บล.พาย:
CPF: บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร “ได้รับผลดีจากราคาเนื้อสัตว์ที่สูง”
เรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ” โดยประเมินมูลค่าพื้นฐานปี 23 ได้ที่ 30.75 บาท (1.1XPBV’23E) ด้วยปัจจัยบวกจากผลประกอบการงวด 2Q22 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 2,342 ลบ. (-51%YoY, -18%QoQ) แต่ถ้าดูเฉพาะกำไรปกติจะเพิ่มขึ้นถึง 323%QoQ จากผลของราคาเนื้อสัตว์ในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นมากไม่ว่าจะเป็นราคาสุกรและราคาเนื้อไก่ รวมถึงการส่งออกที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับปีก่อนที่ลดลงมาด เพราะราคาสุกรที่เวียดนามยังคงต่ำกว่า
ราคาเนื้อสัตว์ดี หนุนรายได้โต 15%YoY, 7%QoQ
- เราคาดว่ากำไรงวด 2Q22 จะอยู่ที่ 2,342 ลบ. (-51%YoY, -18%QoQ) การลดลงแรงจากปีก่อน เพราะผลประกอบการที่เวียดนามและจีนยังได้รับผลกระทบจากราคาที่ต่ำกว่า แม้ว่าราคาในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างมากก็ตาม ส่วนถ้าเทียบกับ 1Q22 ในส่วนของกำไรปกติจะเติบโตถึง 323%QoQ หลังจากราคาเนื้อสัตว์บกทั้งในประเทศเวียดนาม และจีน มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- รายได้คาดไว้ที่ 148,620 ลบ. (+15%YoY, +7%QoQ) สาเหตุหลักมาจากราคาเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้นโดยสุกรอยู่ที่ 98 บาท/กก. (31%YoY,7%QoQ) เนื้อไก่ 41 บาท/กก. (+39%YoY,+2%QoQ) ส่วน ราคาที่เวียดนาม 55,000 ดอง/กก. (-20%YoY,+4%QoQ) จีน 15 หยวน/กก. (-25%YoY,+3%QoQ)
- กำไรขั้นต้นคาดไว้ที่ 13.7% ลดลงจาก 16% ใน 2Q21 เพราะต้นทุนการเลี้ยงสัตว์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น (ข้าวโพดเพิ่ม 38%YoY ส่วนกากถั่วเหลืองเพิ่ม 16%YoY) แต่ดีขึ้นจาก 12.8% ใน 1Q22 เพราะมีการปรับ ราคาส่งออกได้ และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ด้านค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารคาดไว้ที่ 13,376 ลบ. (+9%YoY,+10%QoQ)
- ส่วนแบ่งจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมคาดว่าจะยังขาดทุนอีก 111 ลบ. พลิกจากที่รับรู้กำไร 753 ลบ. ใน 2Q22 เพราะธุรกิจสุกรที่จีน (รับรู้ผ่าน CTI) ราคายังคงต่ำกว่าต้นทุนอยู่ แม้ว่าจะค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้ว แต่ขาดทุนลดลงจาก 336 ลบ. ใน 1Q22
ทั้งปีราคาเนื้อสัตว์ยังสูงจึงยังคงประมาณเดิม
- แนวโน้มราคาเนื้อสัตว์คาดว่าจะยังยืนสูงได้ตลอดปี หลังความต้องการเพิ่มขึ้นตามการเปิดประเทศ เราจึงคงประมาณการณ์กำไรทั้งปี 22 ไว้เท่าเดิมที่ 11,922 ลบ. (-8%YoY แต่กำไรปกติ +164%YoY)
3Q22 คาดยังดี หลังราคาที่จีนฟื้นแรง
- แนวโน้มในช่วง 3Q22 คาดว่าผลประกอบการจะมีโอกาสเติบโตขึ้นได้ต่อเนื่องจาก 2Q22 หลังจากราคาเนื้อสัตว์ในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคาไก่ในประเทศปรับไปถึงระดับ 43-45 บาท/กก. แล้ว ขณะเดียวกันราคาสุกรที่จีนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับเฉลี่ย 15 หยวน/กก. เป็น 20 หยวน/กก. ในช่วงต้นเดือน ก.ค. ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่จีนทยอยเปิดประเทศ และรัฐบาลมีการทยอยซื้อเก็บไว้ ซึ่งหากราคายืนเหนือระดับดังกล่าวจะทำให้ผลประกอบการของ CTI พลิกกลับมามีกำไร ซึ่งจะเป็นผลดีสำหรับ CPF ที่จะรับรู้ผ่านส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนได้
Revenue breakdown
โครงสร้างรายได้ของ CPF แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ 1.อาหารสัตว์ (Feeds) 2.การเลี้ยงสัตว์และแปรรูป (Farms) และ 3. อาหาร (Foods) โดยแหล่งที่มาของรายได้มาจากในประเทศ (รวมส่งออก) 37% และต่างประเทศ 63% โดยเวียดนามมีสัดส่วนรายได้มากเป็นลำดับ 2 ตามมาด้วยจีนเป็นลำดับที่ 3