สรุปภาวะตลาด

หุ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดช่วงการซื้อ ขาย และแรงขายเร่งตัวในภาคบ่าย เนื่องจากนักลงทุนติดตามการรายงานเงินเฟ้อ (CPI) สหรัฐเดือนมิ.ย. โดยตลาดคาด +8.8%YoY ประกอบกับตลาดหุ้นไทยปิดทําการในวันพุธที่ 13 ก.ค. ทำให้นักลงทุนชะลอการซื้อขาย กลุ่มหลักทรัพย์ที่ปรับตัวลงกดดันดัชนี ได้แก่ กลุ่มพลังงาน ค้าปลีก และขนส่ง ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,546.80 จุด -10.60 จุด -0.68% มูลค่าการซื้อขาย 47,877 ลบ. ต่างชาติ -439.39 ลบ. TFEX -18,007 สัญญา ตราสารหนี้ -1,264.03 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 46 เซนต์ +0.5% ปิดที่ 96.30 ดอลลาร์/บาร์เรล จากแรงซ้อนซื้อหลังจากราคา น้ำมันทรุดหนักในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี สัญญาน้ำมันดิบขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย หลังสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้นมากกว่าคาด รวมทั้งแรงกดดันจากความกังวลว่าเฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อสูงกว่าคาด

+ จีนรายงานยอดส่งออกเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 17.9%YoY พุ่งขึ้นแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 5 เดือน บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของโลกเริ่มฟื้นตัว หลังถูกกระทบอย่างหนักจากการใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโควิด-19

+ คณะผู้แทนจากกองทัพรัสเซีย ยูเครน และตุรกี ประชุมร่วมกับผู้แทนจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ที่เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี เพื่อหาทางส่งออกธัญพืชจากยูเครนไปยังตลาดต่างๆ ทั่วโลก

+ ททท.ประเมินสถานการณ์หยุดยาว 5 วัน สร้างรายได้ 14,330 ล้านบาท และมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 53% เที่ยวอีสานคึก ขับรถทำบุญเสริมสิริมงคลวันเข้าพรรษา ดันอัตราเข้าพักเกิน 60%

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 2,257 ราย มีผู้เสียชีวิต 28 ราย รักษาหาย 2,120 ราย

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 208.54 จุด -0.67% เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระดับที่รุนแรงขึ้น หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า CPI พุ่งขึ้น 9.1%YoY ในเดือนมิ.ย. สูงสุดในรอบ 40 ปี สูงกว่าระดับ 8.6% ในเดือนพ.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.8% ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 5.9%YoY ในเดือนมิ.ย. แม้ชะลอตัวลงจากเดือนพ.ค.ที่พุ่งขึ้น 6.0% แต่ยังสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.8%

– นางเจเน็ต เยลเลน รมว.คลังสหรัฐ จะร่วมประชุมกับนายชุนอิจิ ซูซูกิ รมว.คลังญี่ปุ่นวันที่ 12-13 ก.ค. เพื่อหารือถึงการออกมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียเพื่อตอบโต้การรุกรานยูเครน

– ปธน.โวโลดีเมียร์ เซเลนสกีแห่งยูเครนเปิดเผยว่า ยุโรปจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะตัดการส่งก๊าซทั้งหมดให้กับยุโรป

– ส.อ.ท. เปิดเผยว่า ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนบางอย่าง รวมถึงราคาวัตถุดิบต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้น ชิ้นส่วนวัตถุดิบบางชิ้นปรับตัวสูงขึ้นกว่า 300-400% ส่งผลกระทบให้ค่ายรถยนต์เริ่มทยอยปรับขึ้นราคาส่วนใหญ่จะปรับขึ้นหลักหมื่นบาท

– การเมืองขาดเสถียรภาพก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 19-22 ก.ค. หลังมีฝ่ายร่วมรัฐบาลลาออกมาอยู่ฝั่งค้าน

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีวันนี้มีโอกาสอ่อนตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด ส่งผล ให้เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 0.75% หรืออาจแรงถึง 1% ในการประชุมเดือนนี้ มองกรอบการ เคลื่อนไหวในวันนี้ 1,545-1,555 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง + หุ้นแบงก์ได้ประโยชน์จากธปท.เลิกเพดานจ่ายปันผลและทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เราชอบแบงก์ใหญ่ KBANK SCB BBL KTB TISCO
  • กังวลโควิด-19 ระลอกใหม่ : BH BDMS CHG BCH PRINC WPH
  • หุ้นเด่น IAA Consensus : BBL BEM CPN KBANK
  • ค่า Ft ขึ้นขณะที่ต้นทุนพลังงานปรับตัวลง : GPSC BGRIM GULF

หุ้นรายงานพิเศษ

Source : Bloomberg, Financial Statement Closed price as of 12/7/2565

  • Bloomberg Consensus คาดหุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบการเงินงวด 2Q65 ฟื้นตัว YoY แต่ส่วนใหญ่ลดลง QoQ หุ้นที่เติบโตสูงสุด YoY ได้แก่ KKP และ KBANK ตามลำดับ
  • ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคาร “Overweight” เราชอบหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ BBL, KBANK, KTB, SCB และ TISCO ซึ่งมี yield สูง

หุ้นมีข่าว

(+) WICE (Bloomberg consensus 20.25 บาท) ลุ้นผลงานนิวไฮ 3 ปีซ้อน โอกาสเติบโตจากทุกกลุ่มธุรกิจ  ชูขนส่งทางทะเล ขนส่งข้ามชายแดนหนุน เล็งขยายพื้นที่เพิ่ม มั่นใจรายได้ตามเป้า 9 พันล้านบาท แย้มเจรจาพันธมิตรขยายฐานอีคอมเมิร์ซ คาดชัดเจนสิงหาคมนี้ พร้อมดัน ETL เข้าตลาดหุ้นปลายปีนี้ถึงต้นปี 2566 (ที่มา ทันหุ้น)

(+) OR (Bloomberg consensus 28.00 บาท) จ่อเก็บค่าชาร์จไฟฟ้าอีวีสิงหาคมนี้ เดินหน้าติดตั้งหัวชาร์จในสถานีบริการน้ำมัน PTT และสถานที่สาธารณะทั่วไปแตะ 7,000 สาขาในปี 2573 ล่าสุด ร่วมกับ โตโยต้า ทูโช และ อีวีโลโม เพื่อพัฒนามาตรฐานแบตเตอรี่และขยายเครือข่ายสถานีสลับแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ปลื้มยอดขายน้ำมันเครื่องบินเร่งตัวขึ้น 60-65% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (ที่มา ทันหุ้น)

(+) BCH (Bloomberg consensus 24.20 บาท) โรงพยาบาลเตรียมขยาย Hospitel เพิ่ม หากผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่งแรงหลังวันหยุดยาว หลังกระทรวงสาธารณสุขออกมาส่งสัญญาณโควิดขยับตัวขาขึ้นอีกครั้ง เผยสายพันธุ์ BA.5 แพร่เร็วกว่าเดิม 25% ปัจจุบันผู้ติดเชื้อพุ่ง 5 หมื่นรายต่อวัน ปอดติดเชื้อเยอะขึ้น 20% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) KWM (Bloomberg consensus – บาท) ธุรกิจพืชสมุนไพรกระแสแรง เล็งคลอดโปรดักต์เร็วๆ นี้ ตั้งเป้ารับทรัพย์บริษัทร่วมทุนราว 80 ล้านบาท พร้อมร่อนเอกสารขอใบอนุญาตตั้งโรงงานสกัดสาร CBD คาดชัดเจนครึ่งหลังนี้ เล็งผนึกบริษัทยักษ์ใหญ่เพิ่มช่องทางขาย-ทำตลาด ชูธงรายได้ปีนี้โต 10-15% (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 14 ก.ค. สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน และอัพเดตสถานการณ์ลงทุน
  • สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า
  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
  • 19-22 ก.ค. อภิปรายไม่ไว้วางใจ ลงมติ 23 ก.ค.
  • ภายใน 21 ก.ค. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบฯ งวด 2Q65
  • 29 ก.ค. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 10 ส.ค. ประชุมกนง. ครั้งที่ 4/65

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 14 ก.ค. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน มิ.ย.
  • 15 ก.ค. จีน รายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 2Q65 การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.

อียู รายงานดุลการค้ายูโรโซนเดือนพ.ค.

สหรัฐ รายงานยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย. ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนก.ค.จากเฟดนิวยอร์ก การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนพ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

  • 18 ก.ค. สหรัฐ รายงานดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน ก.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB)
  • 26 – 27 ก.ค. การประชุมนาคารกลางสหรัฐ (FED)

 

- Advertisement -