สรุปภาวะตลาด

วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหว sideway ในกรอบแคบ มีแรงซื้อในหุ้นกลุ่มพลังงาน และค้าปลีก กระทรวงพาณิชย์มีการรายงานการส่งออกของไทยในเดือนพ.ค. 65 ขยายตัวได้ 10.5% จากตลาดคาดขยายตัวได้ 6.5-8.1% โดยภาพรวมตลาดยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ นักลงทุนระมัดระวังการซื้อ-ขาย มูลค่าการซื้อขายหดตัวลง ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,572.67 จุด +4.34 จุด +0.28% มูลค่าการซื้อขาย 49,436 ลบ. ต่างชาติ -747.39 ลบ. TFEX +18,790 สัญญา ตราสารหนี้ +608.42 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 321.83 จุด +1.05% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 1.3% ท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง เนื่องจากนักลงทุนได้เข้าซื้อหุ้นในวันแรกของช่วงครึ่งปีหลังก่อนวันหยุดยาว ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ตลาดปิดทำการในวันจันทร์ที่ 4 ก.ค. เนื่องในวันชาติสหรัฐ

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 2.67 ดอลลาร์ +2.5% ปิดที่ 108.43 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับตัวขึ้น 0.8% ในรอบสัปดาห์ เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันตึงตัวในตลาดโลกนั้นยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคา

+ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยยอดจัดตั้งนิติบุคคลในช่วง 5 เดือนแรกปี 2565 ทะลุ 3.3 หมื่นราย ยังเติบโตต่อเนื่อง มั่นใจท่องเที่ยวและการส่งออกที่ขยายตัวดี ดันยอดจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั้งปีแตะ 7.5 หมื่นราย

+ รฟท.ลุ้นไฟเขียวอีไอเอไฮสปีดเฟส 2 ช่วง “นครราชสีมา-หนองคาย” วงเงิน 3 แสนล้าน เล็งชงบอร์ด ต.ค. ก่อนเสนอ ครม.ปลายปีนี้ ตั้งเป้าลุยเปิดประมูล คาดเริ่มก่อสร้าง ส.ค.66 เปิดบริการปี 71

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส ในเดือนพ.ค. โควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 1,995 ราย ATK 1,609 ราย มีผู้เสียชีวิต 18 ราย รักษาหาย 2,148 ราย

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐดิ่งลงสู่ระดับ 53.0 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี หรือนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 54.9 จากระดับ 56.1 ในเดือนพ.ค.

– ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 52.7 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็น ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี หรือนับตั้งแต่เดือน ก.ค.2563 และต่ำกว่าระดับ 57.0 ในเดือนพ.ค. แต่สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 52.4

– กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยุติการเจรจากับศรีลังกา โดยไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในเรื่องเงินช่วยเหลือได้ หลังเริ่มการเจรจามาตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย.

– หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สเปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ชาวอเมริกันมีความไม่มั่นใจมากขึ้นต่อเศรษฐกิจ, ภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งตลาดแรงงาน ทั้งนี้ ชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่จํานวน 52% ในการสำรวจ ยอมรับว่าพวกเขามีสถานะทางการเงินย่ำแย่กว่าในปีที่แล้ว

– อินเดียเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตปรับตัวลงสู่ระดับ 53.9 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2564 และต่ำกว่าระดับ 54.6

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีวันนี้แกว่งตัวในลักษณะ Sideway ออกข้าง โดยยังขาดปัจจัยใหม่เข้าหนุนตลาด นักลงทุนยังกังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้นช่วยพยุงหุ้นกลุ่มพลังงาน มองกรอบการเคลื่อนไหวในวันนี้ 1,560-1,580 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง + หุ้นแบงก์ได้ประโยชน์จากธปท. เลิกเพดานจ่ายปันผลและทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เราชอบแบงก์ใหญ่ KBANK SCB BBL KTB TISCO
  • ครม.เว้นภาษี VAT สำหรับผู้ประกอบการ Data Center : ICN ITEL MFEC INSET .
  • ยกเลิกระบบ Thailand Pass : ERW CENTEL BA AAV AOT ASAP SPA MBK CPN

หุ้นรายงานพิเศษ

VRANDA – “แนะนำเก็งกำไร”

Bloomberg Consensus 7.10 บาท “คาดผลประกอบการปี 65 มีโอกาสพลิกมีกำไร”

  • บริษัทรายงานขาดทุนลดลงสู่ 21 ลบ. จากปีก่อนขาดทุน 25 ลบ. แม้รายได้รวมจะลดลงสู่ 307 ลบ. -14% YoY จากการโอนโครงการ Veranda Residence Hua Hin ที่ลดลงตามความคืบหน้าการโอนกรรมสิทธิ อย่างไรก็ดี รายได้จากธุรกิจโรงแรมฟื้นตัวกว่า 91%YoY โดย Occupancy Rate ปรับดีขึ้นสู่ 33% จากปีก่อนอยู่ที่ 21% และราคาห้องพักเฉลี่ยปรับดีขึ้นสู่ 4,264 บาท จากปีก่อนที่ 3,139 บาท จากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง ประกอบกับได้อานิสงส์จากภาครัฐกระตุ้นการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี รายได้และกำไรงวด 1Q65 อ่อนตัวจาก 4Q64 เนื่องจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน
  • แนวโน้มรายได้ 2Q65 และ 2H65 ทยอยฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ คาดผลประกอบการทั้งปี 65 มีโอกาสพลิกมี กำไรจากสถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศที่ฟื้นตัวชัดเจน หลังจากภาครัฐเปิดประเทศ และมีมาตรการสนับสนุนต่างๆ อาทิ ยกเลิกระบบไทยแลนด์พาส ยกเลิกการบังคับนักท่องเที่ยวต่างชาติทำประกันสุขภาพ และ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 4 ส่วนขยาย” โดยปัจจุบันที่ Veranda Collection Samui และ SO/Bangkok มีอัตราการจองห้องพักในช่วงเดือนก.ค.-ส.ค.กว่า 70-80% แล้ว เนื่องจากเป็นจุดหมายที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดย Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 65 ราว 47 ลบ. พลิกจากปีก่อนที่ขาดทุน 107 ลบ. นอกจากนี้ บริษัทเตรียมขยายธุรกิจโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมอีก 2 แห่ง คือ 1.Veranda pool villas Hua hin Cha-am คาด แล้วเสร็จปี 66 และ 2. Veranda Phuket คาดแล้วเสร็จปี 67 จะมาเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตในปีถัดไป

หุ้นมีข่าว

(+) ADVANC (Bloomberg consensus 245.50 บาท) ADVANC ทุ่มกว่า 3 หมื่นล. ซื้อ” ทริปเปิลที บรอดแบนด์”- กองทุน JASIF (ที่มา mgronline.com)

เป็นประเด็นบวกต่อ ADVANC เนื่องจาก 3BB มีลูกค้าบอร์ดแบนด์ส่วนใหญ่อยู่ในต่างจังหวัด ซึ่งจะมาช่วย ทำให้จำนวนผู้ใช้บริการบอร์ดแบนด์ของ ADVANC เพิ่มขึ้น อีกทั้งเป็นโอกาสในการ bundle package ขณะที่ JAS จะได้เงินจากดีลดังกล่าวราว 1.95 หมื่นล้านบาท ซึ่งอาจมีการจ่ายปันผลพิเศษ อย่างไรก็ตาม  คาดว่าธุรกรรมซื้อหุ้นและซื้อหน่วยลงทุนจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 ของปี 2566 แนะนำ “เก็งกำไร”

(+) EA (Bloomberg consensus 87.50 บาท) EA ซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน BYD สัดส่วน 23.63% ต่อยอด หนุนโอกาสเติบโต สร้างยอดขายรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น พร้อมและปรับโครงสร้างธุรกิจเดินรถ-เรือสาธารณะให้ TSB ระบุไตรมาส 3/2565 โอกาสส่งรถบัสไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 150 คัน พร้อมดีลรถบรรทุกไฟฟ้าต่อเนื่อง (ที่มา ทันหุ้น)

(+) LEO (Bloomberg consensus 21.10 บาท) ประกาศจับมือ “เน็กซเตอร์ เวนเจอร์ส” บริษัท Start Up ในเครือปูนซิเมนต์ไทย เข้าซื้อหุ้นของบริษัท ZPS Corporation Ltd. (ZPS) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม “ZUPPORTS” ช่วยผู้นำเข้าส่งออกบริหารการขนส่งระหว่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ ฟากผู้บริหารชี้การร่วมทุนครั้งนี้ ช่วยต่อยอดธุรกิจการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รุกขยายธุรกิจในโลกยุคดิจิทัล (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ASIAN (Bloomberg consensus 21.40 บาท) โดดรับบาทอ่อนค่า หนุนผลดำเนินงานปีนี้เติบโต พร้อมมั่นใจยอดขายปีนี้โต 19% ตามเป้า แต่ยอมรับต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรขั้นต้นอ่อนตัวลง ประเมินอยู่ที่ 17-18% จากปีก่อนที่ 19.8% เล็งปรับเพิ่มราคาสินค้า และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยในการผลิต พร้อมนำบริษัทย่อย AA เสนอขายหุ้น IPO ราวปลายเดือนตุลาคมหรือต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 1 หอการค้าไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
  • 5 ก.ค. กระทรวงพาณิชย์ แถลงสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการ
  • 6 ก.ค. สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) แถลงสถานการณ์การส่งออก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
  • สัปดาห์ที่ 2 สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงผลสํารวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและอัพเดตสถานการณ์ลงทุน
  • 8 ก.ค. ประชุม ศบค. ชุดใหญ่
  • 19-22 ก.ค. อภิปรายไม่ไว้วางใจ
  • ภายใน 21 ก.ค. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบฯ งวด 2Q65
  • 10 ส.ค. ประชุมกนง. ครั้งที่ 4/65

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 4 ก.ค. อียู รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน พ.ค.
  • 5 ก.ค. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมิ.ย.จากไฉซิน

อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมิ.ย.จากเอสแอนด์พี โกลบอล

สหรัฐ รายงานยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนพ.ค.

  • 6 ก.ค. อียู รายงานยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.

สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมิ.ย. ดัชนีภาคบริการเดือน มิ.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนพ.ค. (เช้าวันที่ 7 ก.ค.) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย.

- Advertisement -