บล.พาย:

KBANK: บมจ. ธนาคารกสิกรไทย มีแนวโน้มฟื้นตัวตามเดิม

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 174.00 บาท แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แต่ปัจจัยพื้นฐานของธนาคารยังยืดหยุ่นดี ด้วยการเติบโตของสินเชื่อและอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ที่มั่นคง คาดกำไรสุทธิ 2Q22 โตแข็งแกร่ง 31% YoY และ 4% QoQ ส่วนคุณภาพ สินเชื่อยังยืดหยุ่นดีด้วยอัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL ratio) ที่ต่ำและมีอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูงพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น

มีภาพรวมกำไรที่ดีใน 2Q22

  • คาดกำไรสุทธิที่ 1.17 หมื่นล้านบาทใน 2Q22 โต 31% YoY (+4% QoQ) ที่โตแข็งแกร่ง YoY มีสาเหตุมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่โตขึ้นและการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง ส่วนกำไรที่โตเล็กน้อย QoQ เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่โตขึ้นจากปริมาณสินเชื่อ และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่โตขึ้น ขณะที่คาดว่าอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ใน 2Q22 จะค่อนข้างทรงตัว QoQ ที่ 3.25% และคาดว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จะเพิ่มขึ้น QoQ เป็น 43.1% (1Q22: 42.8%).
  • คาดสินเชื่อ 2Q22 โตต่อเนื่อง 2% QoQ (1Q22: +1.5% QoQ) พร้อมกับคุณภาพสินเชื่อที่ยังแข็งแกร่งด้วย NPL ratio ที่ทรงตัวในระดับ 3.8% ใน 2Q22 และอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ระดับสูงที่ 159% เพียงพอต่อการรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น

ยังคงมีทิศทางการเติบโตเชิงบวกตามเดิม

  • คงประมาณการการเติบโตของกำไรสุทธิที่ 13% YoY สำหรับปี 2022 และ 10% YoY สำหรับปี 2023 หนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุธิที่สูงขึ้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง ขณะที่คาดถึงค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญที่ลดลงเป็น 150bp ในปี 2022 และ 130bp ในปี 2023 เทียบกับ 173bp ในปี 2021
  • ไม่คาดถึงกำไรที่มีนัยสำคัญจากดีลธนาคารแมสเบี้ยน อินโดนีเซียที่น่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2022 เพราะสินทรัพย์ของธนาคารแห่งนี้มีมูลค่าน้อยกว่า 1% ต่อสินทรัพย์ทั้งหมดของ KBANK นอกจากนี้ กำไรสุทธิของธนาคารแมสเบี้ยนยังคิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.5% ของกำไรทั้งหมดที่ 3.805 หมื่นล้านบาทของ KBANK ในปี 2022

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 174.00 บาท

  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” เพราะ 1) มีแนวโน้มการเติบโตที่มั่นคงจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้น 2) มีสำรองหนี้ฯ เพียงพอต่อ NPLs ใหม่ 3) มี upside จากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย และ 4) มูลค่าหุ้นน่าดึงดูด
  • มูลค่าพื้นฐานคำนวณด้วยวิธี Gordon Growth Model (ROE 9%, อัตราการ เติบโตที่ 2%) อิง 0.8x PBV’22E หรือ -0.75SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี

ดีลธนาคารแมสเปี้ยน อินโดนีเซีย

  • KBANK ประกาศว่าบริษัท กสิกร วิชั่น ไฟแนนเชียล จำกัด (KVF) ที่ตนถือครองอยู่ทั้งหมดได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นแบบมีเงื่อนไข เพื่อเข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารแมสเบี้ยน โดย KVF จะดำเนินการทำธุรกรรมการลงทุนครั้งนี้ด้วยมูลค่าไม่เกิน US$220 ล้าน หรือคิดเป็นประมาณ 7.56 พันล้านบาท คาดว่าดีลนี้จะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2022 หลังดีลเสร็จสิ้นทาง KBANK และ KVF จะร่วมกันถือครองหุ้นไม่ต่ำกว่า 67.5% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของธนาคารแมสเบี้ยน อินโดนีเซีย
  • ข้อมูลในปี 2021 ระบุว่าธนาคารแมสเบี้ยมีสินเชื่อทั้งหมดที่ 1.98 หมื่นล้านบาท (0.8% ของ KBANK) ด้วยสินทรัพย์ที่ 3.42 หมื่นล้านบาท (0.8% ของ KBANK) และเงินฝากที่ 2.88 หมื่นล้านบาท (1% ของ KBANK) ขณะที่มีกำไรสุทธิ 190 ล้านบาทในปี 2021 (0.5% ของ KBANK) ในด้านคุณภาพสินเชื่อพบว่ามี NPLs โดยรวมที่ 140 ล้านบาทคิดเป็น NPL ratio ที่ 1.7% ในปี 2021 เทียบกับของ KBANK ที่ 1.04 แสนล้านบาท หรือ NPL ratio ที่ 3.8%
  • แม้อยู่ระหว่างการรอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับดีลนี้ แต่เชื่อว่าดีลครั้งนี้จะไม่สร้างผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อ KBANK ในช่วง 2-3 ปี ข้างหน้า เพราะสินทรัพย์ของธนาคารแมสเบี้ยน อินโดนีเซียมีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับของ KBANK แต่ดีลนี้จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์การขยายกิจการไปต่างประเทศของ KBANK ได้มากขึ้นในอนาคต

Revenue breakdown

รายได้ธนาคารมาจาก 3 แหล่งดังนี้

  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 73% ของรายได้รวมในปี 2021 และนับเป็นรายได้ก้อนใหญ่ที่สุดของธนาคาร ปัจจัยสนับสนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ คือ การเติบโตของสินเชื่อและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM)
  • รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 22% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ค่าธรรมเนียมการขายประกันผ่านธนาคาร และค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการสินทรัพย์
  • รายได้อื่นๆ คิดเป็น 6% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยกำไรการลงทุน กำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินตามมูลค่ายุติธรรมที่บันทึกผ่านงบกำไรขาดทุน ค่าเบี้ยประกัน รายได้เงินปันผล และรายได้อื่นๆ
- Advertisement -