สรุปภาวะตลาด
วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีทยอยไต่ระดับขึ้น มีแรงซื้อเร่งตัวในภาคบ่าย ทำให้ดัชนีปิด +14 จุด จากแรงซื้อในหุ้น Big Cap. ท้ังกลุ่มพลังงาน ขนส่ง และค้าปลีก คาดเป็นการทำ Window dressing ช่วงปิดไตรมาส ขณะที่นักลงทุนติดตามตัวเลข GDP สหรัฐที่จะรายงานในวันพรุ่งน้ี โดยดัชนี SET Index ปิดตลาดท่ี 1,594.47 จุด +14.27 จุด +0.90% มูลค่าการซื้อขาย 60,346 ลบ. ต่างชาติ +2,641.27 ลบ. TFEX +15,708 สัญญา ตราสารหนี้ -226.60 ลบ.
ปัจจัยบวก +
+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 2.19 ดอลลาร์ +2% ปิดที่ 111.76 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีรายงานว่าซาอุดีอาระเบีย และ UAE ไม่มีแนวโน้มเพิ่มการผลิตน้ำมัน เนื่องจากกำลังการผลิตใกล้เต็มศักยภาพแล้ว สะท้อนให้เห็นว่าอุปทานน้ำมันในตลาดโลกอาจเผชิญภาวะตึงตัวมากขึ้น
+ เกาหลีใต้เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.ปรับตัวขึ้น 10.1%YoY ได้แรงหนุนจากอุปสงค์สินค้าจาพวกเครื่องแต่งกาย และการบริการอื่นๆ ที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง หลังจากรัฐบาลประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19
+ กรุงปักกิ่งและนครเซี่ยงไฮ้ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศ และนับเป็นครั้งแรกที่ท้ังสองเมืองไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นับตั้งแต่วันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ส่วนยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ท่ัวประเทศจีนอยู่ที่ 22 ราย
+ ครม.ไฟเขียวเว้นภาษีนำเข้า Car Seat จนถึงส้ินปี 2566 ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายประชาชน และเป็นการส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย พร้อมเว้นภาษี VAT สำหรับผู้ประกอบการ Data Center หวังสนับสนุนให้เกิดการลงทุน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาและบริการ
+ ครม.เห็นชอบแผนปฏิบัติการโครงข่ายคมนาคม 77 โครงการ กรอบวงเงินรวม 337,797 ล้านบาทของ EEC ส่งเสริมการจ้างงาน พัฒนาพื้นที่ลงทุนและการท่องเท่ียว
+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 2,569 ราย มีผู้เสียชีวิต 14 ราย รักษาหาย 1,984 ราย
ปัจจัยลบ –
– ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 491.27 จุด -1.56% เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นเป็นวงกว้าง หลังมีรายงานว่าดัชนีความเช่ือมั่นของผู้บริโภคสหรัฐทรุดตัวลงอย่างหนัก ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และภาวะเศรษฐกิจถดถอย
– ผลสำรวจของ Conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจระบุว่า ดัชนีความเช่ือมั่นของผู้บริโภคสหรัฐทรุดตัวลงสู่ระดับ 98.7 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2556 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 100.0 จากระดับ 103.2 ในเดือน พ.ค. โดยผู้บริโภคมีความกังวลเก่ียวกับเงินเฟ้อและเศรษฐกิจสหรัฐที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปีน้ี
– นาโตจะเพิ่มจำนวนทหารในการเตรียมความพร้อมระดับสูงขึ้นมากกว่า 7 เท่าเป็น 300,000 นาย ในขณะที่ชาติพันธมิตรเตรียมใช้กลยุทธ์ใหม่ ซึ่งระบุว่ารัสเซียเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อสงครามยูเครนที่ดำเนินมาเป็นเวลา 4 เดือน
– เยอรมนีเปิดเผยคาดการณ์ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือน ก.ค. เนื่องจากสงครามยูเครนและห่วงโซ่อุปทานที่ชะงักงัน ส่งผลให้ราคาพลังงานและอาหารย่ิงสูงขึ้น
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสปรับตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยมีแรงกดดันจากรายงานว่าดัชนีความเช่ือมั่น ของผู้บริโภคสหรัฐทรุดตัวลงอย่างหนัก ขณะที่ราคาน้ำมัน WTI ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องช่วยพยุงตลาด มองกรอบการ เคลื่อนไหวในวันน้ี 1,585-1,600 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง: KBANK SCB BBL KTB TISCO
- ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นท่องเท่ียวของภาครัฐ: ERW CENTEL BA AAV AOT ASAP SPA
- หุ้นที่เข้าคำนวณดัชนีครึ่งปีหลัง:
- SET50 เข้า BLA JMT JMART ออก COM7 RATCH STGT
- SET100 เข้า FORTH ONEE PSL TIPH ออก BPP RS SIRI TVO
- ครม.เว้นภาษี VAT สำหรับผู้ประกอบการ Data Center : ICN ITEL MFEC INSET
หุ้นรายงานพิเศษ
HFT (Bloomberg Consensus 8.00 บาท) ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว
- 1Q65 มีรายได้จากการขาย 925.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.04%YoY โดยสัดส่วนยอดขายแบ่งเป็น ตลาดยุโรป ประมาณ 48%, เอเชีย ประมาณ 22%, ไทย ประมาณ 21% และอเมริกา ประมาณ 8% อย่างไรก็ตาม ด้วยราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงค่าพลังงานที่ปรับเพิ่มขึ้น แม้ที่ผ่านมาจะมีการขึ้นราคาขายไปพอสมควรแล้ว ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิ 98.72 ล้านบาท ลดลง 26.99%YoY
- บริษัทมองว่าแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วง 2Q65 น่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่า 1Q65 ที่ถือว่าเป็นจุดต่ำสุดของปี 2565 หลังสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น นอกจากน้ีในช่วง 3Q65 ประมาณเดือน ก.ค. จะมีการปรับราคาขายยางจักรยานขึ้นประมาณ 4-5% และปรับราคาขายยางมอเตอร์ไซค์ประมาณ 5-8% โดยหลังจากที่มีการปรับขึ้นราคา อัตรากำไรขั้นต้นน่าจะมากกว่า 20% ดังนั้น ในปี 2565 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้เติบโตประมาณ 15%YoY
- ความเห็น เรามีมุมมองเชิงบวก เนื่องจากผลประกอบการได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ประกอบกับช่วง 2H65 จะมีการปรับขึ้นราคาขาย ซึ่งจะสามารถทำให้อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับบริษัทมีแผนจะลดต้นทุนพลังงาน โดยการลงทุนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ประมาณ 160 ล้านบาท โดยทาง BOI เข้ามาช่วยครึ่งหนึ่ง โดยราคาปัจจุบันยังมี Upside จากราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus ที่ 8.00 บาท แนะนำ “ซื้อ”
หุ้นมีข่าว
(+) BEAUTY (Bloomberg consensus 1.30 บาท) รับอานิสงส์เปิดประเทศ หนุนผลงานครึ่งปีหลัง 2565 ดีกว่าครึ่งปีแรก ยอดขายทั้งในและต่างประเทศทยอยฟื้นตัว เดินหน้าปรับปรุงสาขาเพิ่ม ช่องทางธุรกิจใหม่ เตรียมเปิด Shop License แห่งแรก และจุดจำหน่ายในร้านค้าพันธมิตร EVEANDBOY ปั๊มยอดขาย พร้อมควบคุมค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง เพิ่มความสามารถการทำกำไร (ที่มา ทันหุ้น)
(+) VRANDA (Bloomberg consensus 7.08 บาท) รับอานิสงส์เปิดประเทศ การท่องเที่ยวฟื้นตัวเด่น นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่ม หวังผลงานไตรมาส 2/65 กลับมาเทิร์นอะราวด์ หลังอัตราการเข้าพักเฉลี่ยขณะนี้ไม่ต่ำกว่า 50% ทั้งปีคาดจะถึงระดับ 60-70% หนุนผลประกอบการทั้งปีเป็นบวก หากไม่เกิดการแพร่ระบาดโควิดที่รุนแรงอีก ลุยขยายโปรเจ็กต์ใหม่ที่หัวหินและภูเก็ต ต่อยอดการเติบโต (ที่มา ทันหุ้น)
(+) TIGER (Bloomberg consensus – บาท) ล่ันปี 65 ผลงานเทิร์นอะราวด์ แววรายได้เฉียด 900 ล้านบาท อานิสงส์งานทะลักอื้อ เปรยล่าสุดซิวงานใหม่ราว 500-600 ล้านบาท คาดเซ็นสัญญาช่วงครึ่งหลังปีนี้ หนุน Backlog พุ่ง จากเดิม 900 ล้านบาท แจงราคาวัสดุก่อสร้างขึ้นไม่กระทบโครงการใหม่ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) RS (Bloomberg consensus 20.00 บาท) ฉายแววผลงานครึ่งหลังปี 2565 เด่น ธุรกิจสื่อมีการฟื้นตัวที่ค่อนข้างชัดเจน หลังเศรษฐกิจและกำลังซื้อในประเทศกลับมาดี หนุนเม็ดเงินลงทุนในสื่อโฆษณากลับมาขยายตัว กางแผนจัดคอนเสิร์ต 2-3 งาน พร้อมคาด ULife เข้ามาเพิ่มฐานลูกค้าและการเติบโต เล็งส่ง “เชฎฐ์เอเชีย” เข้าตลาดหลักทรัพย์ Q4/2565 (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 30 มิ.ย. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 19-22 ก.ค. อภิปรายไม่ไว้วางใจ
- 10 ส.ค.ประชุม กนง. ครั้งที่ 4/65
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 29 มิ.ย. อียูรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย.
สหรัฐรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2565 (ประมาณการครั้ง
สุดท้าย) สต๊อกน้ำมันเป็นรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- 30 มิ.ย. โอเปกพลัส ประชุมกำหนดนโยบายการผลิต
จีนรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการเดือนมิ.ย. จากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS)
สหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์