ความกังวลเศรษฐกิจถดถอยเริ่มระบาดเป็นวงกว้าง

บรรยาลงทุนโดยรวมแสดงถึงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ธนาคารกลางหลายแห่ง ประกอบกับผลกระทบของต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นจะกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ จนอาจจะนำไปสู่ภาวะเศรษบกิจถดถอยได้ เริ่มกลายเป็นความกังวลหลักต่อตลาด และทำให้การเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของนักลงทุนเริ่มปรับพอร์ตรับความเสี่ยงดังกล่าวด้วย การลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่อิงการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเริ่มเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ ตราสารหนี้สหรัฐฯ รวมถึงหุ้นที่มีรายได้มั่นคง (defensive stock) มากขึ้น เราประเมินหุ้นไทยและอาเซียนยังมีแนวโน้มแข็งแกร่งกว่าตลาดโลก สะท้อนผ่านการที่ตลาดหุ้นไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปินส์ ปรับลดลงนับจากต้นปีเพียง 6%, 7% และ 11% เทียบกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ที่สุดลง 15-20% อย่างไรก็ตาม หุ้นไทยอาจได้รับผลจากการขายปรับน้ำหนักการลงทุน (rebalancing) ซึ่งเราประเมินโซนแนวรับสำคัญสำหรับการกลับเข้าซื้อที่ 1,480-1,520 จุด

เน้นเลือกลงทุนรายตัว หุ้นปลอดภัยคาดทรงตัวดี ขณะที่หุ้นเปิดเมืองเป็นเป้าหมายการซื้อกลับ หลังแรงขายทำกำไรรอบนี้ คาดกลุ่มที่จะทรงตัวได้ดีถึงมีโอกาสปรับขึ้นในรอบนี้ ได้แก่ กลุ่มหุ้นปลอดภัยและอาหาร ได้แก่ สื่อสาร, โรงไฟฟ้า และโรงพยาบาล โดยหุ้นที่เราชอบได้แก่ ADVANC, INTUCH, BGRIM, GPSC, BCH, CHG, RAM, BDMS เป็นต้น สำหรับกลุ่มเปิดเมือง ท่องเที่ยว และห้างสรรพสินค้า ช่วงสั้นอาจเผชิญแรงขายทำกำไรจากความกังวลการระบาดของโควิดระลอกใหม่ แต่เรามองเป็นเป้าหมายในการทยอยซื้อแบบตั้งรับ โดยหุ้นที่เราชอบ ได้แก่ SPA, VRANDA, MINT, ERW, CENTEL, MBK, CPN, CRC เป็นต้น

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE 2) กลุ่มท่องเที่ยว AOT, CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR, VRANDA, SPA 3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO, MAJOR 4) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, GFPT, TFG, TU, KSL, KTIS, KBS, BIS, ASIAN 5) หุ้นได้ประโยชน์จากการกระตุ้น เศรษฐกิจจีน BABA80, TENCENT80, CHINA

ภาพรวมกลยุทธ์ มีโอกาสซึมลงสู่ 1,480-1,520 จุด คาดเห็นการโยกเงินเข้าสู่หุ้นปลอดภัย อาทิ สื่อสาร ไฟฟ้า การแพทย์ ขณะที่ช่วงสั้นหุ้นเปิดเมืองอาจเผชิญแรงขายทำกำไร แต่ยังคงเป็นเป้าหมายการซื้อกลับหลังแรงทำกำไรรอบนี้ของเรา ช่วงสั้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน (DR และ ETF อิงหุ้นจีน) ยังมีแนวโน้มโดดเด่น

หุ้นแนะนำ: BABA80*, ADVANC*, CPF*

แนวรับ: 1,480–1,520 / แนวต้าน : 1,550-1,565 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

ประเด็นการลงทุน

  • ตลาดบอนด์สหรัฐเกิด inverted yield curve ส่งสัญญาณเศรษฐกิจถดถอย – อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวสูงกว่าอายุ 10 ปี ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • ดัชนีดอลลาร์ทะลุ 106 นิวไฮ 20 ปี – นักลงทุนพากันเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • ดัชนี PMI ยูโรโซนร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือน – ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิต – บริการขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือน ที่ 52.0 ในเดือนมิ.ย. 2565 จากระดับ 54.8 ในเดือนพ.ค. ซึ่งสูงกว่าประมาณการก่อนหน้าที่ 51.9 เพียงเล็กน้อย
  • เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มกระเตื้องช่วงครึ่งปีหลัง – แบงก์ ออฟ ไชน่าเปิดเผยรายงาน ระบุว่าเศรษฐกิจจีนจะค่อยๆ ฟื้นตัวจากผลกระทบเชิงลบของโรคโควิด-19 ระบาดได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หลังดัชนีบ่งชี้เศรษฐกิจแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวดีขึ้น ท่ามกลางนโยบายสนับสนุนต่างๆ
  • จีนเตรียมอัดฉีดงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานร่วม 7.5 หมื่นล้านดอลล์ – วงเงิน 5 แสนล้านหยวน (7.469 หมื่นล้านดอลลาร์) เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่ซบเซา
  • พาณิชย์ เผย CPI มิ.ย.พุ่ง 7.66% คงคาดการณ์ทั้งปี 4-5% – อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมิ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 107.85 เพิ่มขึ้น 7.66% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าที่ตลาดคาด 7.5% และเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.99% จากเดือน พ.ค.65 ส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 5.61% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือนมิ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 102.99 เพิ่มขึ้น 2.51% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.24% จากเดือน พ.ค.65 ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 1.85%

ประเด็นติดตาม:

6 ก.ค. – อาจเห็นการยกเลิกคำสั่งปธน.เก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน, FOMC Meeting Minutes

8 ก.ค. – US Nonfam Payrolls, US Participation Rate, US Unemployment Rate, ECB President Lagarde Speaks

13 ก.ค. – US CPI

13-20 ก.ค. – รายงานงบกลุ่มแบงก์

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

ประเด็นลงทุนสำหรับหุ้นแนะนำ

  • เก็งกำไร BABA80* (6) : ฟื้นตัวจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน และอาจได้แรงหนุนการเก็งกำไรจากสหรัฐฯลดภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ตัดขาดทุน 4.90 บาท
  • เก็งกำไร ADVANC* (220) : หุ้นปลอดภัยที่มีการถือครองต่ำ (under-owned) อีกทั้งการเข้าซื้อ TTTBB และ JASIF ทำให้ประเด็นปันผลพิเศษมีโอกาสสูงขึ้น ตัดขาดทุน 195 บาท
  • เก็งกำไร CPF* (29.50) : ราคาหมูจีนปัจจุบันพุ่งขึ้นมาสู่ระดับ 22 หยวน/กก. เทียบงวด 2Q22 เฉลี่ยที่ราว 15.3 หยวน/กก. (เพิ่มขึ้น +44%) ซึ่งถือเป็นระดับราคาที่สูงกว่าต้นทุนการเลี้ยงหมูของ CPF (16 หยวน/กก.) แล้ว ภาพรวมถือเป็นการปลดล็อค overhang สุดท้ายจากจีนต่อ CPF คงคาดแนวโน้มกำไร CPF จะกลับมาเติบโตได้ qoq ในทุกไตรมาส ตัดขาดทุน 24.50 บาท

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

Market News & Factors

ตลาดหุ้นสหรัฐ – ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (5 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยในสหรัฐ อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P500 และดัชนี Nasdaq ปิดในแดนบวก โดยได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อหุ้นในช่วงท้ายตลาด ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี (อินโฟเควสท์)

ตลาดหุ้นยุโรป – ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลุงในวันอังคาร (5 ก.ค.) เนื่องจากการประท้วงของคนงานน้ำมันและก๊าซของนอร์เวย์ ทำให้ เกิดความวิตกเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะวิกฤตด้านพลังงานในยุโรป และตอกย้ำความกังวลด้านเงินเฟ้อที่ระดับสูง (อินโฟเควสท์)

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น – ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดพุ่ง โดยนักลงทุนมีความหวังว่าบริษัทส่งออกจะได้กำไรมากขึ้นจากการอ่อนค่าเล็กน้อยของเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ (อินโฟเควสท์)

ตลาดนํ้ามัน – สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 8% หลุดจากระดับ 100 ดอลลาร์ในวันอังคาร (5 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณถดถอย และการที่จีนมีแนวโน้มจะกลับมาล็อกดาวน์เมืองสำคัญนั้น อาจส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกทรุดตัวลงด้วย ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค. ร่วงลง 8.93 ดอลลาร์ หรือ 8.2% ปิดที่ 99.50 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย. (อินโฟเควสท์)

ตลาดบอนด์สหรัฐเกิด inverted yield curve ส่งสัญญาณเศรษฐกิจถดถอย – อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีปรับตัวสูงกว่าอายุ 10 ปี ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (อินโฟเควสท์)

ดัชนีดอลลาร์ทะลุ 106 นิวไฮ 20 ปี – นักลงทุนพากันเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (อินโฟเควสท์)

ดัชนี PMI ยูโรโซนร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือน – ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิต-บริการขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือน ที่ 52.0 ในเดือนมิ.ย. 2565 จากระดับ 54.8 ในเดือนพ.ค. ซึ่งสูงกว่าประมาณการก่อนหน้าที่ 51.9 เพียงเล็กน้อย (อินโฟเควสท์)

เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มกระเตื้องช่วงครึ่งปีหลัง – แบงก์ ออฟ ไชน่าเปิดเผยรายงานระบุว่า เศรษฐกิจจีนจะค่อย ๆ ฟื้นตัวจากผลกระทบเชิงลบของโรคโควิด-19 ระบาดได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หลังดัชนีบ่งชี้เศรษฐกิจแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวดีขึ้นท่ามกลางนโยบายสนับสนุนต่างๆ (อินโฟเควสท์)

จีนเตรียมอัดฉีดงบลงทุน โครงสร้างพื้นฐานร่วม 7.5 หมื่นล้านดอลล์ – วงเงิน 5 แสนล้านหยวน (7.469 หมื่นล้านดอลลาร์) เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และ ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่ซบเซา (อินโฟเควสท์)

พาณิชย์ เผย CPI มิ.ย.พุ่ง 7.66% คงคาดการณ์ ทั้งปี 4-5% – อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมิ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 107.85 เพิ่มขึ้น 7.66% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าที่ตลาดคาด 7.5% และเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.90% จากเดือน พ.ค.65 ส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 5.61% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือนมิ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 102.99 เพิ่มขึ้น 2.51% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.24% จากเดือน พ.ค.65 ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย ครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 1.85% (อินโฟเควสท์)

Report & Corporate News

Healthcare Maintained MARKET WEIGHT – ภาพรวมของกลุ่ม Healthcare ใน 2H22 จะเป็นแบบผสมผสาน โดยมี upside จากผู้ป่วยต่างชาติที่เพิ่มขึ้น แต่มี downside จากการสิ้นสุดมาตรการของรัฐบาลสำหรับรายการที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 แม้ว่าจะมี upside risk เล็กน้อยจากสายพันธุ์ย่อยของ COVID-19 ในขณะที่โรงพยาบาลบางแห่งจะเห็นการเติบโตของกำไรติดลบใน 2H22-2023 เมื่อพิจารณาตาม tactical แล้ว กลุ่มนี้นี้ค่อนข้างยืดหยุ่นต่อความไม่แน่นอน จากปัจจัยภายนอกต่างๆ คงคำแนะนำ MARKET WEIGHT โดยมี BH เป็น Top Pick

ADVANC Maintained BUY TP: 244.00 บาท – เราคาดว่ากำไรสุทธิใน 2Q22 ของ ADVANC จะเพิ่มขึ้น QoQ โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้ค่าบริการที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรม Mobile Expo ที่เป็นบวก ในขณะที่ต้นทุนโดยรวมคาดว่าจะลดลงเล็กน้อย qoq เราคาดว่ามีผลบวกต่อศักยภาพการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นทั้งในธุรกิจ FBB และธุรกิจมือถือ นอกจากนี้มี upside ของกำไรจากโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้แก่ AISCB, โซลูชั่นพลังงานอัจฉริยะ และธุรกิจศูนย์ข้อมูลระดับภูมิภาค คงคําแนะนํา ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 244.00 บาท

ORI – บมจ. ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ (ORI) เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 65 (ม.ค.-มิ.ย.) บริษัทมียอดขาย สะสมจากโครงการที่อยู่อาศัยในเครือทั้งสิ้น 17,772 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปี 64 ถึงกว่า 13% และคิดเป็น 51% ของเป้าหมายทั้งปีที่ 35,000 ล้านบาท จากยอดขายดังกล่าว แบ่งเป็นยอดขายจากกลุ่มโครงการคอนโดมิเนียม 73% กลุ่มโครงการบ้านจัดสรร 27% หากแบ่งตามสถานะโครงการ มีสัดส่วนยอดขายจากโครงการพร้อมอยู่ (Ready to move) 61% และจากกลุ่มโครงการที่เพิ่งเปิดขายหรืออยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง (On-going) ราว 39% หากนับเฉพาะยอดขายในช่วงไตรมาส 2/2565 (เม.ย.-มิ.ย. 2565) บริษัทสามารถสร้างยอดขายได้สูงถึงกว่า 9,623 ล้านบาท นับเป็น All Time High ใหม่ของบริษัท (อินโฟเควสท์)

CPF – บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) เปิดเผยว่า CPF เตรียมออกหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป และผู้ลงทุนสถาบัน จำนวน 3 รุ่น ได้แก่ หุ้นกู้อายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยจะประกาศให้ทราบภายหลัง หุ้นกู้อายุ 6 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ประมาณ 3.60 3.75% ต่อปี หุ้นกู้อายุ 8 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ประมาณ 3.79-4.14% ต่อปี การออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ เป็นการวางแผนด้านการเงินเพื่อรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (อินโฟเควสท์)

 

- Advertisement -