สรุปภาวะตลาด
วันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวไซด์เวย์ในแดนลบ เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นภูมิภาค หลังจากช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา สหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสูงกว่าที่ตลาดคาด ทำให้นักลงทุนกังวลว่าเฟดจะเร่งขึ้นดอกเบี้ย โดยมีแรงขายมากในหุ้นกลุ่มการแพทย์และค้าปลีก ส่วนกลุ่มธนาคารมีแรงซื้อกลับ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,557.40 จุด -0.47 จุด -0.03% มูลค่าการซื้อขาย 46,061 ลบ.ต่างชาติ +1,830.39 ลบ. TFEX -15,810 สัญญา ตราสารหนี้ +1,385.86 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOI) เน้นย้ำอีกครั้งว่าจะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติมหากจำเป็นต้องทำ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เปราะบาง
+ ธปท.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า แต่เริ่มทยอยกลับมาและมีความต่อเนื่อง คาด GDP ปีนี้จะขยายตัว 3.3% ภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่ตอนนี้กิจกรรมเศรษฐกิจเริ่มฟื้น ธปท.คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยปีนี้ราว 6 ล้านคน ทุกๆ 1 ล้านคนที่เพิ่มเข้ามาจะช่วยเพิ่ม GDP ได้ 0.4%
+ คลังเล็งชง ครม.ต่ออายุมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน 5 บาท อีก 2 เดือน คาดเสียรายได้ 2 หมื่นล้านบาท
+ คลังเตรียมหารือกับ ธปท. เพื่อขยายมาตรการ LTV และจะหารือกับกระทรวงมหาดไทยต่อมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองที่จะสิ้นสุดในปลายปีนี้ รวมถึงจะมีมาตรการกระตุ้นอื่นๆ
+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 1,679 ราย มีผู้เสียชีวิต 23 ราย รักษาหาย 2,115 ราย
ปัจจัยลบ –
– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 164.31 จุด -0.52% กังวลเกี่ยวกับแนวโน้มผลประกอบการของธนาคารรายใหญ่ ซึ่งรวมถึงเจพีมอร์แกน และโกลด์แมน แซคส์ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในวันพุธนี้ เพื่อประเมินทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 70 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 104.09 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนยังวิตกว่าจีนอาจกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำมันในประเทศ นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยัง ถูกกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์
– รองนายกรัฐมนตรียูเครนสั่งประชาชนอพยพออกจากภูมิภาคเคอร์ซอนทางตอนใต้ที่ถูกรัสเซียยึดครองอยู่โดยด่วน เนื่องจากกองกำลังติดอาวุธของยูเครนกำลังเตรียมการโจมตีตอบโต้ทหารรัสเซียในพื้นที่ดังกล่าว
– ยุโรปเตรียมรับมือวิกฤตพลังงาน ขณะที่รัสเซียจะยุติการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านทางท่อส่ง Nord Stream 1 ในวันนี้
– FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนัก 4.6% ที่ FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมวันที่ 26-27 ก.ค. และให้น้ำหนัก 95.4% ที่ FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% หลัง สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่แข็งแกร่ง
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีวันนี้ยังแกว่งตัวในลักษณะ Sideway ออกข้าง โดยนักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐใน วันพุธนี้ ประกอบกับคาดว่านักลงทุนจะชะลอการลงทุน เนื่องจากเป็นวันเทรดสุดท้ายก่อนวันหยุด มองกรอบการ เคลื่อนไหวในวันนี้ 1,550-1,565 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง + หุ้นแบงก์ได้ประโยชน์จากธปท. เลิกเพดานจ่ายปันผลและทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เราชอบแบงก์ใหญ่ KBANK SCB BBL KTB TISCO
- กังวลโควิด-19 ระลอกใหม่ : BH BDMS CHG BCH PRINC WPH
- หุ้นเด่น IAA Consensus : BBL BEM CPN KBANK
- ค่า Ft ขึ้นขณะที่ต้นทุนพลังงานปรับตัวลง : GPSC BGRIM GULF
หุ้นรายงานพิเศษ
GPSC (Bloomberg Consensus 80.50 บาท)
- บริษัทมีการจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมราว 46% ทำให้ได้รับผลบวกจากการปรับขึ้นค่า Ft ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนม.ค.-ส.ค. สู่ 0.2477 บาทต่อหน่วย และมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นอีก 40 สต. ในช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค. ทำให้สามารถปรับเพิ่มราคาขายไฟฟ้าได้ ลดผลกระทบจากต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง
- มีโอกาสเติบโตต่อเนื่องจาก 4 โครงการ 1.ERU กําลังการผลิต 250 MW คาดแล้วเสร็จปี 2023 2. Solar power in India (GPSC ถือหุ้น 42.93% ดำเนินการแล้ว 2,413 MW และอยู่ ระหว่างก่อสร้าง 2,195 MW) กำลังการผลิต 4,608 MW คาดแล้วเสร็จในปี 2023 3. SPP Replacement กำาลังการผลิต 192 MW คาดแล้วเสร็จ 4Q22 และ 4. Wind Power Taiwan (GPSC ถือหุ้น 25%) กำลังการผลิต 595 MW คาดแล้วเสร็จ 1Q24 คิดเป็นกำลังการผลิตส่วน เพิ่มอีก 1,533 MW จากปัจจุบันที่ 5,807 MW
- ความเห็น เรามีมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบการ 2Q65 เนื่องจากสามารถปรับเพิ่มค่า Ft. ต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ค.-ธ.ค. และโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำในลาวเริ่มเข้าสู่ High Season เป็นตัวหนุนต่อผลประกอบการเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องจากโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 22-24 เพิ่มเติม
หุ้นมีข่าว
(+) Cl (Bloomberg consensus – บาท) ชูโรงแรมภูเก็ตฟื้นตัวแรง รับอานิสงส์นักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้าไทย บวก “เราเที่ยวด้วยกันเฟส 4” หนุนรายได้ธุรกิจโรงแรมเติบโต 20% จากฐานที่ต่ำในปีก่อน ด้านธุรกิจ “กัญชง-กัญชา” คาดชัดเจนปลายปีนี้ ส่วนธุรกิจอสังหาเริ่มฟื้นตัวชัดเจน ยอดขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เตรียมเปิดโครงการใหม่ครึ่งปีหลังอีก 1-2 โครงการ มูลค่ารวม 3 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
(+) WHA (Bloomberg consensus 4.16 บาท) จับตาครึ่งปีหลังเด่น เนื้อหอมรายใหญ่รอเซ็นสัญญาซื้อขายที่ดินกว่า 600-700 ไร่ ในไตรมาส 3/2565 นี้ ยิ้มปี 2565 ยอดขายทะลุเป้า 1 พันไร่ อวดแบ็กล็อกในมือ 400-500 ไร่ คาดรับรู้เป็นรายได้ทั้งหมดในปีนี้ มองต้นทุนก่อสร้างเพิ่มไม่กระทบธุรกิจ จัดการความเสี่ยงได้ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) BGRIM (Bloomberg consensus 41.00 บาท) นับหนึ่งก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (อ่างทอง) 2 จํากัด และบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (อ่างทอง) 3 จํากัด กําลังการผลิตรวม 280 เมกะวัตต์ คาด COD ในปี 2566 พร้อมตั้งงบลงทุน 5 ปี ที่ 1.4 แสนล้านบาท ขยายการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศและการซื้อกิจการ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) KIAT (Bloomberg consensus – บาท) เผย บริษัท เคจีพี จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย คว้างาน ให้เช่าระบบป้องกันอุบัติเหตุจากการละสายตาและการหลับในของผู้ขับรถบรรทุกขนาดใหญ่ หรือระบบ Guardian System จาก PTT Digital Solution เพื่อติดตั้ง Fleet Safety loT ให้กับรถขนส่งน้ำมันจำนวน 1,500 คัน ของมูลค่ารวม 150 ล้านบาท พร้อมรับรู้รายได้ ภายในปี 2565 เดินหน้าปั้นผลงานเติบโตกว่า 20% ในปีนี้ เผย “สิบล้อลีสซิ่ง” สินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกมือสอง ตลาดตอบรับดี (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 14 ก.ค. สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงผลสํารวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและอัพเดตสถานการณ์ลงทุน
- สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
- สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการ ส่งออก-นำเข้า
- สัปดาห์ที่ 5 สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
- 19-22 ก.ค. อภิปรายไม่ไว้วางใจ ลงมติ 23 ก.ค.
- ภายใน 21 ก.ค. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบฯงวด 2Q65
- 29 ก.ค. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 10 ส.ค. ประชุมกนง. ครั้งที่ 4/65
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 12 ก.ค. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนก.ค.
สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาด ย่อมเดือนมิ.ย.
- 13 ก.ค. ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประชุมนโยบายการเงิน และแถลงมติอัตราดอกเบี้ย
จีน รายงานยอดนําเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้า เดือนมิ.ย.
อียู รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.
สหรัฐ รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนมิ.ย. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ และรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) (เช้า วันที่ 14 ก.ค.)
- 14 ก.ค. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
- 26 – 27ก.ค. การประชุมนาคารกลางสหรัฐ (FED)