตัว
+ FED เปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ประจำปีของภาคธนาคาร โดยระบุว่าธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐสามารถผ่านการทดสอบดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าเฟดยังคงมีความเชื่อมั่นต่อภาคธนาคาร
+ คณะกรรมการการศึกษาของกรุงปักกิ่งเปิดเผยว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทุกคนในกรุงปักกิ่งสามารถกลับเข้าช้ันเรียนได้แล้วต้ังแต่วันจันทร์ที่ 27 มิ.ย. เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันน้ี พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 1,735 ราย มีผู้เสียชีวิต 15 ราย รักษาหาย 2,138 ราย
ปัจจัยลบ –
– ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดิ่งลงสู่ระดับ 50.0 ใน เดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูล ดังกล่าวในช่วงทศวรรษ 1940 และต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 50.2 หลังจากแตะระดับ 58.4 ในเดือนพ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นดังกล่าวต่ำกว่าที่นักวิเคราะหค์าดที่ระดับ 50.2 ด้วย
– รัสเซียผิดนัดชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศเป็นคร้ังแรกในรอบกว่า 1 ศตวรรษ หรือนับต้ังแต่ปี 2461 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ชาติตะวันตกประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย ซึ่งรวมถึงการปิดช่องทางการชำระหนี้ให้กับกลุ่มเจ้าหนี้ที่ต่างประเทศ เพื่อตอบโต้รัสเซียที่ใช้กำลังทหารรุกรานยูเครน
– WHO ยืนยันว่าขณะนี้มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงแล้วกว่า 3,200 ราย ทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ขณะที่ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO กล่าวว่า จำเป็นอย่างย่ิงที่จะต้องมีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดในชุมชนเป็นวงกว้างขึ้น
– เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐเปิดเผยว่า กลุ่มประเทศ G7 ได้เตรียมส่ังห้ามการนำเข้าทองคำจากรัสเซีย เพื่อเพิ่มแรงกดดันให้รัสเซียยุติสงครามในยูเครน
– ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารสดพุ่งขึ้น 2.1%YoY ในเดือนพ.ค.สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ของ BOJ ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากราคาพลังงาน และอาหารปรับตัวสูงขึ้น
– รัสเซียผิดนัดชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ศตวรรษ ซึ่งเป็นผลจากชาติตะวันตกประกาศคว่ำบาตร และปิดช่องทางการชำระหนี้ให้กับกลุ่มเจ้าหนี้ต่างประเทศ เพื่อตอบโต้รัสเซียที่ใช้กำลังทหารรุกรานยูเครน
– นักวิชาการวิจารณ์นโยบายที่กระทรวงพาณิชย์คุมราคาสินค้า ทำให้ผู้ประกอบการขาดทุน ลดกำลังการผลิต ส่งผลให้สินค้าขาดตลาดในที่สุด
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันน้ีมีโอกาสปรับตัวตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยมีแรงหนุนจากนักลงทุนคลายกังวลเก่ียวกับ แผนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ Rebound ช่วยพยุงหุ้นกลุ่มพลังงาน มองกรอบการเคลื่อนไหวในวันน้ี 1,560-1,575 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- กม. PDPA มีผลบังคับใช้ : HUMAN SECURE ITEL IIG INSET
- กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง KBANK SCB BBL KTB TISCO
- ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นท่องเท่ียวของภาครัฐ : ERW CENTEL BA AAV AOT ASAP SPA
- หุ้นที่เข้าคำนวณดัชนีครึ่งปีหลัง:
- SET50 เข้า BLA JMT JMART ออก COM7 RATCH STGT
- SET100 เข้า FORTH ONEE PSL TIPH ออก BPP RS SIRI TVO
หุ้นรายงานพิเศษ
SAPPE – Bloomberg Consensus 38.00 บาท “คาดผลประกอบการ 2Q65 โตทั้ง YoY QoQ”
- รายงานกำไรงวด 1Q65 เท่ากับ 153 ลบ. +77%YoY +177%QoQ จากรายได้เท่ากับ 1,143 ลบ. +40%YoY +25%QoQ ทำ New High รายไตรมาส โดยมีปัจจัยหลักจากยอดขายในต่างประเทศ (สัดส่วน 75% ของรายได้รวม) เติบโตกว่า 70% จากการขยายฐานลูกค้าและขยายการจัดจำหน่ายสู่ช่องทาง Modern Trade มากขึ้น นอกจากน้ี % GPM ปรับดีขึ้นสู่ 41.2% (1Q64 = 37.4%, 4Q64 = 39.2%) จากเงินบาทที่อ่อนค่า และ %U.rate ที่สูงขึ้น
- แนวโน้มปี 65 ผบห. ปรับเพิ่มเป้าการเติบโตของรายได้สู่ 15- 20% จากเดิมที่ 10-15% โดยหลักยังคงเน้นการเติบโตในต่างประเทศ โดยเฉพาะโซนยุโรป ที่ยังได้กระแสตอบรับดี พร้อมกับการขยายจุดจำหน่ายสินค้ามากขึ้น ขณะที่แนวโน้ม 2Q65 คาดจะเติบโตทั้ง YoY และ QoQ จากการเข้าสู่ช่วง High Season ส่วน %GPM คาดยังทรงตัวสูงจากแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่า %U.rate ที่สูงขึ้น และการบริหารต้นทุน โดยบริษัทล็อกราคาต้นทุน PET Resin ล่วงหน้า ถึงราวเดือน ก.ค. อย่างไรก็ดี หากเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง อาจกระทบต่อต้นทุนการผลิตในช่วงครึ่งปีหลัง
- ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อผลประกอบการปี 65 ที่คาดจะเติบโตแข็งแกร่ง นอกจากน้ี ผบห.ตั้งเป้ารายได้สู่ 1 หมื่นลบ. ภายในปี 69 (รายได้ต่างประเทศ CAGR +15-20% และในประเทศ CAGR+10%) จากการขยายจุดและช่องทางขายสินค้า และขยายไปสู่กลุ่มประเทศอื่นๆ มากขึ้น ทั้งน้ี Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 65 ราว 479.5 ลบ. +17%YoY
หุ้นมีข่าว
(+) CBG (Bloomberg consensus 114.50 บาท) ผู้บริหาร CBG รับมาร์จิ้นดีด หลังต้นทุนอะลูมิเนียมลดลงแรง ชี้ทุกๆ การลดลง 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ดันกำไรตลาดต่างประเทศเพิ่ม 1% ชูงบไตรมาส 2/2565 สดใสยอดฟื้น จีนและ CLMV ฟื้น เดินหน้าออกสินค้าใหม่ต่อเนื่อง ก.ค.นี้ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) SABUY (Bloomberg consensus 50.00 บาท) แม่ทัพ SABUY เปิดแผนปั้นธุรกิจโตกระโดด 2 หมื่นล้านบาทปีหน้า ชูกลุ่มโซลูชั่นและชาแนลเป็นพระเอก มีอีโคซิสเต็มช่องทางให้พาร์ตเนอร์โตเร็ว ถึงคิวธุรกรรมการเงิน เตรียมเปิดตัวตู้ CDM 8 กรกฎาคมนี้ ชี้ยังไม่รวมการเจรจาลงทุน 4 บจ. AMC ขายตรง ร้านขายคอมเมิร์ซ ที่จะดันปี 2567 แรงอีก แจก SABUY-W2 ฟรี ถือก่อน 1 กันยายน (ที่มา ทันหุ้น)
(+) OR (Bloomberg consensus 28.45 บาท) เซ็นสัญญาร่วมกับ “แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล” ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า EV Station PluZ ในโรงแรมและรีสอร์ตในเครือแมริออท ในประเทศไทย ตั้งเป้าติดตั้งรวม 30 แห่งทั่วประเทศ คาดว่าจะทยอยติดตั้งแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2/2566 (ที่มา ทันหุ้น)
(+) ASIAN (Bloomberg consensus 21.40 บาท) คาดแนวโน้ม Q2/65 ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงโตต่อเนื่อง เงินบาทอ่อนค่า หนุนอุปสงค์ครึ่งแรกของปีผ่านฉลุย เดินหน้าลงทุน 660 ล้านบาท ตามแผน พร้อมแผนเพิ่มกำลังการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงอีก 6,000 ตัน ในช่วง Q3/65 ปรับเป้ายอดขายทั้งปี คาดเติบโต 19% หรือ 1.12 หมื่นล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
- สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
- 27 มิ.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดประชุมนักวิเคราะห์ครั้งที่ 2/2565
- 30 มิ.ย. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 18-22 ก.ค. อภิปรายไม่ไว้วางใจ
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 27 มิ.ย. สหรัฐรายงานยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือน พ.ค. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน พ.ค. ดัชนีการผลิตเดือน มิ.ย.จากเฟด สาขาดัลลัส
- 2 8 มิ.ย. สหรัฐรายงานสต๊อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือน พ.ค. ดัชนีราคาบ้านเดือน เม.ย.จากเอสแอนด์พี / เคส-ชิลเลอร์ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย.จาก Conference Board
- 29 มิ.ย.อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย.
สหรัฐรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2565 (ประมาณการครั้งสุดท้าย) สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- 30 มิ.ย. โอเปกพลัสประชุมกำหนดนโยบายการผลิต
จีนรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือน มิ.ย.