บล.พาย: 

DTAC บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ต้นทุนที่ลดลงจะหนุนกำไร 2Q22 ให้สูงขึ้น

คงคำแนะนำ “ถือ” มูลค่าพื้นฐาน 47.60 บาท อิงราคาเสนอขาย เชื่อว่าบริษัทจะได้ประโยชน์จากต้นทุนที่ต่ำตามปัจจัยฤดูกาล แม้จะมียอดขายอ่อนแอก็ตาม แนะนำให้เทรดเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในช่วงที่ราคาผันผวน

คาดกําไรสุทธิ 2Q22 ปรับดีขึ้น QoQ

  • คาดกำไรสุทธิ 2Q22 ที่ 854 ล้านบาท (-44% YoY, +18% QoQ) จากต้นทุนที่ต่ำตามปัจจัยฤดูกาล กำไรไตรมาส 2 ทั้งในปี 2020 และ 2021 ต่างเป็นกำไรที่สูงสุดในแต่ละปีดังกล่าว จึงเชื่อว่าปีนี้จะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน แต่รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย (ARPU) ที่ลดลงต่อเนื่อง อาจทำให้กำไรลดลง YoY
  • คาดรายได้ 2Q22 ที่ 1.9 หมื่นล้านบาท (ทรงตัว YoY, -4% QoQ) โดยยังคงเผชิญกับอุปสรรคทั้งในเชิง YoY และ QoQ สืบเนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ
  • คาดอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ที่ 24.2% ( -4.2ppts YoY, +0.6ppts QoQ) ลดลง YoY เหมือนกับผู้ประกอบการรายอื่น เพราะต่างให้ความสำคัญกับการชิงส่วนแบ่งลูกค้าในตลาดกันมากกว่าการเน้นทำกำไร ส่วนที่โตขึ้นเล็กน้อย QoQ เป็นผลจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานด้านเครือข่ายและค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายที่ลดลง
  • เชื่อว่าบริษัทจะปิดไตรมาสด้วยจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น หนุนจากการที่มีลูกค้ากลุ่มเติมเงินที่สูงขึ้น โดยได้อานิสงส์มาจากจำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้าที่มีมากขึ้น

อาจมีการปรับประมาณการกำไรปี 2022 หลังประกาศงบ 2Q22

ปัจจุบันเชื่อว่ากำไรสุทธิทั้งปี 2022 จะอยู่ที่ 3.4 พันล้านบาท (ทรงตัว YoY) แต่ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า จึงอาจทำให้ผู้คนหันไปใช้แพ็คเกจราคาต่ำลง อาจทำให้ ARPU ฟื้นตัวช้า และกระทบประมาณการกำไรปี 2022 และ 2023 จึงอาจทบทวนประมาณการและมูลค่าพื้นฐานหลังประกาศงบ 2Q22 อีกครั้ง

คงคำแนะนำ “ถือ” มูลค่าพื้นฐาน 47.60 บาท

แนะนำ “ถือ” มูลค่าพื้นฐาน 47.60 บาท อิงราคาเสนอขาย แต่ถ้าไม่นับรวมดีลควบบริษัทมูลค่าพื้นฐานคำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) จะอยู่ที่ 31.90 บาท (WACC: 9.0%, TG: 2%)

อับเดตความคืบหน้าดีลควบบริษัท

กสทช. อาจมีสิทธิค้านดีล

  • คณะอนุกรรมการของ กสทช. ที่ตั้งขึ้นมาในเดือน เม.ย. 2022 เพื่อตรวจสอบดีลควบบริษัททำการประกาศว่า กสทช. มีอำนาจในการอนุมัติหรือค้านดีลระหว่าง TRUE และ DTAC อิงข้อมูลจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ฉบับวันที่ 13 มิ.ย. 2022 ขณะที่ กสทช. ยังไม่ได้ประกาศออกมาว่าจะดำเนินตามข้อสรุปนี้หรือไม่
  • นับเป็นข้อสรุปที่ต่างจากก่อนหน้านี้ที่ระบุว่าหน่วยงานกำกับดูแลมีอำนาจแค่ออกมาตรการป้องกันการผูกขาดเท่านั้น เช่น ห้ามถือหุ้นเกิน 10% ของผู้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่รายอื่น
  • อิงสมมติฐานความน่าจะเป็น 75% กรณีการอนุมัติดีลดังกล่าว เชื่อว่าจะมีการอนุมัติดีลนี้ เพราะการปัดตกดีลนี้อาจเท่ากับการปล่อยให้ ADVANC กลายเป็นผู้ครองตลาดรายเดียวอยู่ดี เพราะมีศักยภาพในการทำกำไรแข็งแกร่ง งบดุลดี และมีการถือครองใบอนุญาตคลื่นความถี่จำนวนมาก

คาดอนุมัติดีลใน 3Q22 และแล้วเสร็จภายใน 1H23

  • เมื่ออิงข้อมูลจากหลายแห่ง จึงคาดว่า กสทช. ประกาศข้อสรุปและความเห็นของหน่วยงานในวันที่ 10 ก.ค. 2022 ทั้งนี้ ระหว่างการทำประชาพิจารณ์ในเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2022 ทาง กสทช. ชี้แจงว่าดีลนี้อาจกระทบ GDP ในเชิงลบระดับ 0.05%-1.99% แต่มีหลายฝ่ายค้านรูปแบบการคำนวณผลกระทบต่อ GDP ดังกล่าว เพราะไม่รวมปัจจัยสำคัญอื่น เช่น พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การเข้ามาของระบบดิจิทัล และคู่แข่งรายอื่นอย่าง NT
  • หลังจากที่ดีลได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลแล้ว เชื่อว่ากระบวนการต่างๆ จะแล้วเสร็จภายใน 1H23 หากดูจากความซับซ้อนของดีล และขนาดของบริษัทใหม่ ความล่าช้าของดีลนี้อาจเทียบตัวอย่างได้กับดีลควบรวม Digicom ของ Telenor กับ Celcom (มาเลเซีย) ที่ประกาศดีลอย่างเป็นทางการในเดือน มิ.ย. 2021 แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลในมาเลเซียอย่าง MCMC ยังกังขาเรื่องการผูกขาดที่อาจเกิดขึ้นจากดีลระหว่างบริษัทโทรคมนาคม 2 รายที่มีสถานะผู้เล่น 4 รายใหญ่สุดของมาเลเซีย

Source: Pi Research, Bangkok Post, efinanceThai

Revenue breakdown

บริษัทมีรายได้จาก 3 แหล่งหลักคือ:

  • บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ คิดเป็น 71% ของรายได้รวมของบริษัทในปี 2021 โดยบริษัทมีจำนวนผู้ใช้บริการรวม 19.6 ล้านราย 68% เป็นลูกค้าในระบบเติมเงิน (การชำระเงินตามความต้องการและการใช้งานที่จำกัด) และส่วนที่เหลือเป็นลูกค้าระบบรายเดือน (การชำระเงินหลังการใช้บริการ โดยมีระดับของการส่งข้อมูลที่แตกต่างกันหลายระดับ)
  • รายได้ส่วนอื่นๆ คิดเป็น 18% ของรายได้รวม ซึ่งเกี่ยวกับการให้บริการ IDD (การโทรระหว่างประเทศ) และบริการสื่อดิจิทัลอื่นๆ
  • การจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์และชุดเลขหมาย คิดเป็น 11% ของรายได้รวมของบริษัท โดยธุรกิจส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการขายซิมและอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งมักจะจำหน่ายควบคู่ไปกับบริการโทรศัพท์มือถือ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วบริษัทจะรับรู้ขาดทุนจากส่วนธุรกิจนี้ (GPM เฉลี่ย 3 ปี -123%) แต่การขาดทุนจะได้รับการชดเชยด้วยการขยายฐานผู้ใช้บริการใหม่

 

- Advertisement -